ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: ทำวงจรตรวจทรานซิสเตอร์และเฟทอย่างง่าย งบประมาณไม่เกิน 40 บาท  (อ่าน 1587 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Sonchai_Music

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 2059
  • สมาชิกลำดับที่ : 2
  • สมาชิกวีไอพี ปีที่ 1,3-4
   ทำวงจรตรวจทรานซิสเตอร์และเฟทอย่างง่าย งบประมาณไม่เกิน 40 บาท 
ปกติการตรวจสอบคุณสมบัติของ active device มักจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Curve Tracer ซึ่งให้รายละเอียดข้อมูลมากแต่ก็ใช้ยากและมีราคาแพง  ซึ่งในแง่ช่างเทคนิคใช้งานทั่วไปเขาต้องการแค่อยากจะรู้ว่าเสียหรือไม่เสียเท่านั้น  เครื่องมือที่ใช้ก็มักจะมีแต่มัลติมีเตอร์ธรรมดา

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


                            หน้าตาเครื่อง Curve Tracer

    ในอดีตเราใช้มีเตอร์เข็มเป็นตัวเช็คก็มีวิธีเช็คไม่ยาก (อ้างอิงจากรุ่นยอดนิยม คือ SANWA YX-360TR) และสามารถซื้อหรือทำให้มันวัดค่า  และพวกดิจิตอลฯ ราคาจะยังแพงมากอยู่จึงไม่ค่อยจะมีใครใช้กัน ปัจจุบันแบบตัวเลขกลับนิยมใช้มากขึ้นขณะที่แบบเข็มกลับลดความนิยมลงมา  แต่ข้อดีของแบบเข็มคือมันสามารถจ่ายกระแสได้สูงคือที่ตำแหน่ง R x 10 มันสามารถจ่ายกระแสได้ถึง 15 มิลลิแอมป์ซึ่งสามารถขับแอลอีดีได้อย่างสบาย ยิ่งตำแหน่ง R x  1 มันจะจ่ายกระแสได้ถึง 150 มิลลิแอมป์เลย  ผิดกับดิจิตอลมีเตอร์ที่จ่ายกระแสได้ประมาณ 0.5 มิลลิแอมป์เท่านั้น (ในโหมดการวัดไดโอดเพื่อหาแรงดันฟอร์เวิร์ด) ดังนั้นจึงจะไม่สามารถตรวจวัดทรานซิสเตอร์ได้โดยตรง

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ก็เลยทำชิ้นงานที่จะวัดทรานซิสเตอร์หรือเฟท โดยวงจรมีคุณสมบัติ คือ
     - ปรับค่ากระแสไบอัสได้ 3 ค่า คือประมาณ 40 ไมโครแอมป์    2.5 มิลลิแอมป์ และ 10 มิลลิแอมป์
     - สามารถหาว่าเป็น NPN , N -ch หรือ PNP , P -ch ได้
     - แสดงผลด้วยแอลอีดี ว่าดี-เสีย , N or P type , เกน (ดูหยาบๆ)
     - หาเกนการขยายแม่นยำชึ้นด้วยการใช้มัลติมีเตอร์ (ควรเป็นดิจิตอล เพราะอิมพีแดนซ์สูงกว่าแบบเข็มมาก) มาเสริม
     - สำหรับเฟทเหมาะแค่จะตรวจว่ามันทำงานหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่เหมาะที่จะดูเกน  (ค่าเป็นความนำไฟฟ้า)

หลักการ
   ก็ไม่มีอะไรมากเพราะทั้งหมดคือเรื่องของไบอัสซิ่งเท่านั้นเอง  เรารู้ว่าทรานซิสเตอร์ทำงานโดยป้อนกระแสอินพุทที่ขาเบส และทำให้เกิดกระแสด้านออกที่ขาคอลเลคเตอร์ แปรผันจำนวนเท่าตามกระแสอินพุท ยกเว้นที่จุดอิ่มตัวกระแสขาออกจะไม่เพิ่มไปกว่านี้  ผมให้กระแสอิ่มตัวอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20 มิลลิแอมป์เพื่อป้องกันแอลอีดีพัง ดังนั้นเกนการขยายจะวิ่งสูงสุดประมาณ  750 เท่าที่ 40 ไมโครแอมป์ก่อนถึงจุดอิ่มตัว 

วงจร

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


      DUT (Device Under Test) ก็เป็นอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์หรือเฟทที่ต้องการมาทดสอบ โดย R1 R2  R3 จะเป็นตัวจำกัดกระแสของแต่ละย่าน  โดยมีค่าประมาณ 40 ไมโครแอมป์ 2.7 มิลลิแอมป์ และ 9.6 มิลลิแอมป์ ตามลำดับ หาได้จาก เอาแรงดันแหล่งจ่าย 6 โวลต์ หักแรงดันที่ตกคร่อม Vbe ที่ DUT ประมาณ 0.6 โวลต์ และหารด้วยค่าตัวต้านทานเช่น  ที่ตำแหน่ง R1  คือ (6 - 0.6) / 120k  จะได้ 45 ไมโครแอมป์ แต่กระแสส่วนหนึ่งประมาณ 4.45 ไมโตรแอมป์จะไหลผ่าน R4 ลงกราวด์ (มาจาก Vbe 0.6  / 150k) ดังนั้นกระแสที่ไหลเข้าขาเบสจะประมาณ 40 ไมโครแอมป์นั่นเอง แต่ค่าที่วัดจริงนั้นอาจต่างจากนี้เพราะ Vbe อาจจะเป็น 0.6 - 1.2 โวลต์ ตามขนาดของทรานซิสเตอร์ก็ได้ รวมถึงอิมพีแดนซ์ของวงจรกับมิเตอร์ที่มีผลต่อกันด้วย
       R4 มีสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนอินพุท โดยจะไม่ให้ขาเบสต่อลอยไว้เฉยๆ เพราะจะทำให้แอลอีดีสว่างขึ้นเองได้  เหตุการณ์นี้อาจเกิดกับพวกเกนสูงๆ อย่างดาร์ลิงตันทรานซิสเตอร์ที่มีเกนหลายพันจนถึงเป็นหมื่นเท่า ขนาดเอานิ้วแตะไฟยังสว่างได้เลย
     หลอดแอลอีดีนั้นถูก R 5 จำกัดกระแสไว้สูงสุดที่ 20 มิลลิแอมป์ โดยคิดจากสภาวะทรานซิสเตอร์อิ่มตัว  มีค่า Vce ประมาณ 0.5 โวลต์   (ปกติจะมี 0.2 - 2 โวลต์ ตามขนาดของทรานซิสเตอร์ที่มาวัด) โดยแรงดัน 6 โวลต์จะตกคร่อม ที่ไดโอดประมาณ 3.1 โวลต์ (เวลาเลือกที่ควรให้สีน้ำเงินจับคู่กับเขียว ที่มีแรงดันใช้งานแถวๆ 3.0 -3.2 โวลต์ หรือถ้าจะใช้สีแดงก็ให้จับคู่กับสีเหลืองที่มีแรงดัน 1.8 - 2.2 โวลต์ แต่ต้องเปลี่ยนค่า R 5 ใหม่)    ดังนั้น (6 - 0.5 - 3.1) / 150 จะได้กระแสที่จุดอิ่มตัวที่ 16 มิลลิแอมป์นั่นเอง
     ในกรณีวัดเฟทเนื่องจากอิมพีแดนซ์มันสูงมากโดยเฉพาะพวกมอสเฟท ดังนั้นค่าตัวต้านทานที่ใช้จำกัดกระแสอินพุทจะไม่มีผลใดๆ คือต่อจุดไหนก็เหมือนกัน  (เฟททำงานคล้ายทรานซิสเตอร์ต่างกันแค่ป้อนด้วยแรงดันอินพุทขณะที่ทรานซิสเตอร์ใช้กระแสอินพุท   เมื่อป้อนแรงดันอินพุทประมาณ 4-5 โวลต์ขึ้นไปเฟทจะเริ่มทำงาน จะทำให้กระแสขาออก หรือกระแสเดรนไหลนั่นเอง)
    การหา N-type หรือ P-type ก็แค่สลับขั้วแหล่งจ่ายเท่านั้น ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะกระแสในวงจรน้อยมาก DUT และหลอดแอลอีดีสามารถทนแรงดันย้อนกลับได้สบาย

วัดเกนด้วยมัลติมีเตอร์
  การวัดเกนที่แม่นยำขึ้น ทำได้โดยการลากจุดต่อเพื่อวัดแรงดันคร่อม R1 หรือ R2 หรือ R3 ตามที่เลือกกับลากสายเพื่อวัดคร่อม  R5 อีกด้าน เอาแรงดันหารตัวต้านก็จะได้กระแสของแต่ละด้าน  และจับด้านขาออกมาหารกับด้านอินพุทก็จะเป็นเกนนั่นเอง
   
การต่อวงจร
     ก็ตามที่ออกแบบไว้ แต่ส่วนที่จะวัด กรณีลงแผ่นวงจรพิมพ์ ก็อาจจะหาโมเล็กซ์หรือคอนเนคเตอร์ จะได้ถอด DUT เข้าออกได้ง่าย  รังถ่านต้องสามารถสลับขั้วกับบอร์ดได้ อย่าบัดกรียึดติดตายตัว

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


การใช้งาน
   DUT  ที่นำมาลองมี 3 ตัว คือ ทรานซิสเตอร์  NPN  2N5551    ทรานซิสเตอร์ PNP  MPSA63  และ MOSFET VN2222   เริ่มแรกลองป้อนไบอัสที่ตำแหน่งประมาณ 9.5  มิลลิแอมป์ก่อน ถ้าหลอดไม่ติดก็ลองสลับขั้วไฟ ถ้าไฟติดสีเขียวแสดงว่าเป็น NPN หรือ N-ch กรณีเฟท ถ้าสีน้ำเงินก็เป็น PNP  หรือ P -ch กรณีเฟท  ลองปรับค่ากระแสอินพุทในกรณีที่ทรานซิสเตอร์เกนต่ำหรือปกติมีขนาดกระแสสูง ก็จะเห็นความสว่างที่หลอดเปลี่ยนไป
  อย่าลืมว่าค่ากระแสที่เขียนใต้รูปทั้งหมดที่ไม่ได้วัดจะเป็นค่าประมาณจากการคำนวนเท่านั้น เพื่อให้รู้ถึงตำแหน่งต่างๆ ที่วัด


--------------------------------------------------------------------------------------
MPSA63 PNP Transistor

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


MPSA63 PNP Transistor วัดที่อินพุท 40 ไมโครแอมป์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


MPSA63 PNP Transistor วัดที่อินพุท 2.5 มิลลิแอมป์แอมป์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


MPSA63 PNP Transistor วัดที่อินพุท 8.3 มิลลิแอมป์ (ที่คำนวนคือ 9.6 มิลลิแอมป์)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


หมายเหตุ เนื่องจาก MPSA63 เป็นดาร์ลิงตันทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีเกนสูงมากดังนั้นจึงไม่เห็นความต่างของแสงจากหลอดแอลอีดี (มันอิ่มตัวตั้งแต่ 40 ไมโครแอมป์แล้ว)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


สัญญาณจากนิ้วสามารถขับอินพุทของดาร์ลิงตันทรานซิสเตอร์ได้สบาย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2N5551 NPN Transistor

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


2N5551 NPN Transistor วัดที่อินพุท 40 ไมโครแอมป์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


2N5551 NPN Transistor วัดที่อินพุท 2.5 มิลลิแอมป์


2N5551 NPN Transistor วัดที่อินพุท 9.6 มิลลิแอมป์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
VN 2222 N-ch MOSFET

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


VN 2222 N-ch MOSFET ไม่ว่าใช้ตำแหน่งไหนค่ากระแสออกก็เท่ากัน

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


กระแสขาออกของ VN2222


ราคา (ไม่รวมถ่านไฟฉาย 4 ก้อน)
      ตัวต้านทาน 5 ตัว ขนาด 0.25 วัตต์ ค่าตามที่ระบุในวงจร ประมาณ 2 บาท
      แอลอีดี 2 หลอด หลอดละ 2.50 บาท รวม 5 บาท
      ขั้วคอนเนคเตอร์สำหรับ DUT  2  บาท
      แผ่นปริ้นท์ 12 บาท (ทำได้ 4 ชุด)
      สวิทช์ selector 3 ตำแหน่ง  2 บาท
      รังถ่าน AA 4  ก้อน ประมาณ 20 บาท
      รวมประมาณ 34 บาท

อ้างถึง
เจ๋งครับท่าน ทำลงกล่องหน่อยขายได้เลย เยี่ยม

อืมม จะบอกว่า มิเตอร์เข็ม SANWA เวลาวัด Transistor/ Diode อย่าใช้สเกล x1 ครับกระแสแรงไป diode บางเบอร์ที่เป็นพวก signal device พังเลย

ให้ใช้ x10 ครับ safe ปลอดภัยกับอุปกรณ์ semiconductor

   ขอบคุณเจ้าของกระทู้  มาจากที่นี่ ==> https://pantip.com/topic/35038934
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2561, 05:50:47 โดย Sonchai_Music »

ออฟไลน์ sak99

  • วีไอพีตลอดชีพ
  • Super VIP
  • ช่างยนต์มือหนึ่ง
  • *
  • Joined: ธ.ค. 2562
  • กระทู้: 160
  • สมาชิกลำดับที่ : 11792
  • เพศ: ชาย
  • -
    • -
-