ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric Power Steering = EPS)  (อ่าน 22087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37161
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric Power Steering = EPS)
« เมื่อ: 11 มีนาคม 2559, 14:31:35 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric  Power  Steering = EPS)

    พวงมาลัยเพาเวอร์แบบอิเล็กโทรแม็คคานิก (EPS) แตกต่างจากพวงมาลัยเพาเวอร์ทั่วไปคือ ในพวงมาลัยจะมีระบบช่วยผ่อนแรงในการบังคับเลี้ยว EPS จะช่วยผ่อนแรงคนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนที่จะเป็นมอเตอร์ไฮดรอลิก ทำหน้าที่ผ่อนแรงตอนขี่ด้วยความเร็วต่ำ และมีความรู้สึกว่าหนักขึ้น เมื่อความเร็วรถเพิ่ม พวงมาลัยผันแปรตามความเร็วของรถนั่นเอง

    ส่วนประกอบของระบบบังคับเลี้ยวนี้ ชิ้นส่วนหลักก็คล้ายกับระบบระบบบังคับเลี้ยวทั่วๆ ไป เพียงแต่ว่าชุดสร้างแรงดันไฮโดรลิกส์ (ปั้มน้ำมัน) ไม่ว่าจะเป็น ตัวปั้มแรงดัน ท่อแรงดัน สายพาน และน้ำมันไฮโดรลิกส์ไม่มี ทำให้ตัดภาระในเรื่องกลไกต่างๆ การกินกำลังของเครื่องยนต์ก็ไม่มี ทางปฏิบัติจะมีมอเตอร์เป็นตัวทำหน้าที่โดยใช้กำลังไฟฟ้า พร้อมทั้งเซ็นเซอร์ของการตรวจจับการเลี้ยวเพื่อให้ตอนทำการเลี้ยวนั้น จะได้สมบูรณ์และเที่ยงตรงที่สุด

    สิ่งที่ได้มาจากระบบพวงมาลัยไฟฟ้า คือ การดูแลรักษาที่ต่ำ ไม่จำเป็นต้องทำนุบำรุงตามระยะทาง แต่เดิมเมื่อถึงระยะจะต้องเปลี่ยน น้ำมันไฮโดรลิค, สายพาน และอื่นๆถูกตัดไป แต่ชิ้นส่วนหลักก็ยังมีอยู่ เช่น ลูกหมากคันชัก, คันส่ง, ยางกันฝุ่น นอกจากนั้น ถ้าหากมีการขัดข้องขึ้นในระบบ จะมีการบอกเตือนให้คนขี่ทราบว่ามีการขัดข้องอย่างไร

    มอเตอร์แอ๊คทูเอเตอร์จะทำงานเมื่อมีการหมุนพวงมาลัยเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า มอเตอร์แอ๊คทูเอเตอร์จะไม่ใช้ไฟฟ้าในระหว่างที่ขับทางตรง
    พวงมาลัยเพาเวอร์แบบอิเล็กโทรแม็คคานิกมีข้อดีดังนี้ :
    ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 0.2 ลิตร/100 กม. และช่วยลดปริมาณไอเสีย CO2
    ระบบช่วยผ่อนแรงในการบังคับเลี้ยวแบบปรับตามความเร็วในการขับขี่ (เซอร์โวโทรนิก)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    มีใช้ในรถมิตซูบิชิ Attrage เป็นพวงมาลัยแบบผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า  ไม่ไช่พาวเวอร์
    Attrage เราเป็นพวงมาลัยไฟฟ้าแต่ก็ต้องดูแลรักษาเช่นกันครับ
    เพื่อยืดอายุของมอเตอร์ไฟฟ้าครับ
    ไม่ควรหมุนพวงมาลัยขณะจอดรถอยู่กับที่

    ระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้ จะมีการทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้าครับ  หมายถึง เวลาที่เราดับเครื่องยนต์ ปิดสวิตช์กุญแจ ระบบบังคับเลี้ยวก็จะไม่ทำงาน คือพวงมาลัยจะหมุนยาก
    แต่เมื่อใดที่เราบิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบพวงมาลัยไฟฟ้าจะทำงาน คือ พวงมาลัยจะหมุนง่ายขึ้นครับ (ลองดูได้ครับ)
    ระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้ มีการทำงานที่แม่นยำ เบาแรงเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ
    และมีความรู้สึกว่าหนักขึ้น เมื่อความเร็วรถยนต์เพิ่มขึ้น
    สิ่งที่ได้จากระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้ คือ การบำรุงรักษาที่ต่ำ ไม่จำเป็นจะต้องบำรุงรักษาตามระยะทาง
    คือ มีการเปลี่ยนแปลงตามระยะทาง เช่น น้ำมันไฮโดรลิค, สายพาน และอื่นๆถูกตัดไป
    แต่ชิ้นส่วนหลักก็ยังมีอยู่ เช่น ลูกหมากคันชัก, คันส่ง, ยางกันฝุ่น
    นอกจากนั้น หากมีหารขัดข้องภายในระบบจะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบว่ามีการขัดข้องเกิดขึ้น
    แต่การที่จะมีการขัดข้องนั้น ถือว่ายากมาก ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของรถประหยัดได้เป็นอย่างมาก   
    สิ่งที่ได้ตามมาอีก คือ ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อนและอีกหลายๆด้าน

    สรุปง่าย ๆ คือ ควบคุมรถง่าย ลดค่าใช้จ่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ธันวาคม 2559, 06:04:26 โดย Auto Man »
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37161
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric Power Steering = EPS)
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 11 มีนาคม 2559, 14:33:19 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ระบบพวงมาลัย EPS ของ New Altis

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    EPS คืออะไร?

             ระบบบังคับเลี้ยวของนิวอัล ติสนั้น ถือเป็นตัวแรกในรุ่นนี้ที่เปลี่ยนระบบบังคับเลี้ยวจากไฮดรอลิค (น้ำมัน) มาเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า คำว่า "พวงมาลัยไฟฟ้านั้น" มาจากคำว่า Electronic Power Steering ซึ่งก็ปรากฎอยู่ใน catalog ของรุ่นแทบทุกใบ เพราะถือเป็นจุดเด่นของรุ่นเลยทีเดียว (EPS เป็นของเคยแพง มากๆ) ถ้าจะว่ากันไปเราได้ใช้พวงมาลัย EPS ก่อนแคมรี่ตัวปัจจุบันเสียอีก ข้อดีสุดๆ อีกอย่างหนึ่งคือระบบนี้ทำงานได้ยอดเยี่ยม ในขณะที่มี อุปกรณ์น้อยชิ้นมาก แถมต้องการ การบำรุงรักษาที่ต่ำว่าระบบก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด เค้าถึงบอกว่าระบบนี้ควรเป็นตัวชูโรงของรถรุ่นนี้ ครับ

             ระบบ EPS ที่มีอยู่ในรถเรานั้น เป็นการย่อส่วนมาจากระบบใหญ่ที่เคยบรรจุไว้ในเล็กซัสรุ่นท๊อป ที่รถสามารถหมุนพวงมาลัยเพื่อนำรถเข้าจอดเองได้ (กดปุ่มแล้วจอดให้เอง เลย) ปัจจุบันมีใช้ในโตโยต้าตัวอื่นด้วย เช่น Estima (ตัวนี้ถอยเข้าซองหรือหักเลี้ยวจอดริมถนนได้เอง) ส่วนที่รถเรายังไม่มีคือระบบสั่งการ หมุนพวงมาลัยจากตัวรถ แต่ก็ถือเป็นความไฮโซที่โตโยต้าคัดสรรมาใส่ไว้ในนิวอัลติสครับ จะพลาดก็ตรงที่พอดีไปเจอข่าวเรื่องคันเร่งไฟฟ้ามี ปัญหา ก็เลยพาลกันไปโจมตีเรื่องพวงมาลัยไฟฟ้าด้วย ทำเอาโตโยต้าเป๋ไปเป็นปี แต่ถ้าเรารู้ถึงระบบของมัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่มีคนปล่อย ข่าวครับ

    หลักการระบบนี้ของโตโยต้า

             ในการบังคับเลี้ยวขั้นพื้น ฐานนั้น รถเรายังคงเป็นระบบกลไกอยู่ คือยังมีชุดฟันเฟือง-รางเลื่อน (Rack and Pinion) เพื่อควมคุมการดึง-ผลักล้อให้บิดไปมา นั่นหมายถึง เมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา เราก็ยังสามารถหมุนพวงมาลัยได้ตามปกติ เพียงแต่มันจะหนัก-เบา ตามความเร็วที่เหลืออยู่ (ในกรณีรถมีปัญหาขณะ วิ่ง) ฉะนั้นการที่มีข่าวว่าพวงมาลัยไฟฟ้ามีปัญหา ทำให้รถควบคุมการเลี้ยวไม่ได้ เลี้ยวแล้วไม่ไป จนเกิดอุบัติเหตุนั้น จึงเป็นเพียงแค่ข่าวปล่อย ในช่วงที่ข่าวคันเร่งไฟฟ้ากำลังฮิต

             ยุคแรกของระบบ EPS นั้น ผู้คิดค้นนำมอเตอร์ไฟฟ้าไปใส่ไว้ที่ระบบบังคับเลี้ยวที่ช่วงล่าง (แทนน้ำมันจริงๆ) ซึ่งก็ทำงานได้ดี แต่จะมีปัญหาเรื่องความสรกปกและความ ร้อนของเครื่องยนต์รบกวนการทำงานของมอเตอร์ เพราะในขณะทำงานมอเตอร์เองก็ร้อนมาก ทำให้อายุการทำงานของมอเตอร์สั้นเกินไป ต่อมาผู้พัฒนาต่อได้นำเอามอเตอร์มาใส่ไว้หลังพวงมาลัย โดยซ่อนอยู่ใต้คอนโซลแทน ทำให้ตัดปัญหาไปได้หลายประการทีเดียวและมีการ เพิ่มระบบแก้ปัญหาความร้อนของมอเตอร์เข้าไป คือเมื่อเราไม่เลี้ยว สมองกลของระบบ EPS จะให้มอเตอร์พัก ทำให้สามารถใช้งานได้ยาว นานขึ้นครับ

             สมองกลของ EPS จะมี อุปกรณ์ที่เรียกว่า Torque Sensor ที่คอพวงมาลัย เพื่อตรวจสอบการหมุนของพวงมาลัย เป็นระบบการตรวจสอบด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งละเอียดมากๆ ไม่มีส่วนสัมผัสในการตรวจสอบ ทำให้ระบบนี้มีความทนทานสูง สึกหรอต่ำ สามารถนำมาใช้กับรถยนต์ได้ดีนั่น เอง

             เมื่อสมองกลของ EPS ได้ รับสัญญาณการหมุนพวงมาลัยมาจาก Torque Sensor ว่าเราหมุนพวงมาลัยไปทางไหน มันจะสั่งให้มอเตอร์หมุนตามเท่าที่เราหมุนพอดี เพื่อ เสริมแรงให้เบามือขึ้น และเนื่องจากมันเป็นระบบอีเลคทรอนิคส์ มันจึงสามารถโปรแกรมให้มอเตอร์สร้างน้ำหนักในการช่วยเราได้ คือความ เร็วต่ำ มอเตอร์ช่วยเรามาก ความเร็วสูงขึ้น มอเตอร์ช่วยเราน้อยลง

             สำหรับระบบ EPS ของโต โยต้านั้น มีโปรแกรมเป็นแบบ linear output ครับ คือพวงมาลัยจะหนักเท่ากันที่ทุกๆ ความเร็ว ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องคอยเปลี่ยนพฤติกรรมการ บังคับเลี้ยวเมื่อความเร็วรถเปลี่ยนไปเหมือนเมื่อก่อน แต่หากใครเคยชินกับรถรุ่นก่อนๆ จะบอกว่าพอขับเร็วขึ้น พวงมาลัยเบาเกินไป วิธีแก้ก็ แสนง่าย ขับไปซักระยะนึง ให้เราปรับกับการควบคุมแบบใหม่ ไม่นานเราก็จะชินกับมันเองครับ

             ในเว็บรถบางเว็บที่มีการ บอกกันว่ารถเค้าเป็นระบบ DBW คือ Drive by Wire นั้น เท่าที่ตรวจสอบแล้วไม่มีครับ ก็เป็นเรื่องโม้กันอีกตามเคย คำว่า DBW นั้น นึกภาพ ง่ายๆ ก็คือการขับเครื่องบิน ที่พวงมาลัยที่นักบินหมุนนั้น ไม่มีกลไกไปที่ระบบบังคับปีกเลย เป็นการสั่งงานผ่านทางสายไฟล้วนๆ สรุปว่ารถ ยนต์ทั่วไปยังไม่มีระบบ DBW ตามที่กล่าวอ้างกัน (รถแพงๆ ไม่แน่ ไม่ได้ไปตรวจสอบครับ) เนื่องจากถ้าระบบ DBW ขาดการบำรุงรักษาที่ดีพอ การเป็นข่าวว่าเลี้ยวแล้วไม่ไป ก็น่าจะเกิดขึ้นได้จริงค่ะ
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ธันวาคม 2559, 06:05:11 โดย Auto Man »
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37161
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric Power Steering = EPS)
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 11 มีนาคม 2559, 14:37:35 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • นิสสัน ALMERA ที่เพื่อนสมาชิกได้ใช้อยู่ระบบพวงมาลัยจะเป็นแบบ แรค แอนด์ พิเนี่ยน พร้อมระบบควบคุมด้วยไฟฟ้า EPS เคยสงสัยกันไม๊ครับว่ามันคืออะไร ??? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันครับ

    พวงมาลัยเพาเวอร์รถยนต์

    ต้องขอบคุณเทคโนโลยีอันก้าวล้ำที่คอยช่วยให้เราๆ ท่านๆ ใช้รถได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับคุณผู้หญิงที่น่าจะถูกอกถูกใจเป็นพิเศษ เอาง่ายๆ แค่อุปกรณ์พื้นฐานอย่างเกียร์อัตโนมัติ, พวงมาลัยเพาเวอร์, กระจกมองข้างและกระจกบานข้างแบบไฟฟ้า ที่ได้กลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ไปแล้วล่ะครับสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน ใครที่เคยขับรถยุคเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วคงเคยจำอารมณ์ที่ต้องโหนพวงมาลัยแบบเพาเย่อ, เหยียบคลัทช์, ปรับกระจกมองข้างแบบปรับกับหมุนเอากระจกบานข้างด้วยมือหมุนได้ (“นาย T” สัมผัสมาหมดแล้ว) ที่พอมาขับรถยุคนี้แล้วมันสบายกว่ากันเยอะเลยล่ะครับ

    การพัฒนาการของระบบบังคับเลี้ยว


    โดยเฉพาะกับระบบบังคับเลี้ยวนั้นเป็นอะไรที่เราต้องใช้ตลอดเวลาที่รถเคลื่อน ที่ การที่มี Power Steering มาช่วยผ่อนแรง ย่อมทำให้การขับขี่นั้นๆ รื่นรมย์ขึ้นได้ทันที จากเดิมที่ผ่อนแรงด้วยระบบไฮดรอลิค (hydraulic Power Steering) ซึ่งอาศัยปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ในการสร้างแรงดันเพื่อออกแรง (มากๆ) แทนแขนของเราๆ ท่านๆ ปัจจุบันพัฒนาไปเป็นพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า (Electric Power Steering) แล้วเรียบร้อย ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าของใหม่มันต้องมีดีกว่า ว่าแต่ที่ดีกว่านั้นในแง่ไหนมั่งและรูปแบบการทำงานนั้นเป็นอย่างไรกันล่ะ?



    EPS (หรือ EPS)  : Electric Power   Steering   นั้นจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการ
    ออกแรงแทนเราๆ ท่านๆ ควบคู่ไปกับเซ็นเซอร์   (Torque Sensor)  คอยจับทิศทางการเคลื่อนไหวและแรงบิดที่กระทำลงไป  จากนั้นจึงส่งสัญญาณไปยังกล่องประมวลผล   (Computer   Module)  แล้วค่อยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังมอเตอร์เพื่อออกแรงปั่นแกนพวงมาลัยแทนเรานั่นเองครับ   และด้วยรูปแบบดังกล่าวก็ช่วยให้ระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้สามารถปรับน้ำหนักของพวงมาลัยได้ตามสภาวะการขับขี่ในขณะนั้นๆ ด้วย



    โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกจำกัดเรี่ยวแรง จากการกำหนดปริมาณกระแสไฟ (12 โวลท์) ที่จ่ายให้ไม่เกิน 80 แอมป์ อย่างเช่นในขณะเลี้ยว เรี่ยวแรงของมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกกำหนดไว้ไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ (12.5 โวลท์ คูณด้วย 80 แอมป์ เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ครับ) สำหรับยานยนต์พิกัดเล็ก แต่ถ้าเป็นรถพิกัดใหญ่และน้ำหนักเยอะกว่านี้ มอเตอร์ก็จะใหญ่และใช้กระแสไฟเยอะขึ้นเป็นสัดเป็นส่วนตามไปด้วยครับ แต่ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเรี่ยวแรงหรอกครับ ก็ขนาด LEXUS รุ่นท้อปที่หนักถึง 2 ตันเศษ ก็ยังใช้ระบบบังคับเลี้ยวแบบนี้เลยครับ



    มาว่ากันถึงเรื่องข้อดีของพวงมาลัยแบบไฟฟ้า อันดับแรกคือช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและภาระของเครื่องยนต์ (ว่ากันว่าประหยัดขึ้นถึง 3 %) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องง้สายพานหน้าเครื่องในการขับเคลื่อนปั๊มเพาเวอร์อย่างเก่า ซึ่งก็รวมไปถึงบรรดาท่อทางเดินของน้ำมันไฮดรอลิคและน้ำมันไฮดรอลิคด้วย ยังผลให้การดูแลรักษานั้นง่ายขึ้นและยังมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบไฮดรอลิคอีกด้วย ตามมาด้วยเรื่องที่หลายๆ ท่านอาจจะฉุกคิดขึ้นในใจ นั่นก็คือเรื่องการตอบสนองจากพื้นถนนมาสู่พวงมาลัย (Road Feel) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กันระหว่างเรี่ยวแรงที่ต้องใช้ในการบังคับเลี้ยวกับเรี่ยวแรงที่ส่งผ่านมือซ้ายและขวาของผู้ขับ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกะเกณฑ์น้ำหนักที่จะส่งผ่านพวงมาลัยต่อไปโดยสัมผัสดังกล่าวนี้จะถูกสร้างขึ้นด้วย Computer Module นั่นเองครับ

    เหนือขึ้นไปอีกระดับของ EPS ก็จะเป็น Variable Gear Ratio Steering นี่แหละครับ กับความสามารถในการแปรผันอัตราทดและน้ำหนักของพวงมาลัยให้เหมาะสมกับความ เร็วในขณะนั้นๆ โดยจะประมวลผลร่วมกับผู้ช่วยในการทรงตัวอย่าง Electronic Stability Control นั่นเอง

    ของแถม.... ดูระบบการทำงานของพวงมาลัย EPS และ แบบ แรค แอนด์ พิเนี่ยน ของ BMW กันครับ

    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2559, 09:36:57 โดย Auto Man »
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric Power Steering = EPS)
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 11 มีนาคม 2559, 14:37:35 »