หมวดไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์ => Hardware Corner => ห้องคอมพิวเตอร์ => Printer => ข้อความที่เริ่มโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 17:31:37

หัวข้อ: ฝึกซ่อมเพาเวอร์ ซัพพลาย พรินเตอร์ Brother DCP-J315W
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 17:31:37
  ปัญหาเกิดจากฟ้าลง ทำให้พรินเตอร์ตัวนี้เปิดไม่ติด ลองเสียบปลั๊ก
แล้ววัดไฟที่สายไฟที่มาจากเพาเวอร์ซัพพลาย มาเข้าที่เมนบอร์ดไม่มีไฟมา
สักเส้น แสดงว่า เพาเวอร์ซัพพลายเสียแน่นอนแล้ว แต่ว่าจะลุกลามบานปลาย
มาถึงตัวเมนบอร์ดของพรินเตอร์หรือไม่ยังไม่รู้ ต้องลองซ่อมซัพพลายก่อน


หน้าตาเพาเวอร์ซัพพลายที่แกะออกมา

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

(ภาพยืมเขามาครับ ขอบคุณเจ้าของภาพ - หน้าตาเหมือนกันนี่แหละ)
หัวข้อ: ฝึกซ่อมเพาเวอร์ ซัพพลาย พรินเตอร์ Brother DCP-J315W
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 17:47:01
กว่าจะแกะเพาเวอร์ซัพพลายออกมาได้ ต้องแงะหลายที่หลายตัว
ออกมาแล้ว ตรวจพบฟิวส์ T2 ขนาด 5A ขาด แสดงว่าจะต้องมี
ตัวหนึ่งตัวใดในชุดไฟนี้ช๊อต

  ทดลองเปลี่ยนเป็นฟิวส์ ขนาด 2A ใส่เข้าไป เสียงช๊อตเปี๊ยะเลยครับ
หัวข้อ: ฝึกซ่อมเพาเวอร์ ซัพพลาย พรินเตอร์ Brother DCP-J315W
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 18:01:01
ก่อนเสียบปลั๊ก วัดความต้านทานไฟเข้าที่ปลั๊กไฟ ได้ 30 โอห์ม แม้สลับสายก็ได้เท่ากัน
- ถอด C คร่อมไฟเข้า (0.1 uF 275V หรือ 104) ออกมาวัด ไม่ช๊อต ปกติ
- ถอด C 68 uF 400 V ออกมาวัด ไม่ช๊อต เข็มมิเตอร์ตีขึ้นแล้วตกลงมา ตั้งสเกลที่ 10K

ถอด FET เบอร์ 2SK3565 ออกมา ไปหาโหลดดาต้าชีต ได้ดังภาพ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 (http://upic.me/show/58592615)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 (http://upic.me/show/58592616)
หัวข้อ: ฝึกซ่อมเพาเวอร์ ซัพพลาย พรินเตอร์ Brother DCP-J315W
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 18:03:57
  ต่อมาใช้กูเกิ้ลค้นคำว่า วิธีวัดเฟต  ได้มาดังนี้

(ใครผลิตสื่อส่วนนี้ไว้ ขอขอบพระคุณอย่างสุงครับ  ขอนำเผยแผ่ต่อ)




นี่เป็นFET ครับ 
การวัดมอสFET

การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน

การวัดหาขาเกต

1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. ให้ทำการวัดขาของเฟททีละคู่จนครบ 6 ครั้ง จะพบว่ามีขาอยู่ 1 คู่ ที่ไม่ว่าจะวัดอย่างไรก็จะมีค่าความต้าน   
    ทานขึ้น นั่นหมายความว่าขาคู่นั้นคือขา D กับขา S
3. ส่วนขาที่เหลือคือขา G เพราะมอสเฟทถูกสร้างให้ G เป็นขาลอย คือไม่มีการต่อขาเกตเข้ากับเนื้อสารใดๆ
   เลย ดังนั้นเมื่อวัดเทียบกับขาอื่นๆ เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น

การวัดหาขาเดรนและซอร์ส

1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. วัดคร่อมไปที่ขา D และขา S เข็มมิเตอร์จะขึ้น จากนั้นให้ย้ายสายวัดสายใดสายหนึ่งไปแตะที่ขา G
3. จากนั้นให้นำสายวัดที่ไปแตะที่ขา G นำกลับมาจับที่ขาเดิม แล้วสังเกตุเข็มของมิเตอร์

        -  หากค่าความที่วัดได้มีค่าลดลงจากเดิมจนเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่าขานั้นคือขา D
        -  หากค่าความที่วัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม แสดงว่าขานั้นคือขา S

การหาชนิดของมอสเฟท

เมื่อทราบขาของมอสเฟตแล้วว่าขาใดคือขา D และขา S ให้สังเกตุสายของมิเตอร์ที่วัด

1.  ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด เอ็น-แชนแนล
-   ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา D ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา S

2.  ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด พี-แชนแนล
     -    ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา S ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา D

การวัดมอสเฟทว่าดีหรือเสีย

ลักษณะอาการเสียของมอสเฟทมีอยู่ 3 แบบ

1. โครงสร้างภายในชอร์ทถึงกัน
           ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะมีมากกว่า 1 คู่ที่เข็มของความต้านทานแสดงค่าออกมา (เข็มของมิเตอร์ขึ้นมากกว่า 1 คู่ )

2. โครงสร้างภายในขาด
           ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะไม่มีคู่ใดเลยที่มีค่าความต้านทานแสดงให้เห็น (เข็มมิเตอร์ไม่แสดงค่าความต้านทานขึ้นเลย)

3.  โครงสร้างภายใน(Bias)บกพร่อง
           - ให้วัดคร่อมที่ขา D และขา S  1 ครั้ง จนเข็มมิเตอร์ชี้ค่าความต้านทานขึ้น
           - จากนั้นนำสายวัดที่ขา D มาแตะที่ขา G แล้วนำกลับไปแตะที่ขา D อีกครั้ง
           - ให้สังเกตุเข็มมิเตอร์ ถ้าค่าความต้านทานมีค่าลดลงจากเดิมจนมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จากนั้นเข็มมิเตอร์ค่อยชี้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ค่าเดิม แสดงว่ามอสเฟทนั้นดี   แต่ถ้าแตะที่ขา G แล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามอสเฟทตัวนั้นโครงสร้างการไบอัสภายในเสีย


การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
หัวข้อ: ฝึกซ่อมเพาเวอร์ ซัพพลาย พรินเตอร์ Brother DCP-J315W
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 02 มิถุนายน 2559, 18:09:36
จากบทความด้านบน เมื่อนำมาวัดกับเฟตที่ถอดออกมา วัดคู่ไหนก็ขึ้นหมดครับเป็น 0 โอห์มหมดทุกคู่
แสดงว่าเฟต กลับบ้านเก่าแล้วครับ