ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมอแดปเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรืออแดปเตอร์จอมอนิเตอร์ LCD  (อ่าน 1524 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ตำแหน่งเสียของ การซ่อม adaptor notebook และหลักการทำงานของ Switching
Filed in Adaptor Notebook, เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค on Apr.29, 2009
ครับเพื่อนๆ วันนี้ ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับ ตัวอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คต่อนะครับ  เจ้า adaptor นี้ ก็มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับวงจรสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย ทั่วๆไปนั่นเอง  อุปกรณ์ที่ใช้อาจเล็กลงบ้าน ตามลักษณะของแพ็คเก็จในการบรรจุนะครับ  แต่ถ้าเพื่อนๆมีความรู้ด้านการซ่อมสวิชชิ่งมบ้างแล้ว  บทความนี้ก็จะช่วยทำให้การพิจารณาในตำแหน่งเสียในการซ่อม ทำได้ง่ายขึ้นครับ
ก่อนอื่นเรามารู้จัก หลักการทำงานของวงจรสวิทชิ่ง กันก่อนแล้วกันครับ
 
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ทางเข้าไฟเป็น Input 220 V.AC(กระแสสลับ) จะผ่านวงจร Filter เช่น Coil(ขดลวดทองแดง) เพื่อกรองกระแสไฟให้มีความเรียบไม่ให้มีสัญญาณรบกวนต่างๆ เข้าไปรบกวนการทำงานในวงจร
วงจรเร็กติไฟล์ (Rectifier)  เป็นวงจรที่ทำหน้าที่ให้กระแสไฟที่เป็นชนิดกระแสสลับ 220 V.AC ถูกเปลี่ยนเป็นกระแสตรงไฟตรง 310 V. DC จะสูงกว่า AC.=1.41 เท่า และมีขั้วบวก ลบแน่นอน)  ในวงจรจะนิยมใช้ไดโอดบริดจ์ ซึ่งจะนำไฟ AC  สองเส้นเข้าที่ขาในตำแหน่ง AC จะ จะได้กระแสไฟตรง DC ออกทาง ด้านซ้ายและขวาและตัว Bridge Diode นี้
วงจรฟิลเตอร์ (DC Fllter) กระแสไฟตรง  วงจรในส่วนนนี้จะมีแรงเคลื่อนที่สูง คืออยู่ที่ประมาณ  310 โวลท์ดีซี 310V.DC เพื่อให้กระแสไฟตรงตรงตำแหน่งนี้ทำงานได้ราบเรียน,และนิ่ง เพื่อนำไปใช้กับ Power Transistor
พาวเวอร์ ทรานซิสเตอร์ (Power Transistor) เป็นวงจรส่วนที่จะนำไฟ หลังจาก Filter ในข้อ 3. แล้ว  มาทำการสวิทช์ที่ความถี่สูง  กล่าวคือจะทำให้ Transistor มีการทำงานเปิดปิดให้กระแสไฟไหล เข้า ออก ในช่วงเวลา 1 วินาที เป็นจำนวนหลายๆครั้ง เช่น 300000 ครั้งต่อวินาที (300 KHz) เป็นต้น
หม้อแปลง สวิทชชิ่ง (Switching Transformer)  เป็นหม้อแปลงไฟที่ทำงานร่วมกับ Power Transistor ตามข้อ 4   เมื่อ Transistor On มีกระแสไฟไหล ก็จะไหลผ่านสู่ขวดลวดทางด้าน Primary ของหม้อแปลง ครบวงจรที่ กราวด์ เพื่อให้ขวดลวดมีสนามแม่เหล็ก  และเมื่อ Transistor Off กระแสหยุดไหล ขดลวดของหม้อแปลงก็จะคลายตัว และเกิดมีการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กข้ามฝั่งไปยังชุด Secondary  ซึ่งเป็นผลให้มีกระแสไฟไหล **กระแสไฟที่ผ่านออกจากขดลวดด้าน Secondary จะเป็นชนิด AC ไฟต่ำเพื่อนำไปเตรียมใช้ให้กับอุปกรณ์ต่อๆไป

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


รูป Block Diagram ของวงจรสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย สำหรับอะแดปเตอร์

   หลักการทำงาน วงจรสวิทชชิ่ง 
วงจรเรียงกระแส และกรองแรงดัน (Rectifier & Filter) วงจรชุดนี้ จะทำงานด้านไฟต่ำแล้วนะครับ เนื่องจากเป็นชุดที่ทำงานต่อจากขด Secondary ของหม้อแปลงสวิชชิ่ง   วงจรนี้  จะทำหน้าที่ในการจัดเรียงกระแสไฟสลับ ให้เป็นกระแสไฟตรงและพร้อมทั้งกรองกระแสไฟให้เรียบ  โดยหลักการเช่นเดียวกันกับ Filter รูปแบบอื่นๆ
วงจรควบคุม (Control) ในส่วนของวงจรนี้ จะมี IC ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของ กระแสไฟทางออกที่จะไปเลี้ยงวงจร อุปกรณ์ (โหลด) ซึ่ง IC นี้ จะส่งคำสั่งไปควบคุม วงจร Transistor Switching  ให้รักษาระดับการทำงานให้คงที และหรือ ชดเชยให้ทาง Output ได้แรงไฟ และกระแสไฟที่คงที่ตลอดเวลา    หน้าที่ที่เห็นๆอีกกรณีก็คือ ถ้าทางโหลด หรืออุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟนี้  เกิดช้อตขึ้น  วงจรควบคุม ก็จะสั่งให้ส่วนการสวิชทชิ่ง ตัดการทำงานได้  ซึ่งจะมีผลให้วงจรปลอดภัยนั่นเอง
โหลด (Load) เป็นส่วนของอุปกรณ์ที่นำกระแสไฟไปใช้งานนั่นเองครับ
ท้ายนี้ ผมขอทิ้งเนื้อหาไว้เท่านี้ก่อน  เพราะผมเน้นไปที่รูปในการแสดงตำแหน่งเสียให้เห็นนะครับ  สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องที่ผมจะพูดต่อไป ก็ให้เพื่อนๆตามในบทความที่เกี่ยวกับ ความรู้ด้านสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย นะครับ

    มาจากที่นี่...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 สิงหาคม 2560, 11:41:35 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ จตุพร

  • ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเว็บ
  • สมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ช่างยนต์มือหนึ่ง
  • *
  • Joined: ม.ค. 2560
  • กระทู้: 167
  • สมาชิกลำดับที่ : 2085
    • อีเมล์