หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ => Airbag / SRS => อิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ => SRS => ข้อความที่เริ่มโดย: Auto Man ที่ 20 ธันวาคม 2559, 06:12:26

หัวข้อ: เรื่องของถุงลมนิรภัย
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 20 ธันวาคม 2559, 06:12:26
   เรื่องของถุงลมนิรภัย 

"ถุงลมนิรภัยคู่หน้า" เป็นอุปกรณ์ป้องกันผู้โดยสารไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากทิศทางด้านหน้า ทั้งนี้ตำแหน่งที่ติดตั้งของถุงลมนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในฝาครอบพวงมาลัยส่วนของผู้โดยสารตอนหน้าจะถูกติดตั้งอยู่ภายในแผงด้านหน้าเบาะนั่งตอนหน้าของผู้โดยสาร

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 (http://upic.me/show/62049138)

ขั้นตอนการทำงานของถุงลมนิรภัย

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ระบบของถุงลมนิรภัยไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ จุดประสงค์ของถุงลมนิรภัยออกแบบมาเมื่อมีการชนด้านหน้าอย่างรุนแรงเท่านั้นเมื่อมีการชนเกิดขึ้นในรัศมีที่กำหนดและแรงกระแทกอยู่ในค่าที่กำหนดถุงลมนิรภัยก็จะทำงาน แต่ถ้าไม่อยู่ในรัศมีที่กำหนด และแรงของการกระแทกไม่ถึงค่าที่กำหนดถุงลมนิรภัยก็จะไม่ทำงาน เพราะการป้องกันจะอาศัยโครงสร้างของตัวรถ และชุดเข็มขัด นิรภัยซึ่งก็เพียงพอต่อการป้องกันในสภาพ ความเร็วต่ำ จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยชุดถุงลมนิรภัย ถ้าเกิดการชนเสียรูปเช่น ชนกับเสาไฟฟ้า ชนด้านหลังรถบรรทุกความเร็วที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวต้องมากกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปกติถุงลมนิรภัยจะพองตัวเมื่อรถยนต์ชนกับเสารถยนต์ประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับการชนกับรถที่จอดอยู่กับที่, ชนกับกำแพง, คอนกรีตและชนนอกศูนย์กลางด้านหน้า ความเร็วของรถยนต์ต้องมากกว่า 40 - 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงจะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัว

ข้อควรปฎิบัติ

1. ให้ปรับตำแหน่งเบาะนั่งให้เหมาะสม
    1.1 มือวางพักบนพวงมาลัยพอดี
    1.2 ปรับหมอนพิงศรีษะให้แนบชิดศรีษะ
    1.3 เบาะพิงควรเอียงไม่มาก และหลังผู้โดยสารแนบเบาะพิงพอดี
    1.4 เท้า สามารถเหยียบคันเร่งในตำแหน่งพอดี

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


2. ให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
    2.1 ควรคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ที่ไหล่
    2.2 คาดเข็มขัดนิรภัยไว้ที่ด้านล่างบริเวณกระดูกเชิงกราน
    2.3 สายเข็มขัดนิรภัยไม่บิดพันกัน 

3. ห้ามวางสิ่งของใด ๆ บนแป้นถุงลมนิรภัย เพราะถ้าถุงลมนิรภัยทำงานทำให้เกิดอันตราย
4. ห้ามติดสติกเกอร์บนแป้นถุงลมนิรภัย มิฉะนั้นถุงลมอาจจะไม่ระเบิดออกมา
5. ในกรณีที่มีเด็กเล็กนั่งมาด้วย ขอแนะนำให้นั่งที่เบาะหลัง และควรคาดเข็มขัดนิรภัยด้วย

เครดิต : http://phithan-toyota.com/th/article/detail/154/7

 :-X