หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ > ห้องปรับอากาศรถยนต์

เป็นช่างแอร์ ด้วยความจำเป็น เลยต้องจำยอมเป็นช่างแอร์ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป...

(1/2) > >>

Auto Man:
   จั่วหัวเรื่องไว้อ่านแล้วไม่รู้คิดกันไปไกลหรือเปล่า... แต่คนจั่วหัวเรื่อง ทำไปไกลกว่าที่คิด

    ด้วยเหตุที่...ต้องใช้รถยนต์เป็นประจำสลับกับมอเตอร์ไซค์ บางครั้งบางคราเมื่อจับรถยนต์ เปิดแอร์
ปรากฏว่ามีแต่ลม... ไม่มีความเย็น เอ้าเป็นที่อะไรหนอ

   แต่ว่าอาการนี้ ไม่น่าจะหนักหนาสาหัส (คิดในใจดอกหวา..) เพราะว่าอะไร ก็เมื่อเช้าขับใช้งานอยู่
ก็ยังเย็นอยู่เลย

     ไล่เช็คอุปกรณ์จากวงจร จนสุดปัญญาแล้วล่ะ เห็นทีจะต้องพึ่งช่างแอร์รถยนต์

    ก็นำรถเข้าไปเช็คที่ร้านแอร์  มีเถ้าแก่ออกมารับรถ พร้อมลูกน้องอีกสองคน ขยับรถเข้าไปที่หน้าร้าน
ใช้เกจจับโน่นทำนี่... สุดท้ายบอกคอมหลวมต้องเปลี่ยน พูดแบบเอาเชือกผูกคอกันเลย

     สุดท้ายเปลี่ยนคอมมือสองลูกเล็กกว่าเดิมให้ ถอดเอาของเราไป แปลงหัวสายกันใหญ่ เนื่องจาก
ไม่ได้ขนาดกัน  งานนั้นโดนไปเกือบหกพัน เข็ดเลย ไม่กล้าเข้าร้านอีกแล้ว
   

Auto Man:
    เวลาผ่านไปสามปีพอดี  อาการแอร์ไม่เย็น คอมไม่ทำงาน มีแต่ลม กลับมาอีกแล้ว
เลยไล่เช็คอุปกรณ์เบื้องต้น ปกติหมด ไม่ว่าจะเป็นฟิวส์, รีเลย์คอมแอร์, หรือแม้แต่การจั๊ม
ตรงให้คอมแอร์ทำงาน มันก็ทำงาน แต่ไม่เย็น เลยต้องหยุดใช้รถคันนี้ หรือบางครั้งต้องใช้
ก็ต้องลดกระจกลงนิดหนึ่ง ดีที่เป็นช่วงหน้าหนาว ถ้าหน้าร้อน คงแย่แน่เลย

    มีครั้งหนึ่งใช้รถอีกคันไปงานบวชลูกศิษย์  มีเพื่อครูนั่งไปด้วย เพื่อนครูถามว่าทำไมไม่ใช้รถอีกคัน
บอกไปว่าแอร์ไม่ทำงาน  เพิ่นเลยรับปากว่าจะดูให้(มีวิชาสอนปรับอากาศรถยนต์)  อีกวันนำรถมา
เห็นเงียบๆ เหมือนไม่สนใจ เลยไม่กล้าเอ่ยปาก...

     ที่เล่ามายืดยาวทั้งหมดนี้  นี่ล่ะ... เป็นที่มาของการเป็น ช่างแอร์จำเป็น

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
   เมื่อคิดจะเป็นช่าง ไม่ว่าช่างอะไรก็แล้วแต่ สิ่งแรกที่ต้องมี นอกจากความรู้ก็คือ
 - เครื่องมือช่างแอร์ มีอะไรกันบ้าง

1. เกจวัดแรงดันน้ำยาแอร์ ความยาวสาย 60 นิ้ว
Manifold Gauge R-32 , 410a , 22 , 134a
เกจ์คู่สำหรับชาร์จน้ำยาพร้อมสาย 36 นิ้ว 3 เส้น (R32,R410a,R22a,R134a) มีตาแมวดูน้ำยา (มียางกันกระแทก)

   เกจแมนิโฟลด์ (manifold gauge) คือเครื่องมือเฉพาะสำหรับช่างเครื่องทำความเย็น ใช้สำหรับการบริการและการตรวจวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ เช่น การทำสุญญากาศ การเติมสารทำความเย็น การเติมสารหล่อลื่น การตรวจวัดความดัน การหาอุณหภูมิระเหยและอุณหภูมิความแน่นของสารทำความเย็นในระบบ
ชุดเกจวัดน้ำยาแอร์ พร้อมสายชาร์จน้ำยาแอร์ 3 เส้น ทนแรงดันสูง

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   เวลาซื้อควรเลือกเกจที่มีสเกลแบ่งเป็นช่วงสี จะได้สังเกตได้ง่ายว่าอยู่ในย่านที่ต้องการไหม
เช่นด้านแรงดันต่ำ ระบบแอร์ที่ดีจะอยู่ระหว่าง 35-40 PSI  ด้านแรงดันสูงหรือว่า HI จะประมาณ 200-250 PSI

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   ถามว่าแบบด้านล่างนี้ใช้ได้ไหม ใช้ได้แต่ว่าอาจจะดูยากไปนิดหนึ่ง 5 5 5

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
    ท่านใดที่อยากเป็นช่างแอร์  แต่ว่างบน้อย (ไม่รู้จะบอกยังไง ก็คนไม่มี ง เงิน)
ก็ควรจะเริ่มจากชุดเกจวัดนี้ก่อนแระ  เหมือนคุณหมอก็ต้องมีหูฟังประมาณนั้น งบไม่ถึงพัน
ก็มีขายแล้ว ลองไปดูตามห้างใหม่ต่างๆ ดู แล้วคุณจะ...ตัวเบาขึ้นอีกนิด

     ยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน
- การตรวจเช็คก็ควรจะไล่เช็ค ฟิวส์ รีเลย์ หน้าคลัทช์คอมแอร์ก่อน ถ้าปกติ
- ถึงมาเช็คแรงดันน้ำยาแอร์ เอาฝั่งเดียวก่อนก็ได้ เช่นฝั่ง Lo

    ถ้าฝั่ง Lo แรงดันต่ำประมาณไม่ถึง 20 PSI นี่ สวิทช์แรงดันของคอมแอร์ ก็จะไม่ต่อให้
คอมทำงาน  ปัญหาคือมีการรั่วแบบซึมในระบบอาจจะซึมแบบเล็กๆ น้อยๆ ใช้เวลาเป็นปีๆ ถ้าเจ้าของ
เค้าต้องการแบบให้ใช้ชั่วคราวแก้ขัดไปก่อน เราก็เพียงเติมน้ำยาเข้าระบบ ก็ใช้เพียงเกจกับถังน้ำยาแอร์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
   เครื่องมือช่างแอร์ชิ้นที่ 2 คงไม่พ้น

   2. เครื่องทำสูญญากาศ    Vacuum Pump   

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


       เครื่องทำสุญญากาศ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบ
ผ่านเกจแมนิโฟลด์และวาล์วบริการที่ติดตั้งในระบบ ที่ใช้ทั่วไปมี 2 แบบ คือ   

1. เครื่องทำสุญญากาศแบบมาตรฐานหรือชนิดแวคชั้นเดียว (standard vacuum pump-single stage) ใช้สำหรับเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กทั่วไป ทำสุญญากาศได้ไม่ดีนัก จึงควรทำสุญญากาศโดยใช้วิธีทำซ้ำหลายครั้ง คือ ทำสุญญากาศจนความดันลดลงต่ำสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบให้ได้ความดันประมาณ 0 psig หลังจากนั้นให้ทำสุญญากาศใหม่สลับจนครบ 3 ครั้งจึงจะได้สุญญากาศที่สมบูรณ์ เราเรียกการทำสุญญากาศวิธีนี้ว่า triple evacuating method   

2. เครื่องทำสุญญากาศกำลังสูงหรือชนิดแวคสองชั้น (high  vacuum pump-two stage) คือเครื่องที่ทำสุญญากาศได้ต่ำมาก (deep vacuum) คือทำสุญญากาศได้ถึง 500 ไมครอน (0.5 มม.ปรอท) หรือต่ำกว่าซึ่งต่ำพอที่จะทำให้ความชื้นในระบบเดือดกลายเป็นไอและถูกดูดออกจากระบบได้ จึงสามารถทำสุญญากาศได้โดยวิธีการทำเพียงครั้งเดียว (deep vacuum method)   

ข้อสังเกต

1. ขณะเดินเครื่องทำสุญญากาศ ถ้าเข็มชี้ที่เกจสุญญากาศลดค่าจาก 0 นิ้วปรอท  ถึง 30 นิ้วปรอททันที แสดงว่ามีการอุดตันที่สายน้ำยาหรือวาล์วบริการในระบบยังปิดอยู่ หรือกรณีที่วาล์วบริการในระบบเป็นชนิดวาล์วลูกศร อาจจะเกิดจาดการต่อสายน้ำยาสลับด้าน ให้ทำการตรวจสอบก่อน ตรงกันข้ามถ้าเดินเครื่องทำสุญญากาศเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถดึงความดันในระบบให้เป็นสุญญากาศได้ แสดงว่าอาจมีการรั่วที่ส่วนหนึ่งส่วนใด ให้ทำการตรวจหารอยรั่วก่อน   

2. ในกรณีที่ในระบบมีความชื้นสูง ขณะทำสุญญากาศควรทำการอบหรือให้ความร้อนกับระบบโดยใช้หลอดไฟหรือขดลวดความร้อนช่วยเพิ่มอุณหภูมิเพื่อไล่ความชื้นในระบบ ซึ่งจะทำให้เราใช้เวลาในการทำสุญญากาศน้อยลง แต่ห้ามใช้เปลวไฟจากหัวเชื่อมเป็นตัวช่วยเพิ่มอุณหภูมิ

เพิ่มเติม
(

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ดูเหมือนว่าคุณยังไม่ได้ลงทะเบียนสมาชิก ต้องการสมัครคลิ๊กที่นี่...
Go to full version