ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: รีวิวการใช้งาน เร้าเตอร์ไวไฟ ASUS RT-AC3200  (อ่าน 2799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37511
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
รีวิวการใช้งาน เร้าเตอร์ไวไฟ ASUS RT-AC3200
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2559, 10:08:16 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ขอลองรีวิวเราเตอร์หลังซื้อมาใช้และค่อนข้างประทับใจครับ แก้ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อนในตึก
    เจ็บตัวครั้งเดียวแต่จบคือคำนิยามของกระทู้นี้ครับ...555 ขอเข้าเรื่องเลยก็แล้วกันนะครับ ผมมีปัญหาชีวิตกับเราเตอร์มาหลายตัว ซื้อๆขายๆลองของใหม่อยู่เรื่อยแต่ก็เป็นรุ่นระดับต้นๆถึงกลางๆนะครับไม่กล้าซื้อตัวเทพเพราะเคยคิดว่ามันเกินจำเป็น พอดีว่าบ้านเป็นตึกแถวสามชั้นแล้วต้องกระจายสัญญาณทั้งชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง รวมถึงตึกข้างๆถัดไปอีกสองช่วงตึกซึ่งผมอาศัยอยู่กับแฟน (เราเตอร์ตัวหลักที่ต่อกับ ADSL อยู่บ้านแม่)

    ซึ่งของเดิมผมใช้เป็น Wi-Fi คลื่น 2.4GHz แต่พักหลังๆช่องคลื่นสัญญาณมันชนกับบ้านอื่นทำให้สัญญาณแกว่งมาๆหายๆเวลาไปเล่นในมุมอับหรือห้องนอน ผมก็เลยลองซื้อเราเตอร์มาเสริมอีกตัวแบบ 5GHz คิดว่าจะได้หมดปัญหาสัญญาณชนเพราะบ้านส่วนใหญ่ใช้กันแต่คลื่น 2.4GHz แต่พอใช้แล้วมันส่งสัญญาณได้แคบกว่าเดิมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะคุณสมบัติคลื่นหรือเป็นที่ตัวเราเตอร์ (ตอนหลังมาใช้ของ D-LINK ตัวกลมๆบ้องๆดำๆเนื่องจากขายตัวเก่าที่แพงกว่าไปเพราะไม่ตอบโจทย์) มันก็เลยเกิดปัญหาจุดอับสัญญาณ Wi-Fi หลายจุดในตัวบ้าน ครั้นจะไปซื้อไอ้พวก Access Point 5GHz มาติดตามเสาก็แพง เดินสายแลนนี่ก็ไม่สะดวกอีก ก็เลยนั่งหารีวิวในเน็ตทั้งเว็บ OCZ VMT แล้วก็ของต่างประเทศ สุดท้ายมาจบที่ตัวนี้ ASUS RT-AC3200 เราเตอร์หล่อๆมีเสาถึง 6 เสา ปล่อยคลื่น 2.4GHz ได้วงนึง 5GHz ได้ถึงสองวงเอาวะกัดฟันเจ็บแต่จบ! ราคาเกินหมื่นมาเก้าร้อยขอไม่บอกร้านที่ซื้อละกันครับ แต่อยู่ในห้างพันทิปนั่นแหละ

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ไปเล่าให้ใครฟังเค้าก็ว่า ?โอเวอร์เราเตอร์ตัวเป็นหมื่น?ตอนไปบอกแม่แม่ก็บ่น (แต่ตังเรานะ 555+) ปกติในห้องนอนแม่กว่าจะหา Wi-Fi ได้ซักขีดนึงนี่แทบต้องก้มกราบพร้อมจุดธูปสามดอก แต่พอเปลี่ยนเราเตอร์ใหม่แล้วนี่คุณหญิงแม่นั่งดูสตรีมมิ่งละครจีนฟันดาบกันช้งเช้งๆในห้องนอนไม่มีสะดุด วันๆแทบไม่โผล่หน้ามาให้ลูกชายเห็นเลย ความสุขเล็กๆของคนเกษียณอะนะ ฮ่าๆ

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ทั้งนี้ก็ด้วยความรู้อันน้อยนิด (ถ้าผิดเสริมได้นะครับ) ผมเข้าใจว่าสัญญาณ Wi-Fi มันจะกระจายออกเป็นวงรีในแนวตั้งฉากกับเสาส่ง เช่นตั้งเสา 90 องศา สัญญาณจะกระจายออกในแนว 180 องศา หรือถ้าตั้งเสา 180 องศา สัญญาณมันก็จะกระจายในทิศ 90 องศา ทีนี้ผมก็ติ๊ต่างเองเลยว่ามันก็น่าจะครอบคลุมทั้งบ้านเลยดิ ทั้งชั้นบน ล่าง แล้วเหลือเสาอีกชุดก็เป็นแนวเฉียง ทีนี้ไอ้เจ้า ASUS RT-AC3200 มันก็ตอบโจทย์ไง มันมีตั้ง 6 เสา แถมมีฟังก์ชั่นถ้าจำไม่ผิดชื่อ AiRadar อะไรนี่แหละหน้าที่ของมันก็คือทำให้เครื่องปลายทางรับสัญญาณแรงขึ้นไปอีก เหมือนกับโงกุนรวมพลังจากมนุษย์โลกแล้วชาร์จยิงไปที่จอมมารบูประมาณนั้น

    กว่าจะมารีวิวกระทู้นี้นี่ผมลองใช้งานมาประมาณอาทิตย์เศษๆละ การใช้งานทั่วไปต้องบอกว่าเกินกว่าคำว่า ?เหลือแหล่? โหลดบิต24 ชั่วโมง 7 วัน เราเตอร์ไม่แฮงค์ไม่ต้องคอยเปิดปิด เล่นเกมออนไลน์ FIFA15 นี่ Ping ลดลงกว่าเราเตอร์เก่านิดหน่อยแต่แทบจะไม่แกว่งทำให้เล่นเกมไม่ค่อยแลคละ นอกซะจากว่าเน็ตทรูสุดที่รักมันจะอยากบัดซบบ้างเป็นครั้งคราวก็คงต้องทำใจ (อยากไปเล่น fiber เหมือนกันนะ แต่ยังไม่สู้ราคา 555+)

    ที่บอกไปด้านบนก็คือเหตุผลหลักที่ผมยอมกัดฟันสอยเราเตอร์เรือนหมื่นตัวนี้ ซึ่งเดี๋ยวผมจะรีวิวทดสอบให้ดูอีกทีว่าที่ผมบอกไปเนี่ยมันทำได้ดีระดับไหนเพราะถือว่าผมมีโอกาสได้ใช้ของดีแล้วมันตอบโจทย์ผมก็เลยอยากแนะนำเพื่อนๆเผื่อใครเจอปัญหาคล้ายๆกัน

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    เอาหละต่อไปผมจะขอพูดถึงการใช้งานบ้าง หลังจากติดตั้งเครื่องเสร็จเสียบสายเปิดเราเตอร์ขึ้นมา การตั้งค่าเราเตอร์เราสามารถต่อกับมือถือผ่าน Wi-Fi หรือต่อกับคอมผ่านสาย LAN เพื่อตั้งค่าก็ได้ทั้งนั้น หน้าตาอินเทอร์เฟสสำหรับเซ็ตอัพค่าต่างๆของตัวเราเตอร์บอกตรงๆว่า ASUS ออกแบบดีกว่าหลายยี่ห้อที่เคยใช้เพียงเสียบสายจากโมเด็มเข้าช่อง WAN มันจะตั้งค่าพื้นฐานให้เองทุกอย่าง (เป็นแค่เราเตอร์นะครับ ไม่ใช่ ADSL เราเตอร์ ดังนั้นต้องหาโมเด็มมาต่ออีกตัว หรือถ้าใช้ fiber ก็เสียบสาย LAN จากกล่อง media ได้เลย)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    คือมันใช้งานง่ายมากแต่แฝงไปด้วยการปรับแต่งได้ละเอียดไม่ต้องไปเปลี่ยนเฟิร์มแวร์ให้เป็น WRT แต่อย่างใด ส่วนตัวผมว่าตอบโจทย์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไม่ต้องกลัวว่าซื้อมาแล้วจะตั้งค่าไม่เป็น แต่ก่อนที่จะไปทดสอบภาคสนามผมจะขอพูดถึงผลพลอยได้จากการซื้อเราเตอร์ตัวนี้มาใช้งานกันก่อนนะครับจะได้ม้วนเดียวจบไปเลย

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ฟังก์ชั่นส่วนใหญ่ก็เป็นฟีเจอร์ทั่วไปที่เราเตอร์ราคาประมาณครึ่งหมื่นมีเกือบหมด เช่นพวกสตรีมมิ่งไฟล์ภาพและเสียงระดับ 4K ได้ แต่สำหรับผมถ้าถามว่าตัวผมมีไฟล์คอนเทนท์ 4K มั้ยบอกเลยไม่มี 5555+ หนักกว่านั้นคือทีวี 4K หละมีมั้ย บอกเลยไม่มี 5555+ อย่างนั้นก็ปล่อยผ่านมันไปก่อน เดี๋ยววันไหนมีแล้วจะกลับมารีวิวให้ดูกันอีกรอบนะครับ งวดนี้เทสFull-HD 1080p ไปก่อน ฮ่าๆ

    อย่างที่สองที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นก็คือเรื่องโหลดบิต ปกติผมจะใช้โน๊ตบุ๊คมาโหลดบิตเพราะมันประหยัดไฟกว่าจะเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ส่วนใหญ่ก็มีโหลดพวกซีรีย์ต่างประเทศอย่างAgent SHIELD, Game of Thrones, Walking Deadบลาๆๆเรื่องอื่นๆก็มีบ้างประปราย (โหลดอย่างอื่นไม่ขอโพสละกันเดี๋ยวงานเข้า พวก 18+ ไรงี้5555+)แต่ยังไงซะมันก็ต้องเปิดโน๊ตบุ๊คโหลดอยู่ดี แถมมันต้องโหลดลงexternal harddiskเพราะผมโน๊ตบุ๊คผมใช้เป็น SSD ความจุน้อย ทีนี้พอโหลดเสร็จก็ต้องเดินถือมาเสียบกับคอมฯเพื่อดูหนัง ดูเสร็จก็ต้องถอดไปเสียบโน๊ตบุ๊คเพื่อโหลดใหม่อีกบางทีมันก็เสียเวลา

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    แต่ไอ้เจ้าเราเตอร์ตัวเนี้ยมันมีช่องเสียบ USB มาให้เลย ทั้ง 2.0 และ 3.0 ดังนั้นผมก็เลยสามารถเอา external harddisk มาต่อพ่วงได้ (แนะนำต่อพอร์ท USB 3.0 สีฟ้าด้านหน้าเราเตอร์) เวลาโหลดบิตก็โหลดลงตัว external harddisk ที่เสียบไว้กับเราเตอร์ไปเลยโดยไม่ต้องเปิดโน๊ตบุ๊ค เพราะว่ามันมีฟังก์ชั่น download master ก็คือการโหลดบิตจากตัวเราเตอร์ได้เลยเพียงแค่เราเตรียมไฟล์นามสกุล .torrent ที่จะโหลดเอาไว้ รวมถึงการดาวน์โหลดไฟล์อื่นๆก็สามารถเซฟลง external harddiskได้ทันทีเหมือนเป็นไดรฟ์ส่วนกลางที่ใครจะเอาอะไรโยนไปใส่ก็ได้ (ตั้งพาสเวิร์ดในการเข้าถึงข้อมูลได้นะครับ)ทีนี้พอโหลดเสร็จก็ดูบนคอมฯได้เลยผ่าน Wi-Fi ไม่ต้องหิ้ว external harddiskมาเสียบ

    ลืมบอกไปอีกอย่าง...ผมไปยืนกอดอกคิดอยู่หน้าร้านขายเราเตอร์ราวสามนาที คิดว่าไหนๆก็กัดฟันซื้อเราเตอร์เทพละเลยขอกัดลิ้นซื้อตัวรับสัญญาณ ASUS PCEAC68 จากร้านเดียวกันมาอีกให้เลือดอาบปากกันไปข้าง (แต่ของแบบนี้มันซื้อครั้งเดียวแล้วอยู่ด้วยกันยาวๆยันลูกบวชนะถ้าไม่พังซะก่อน)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ก็อย่างที่บอก Wi-Fi แรงขนาดนี้มันดูหนังระดับ 4K ผ่าน Wi-Fi ได้สบายอยู่แล้ว พวกหนังซีรีย์ไฟล์ภาพและเสียงกะโหลกกะลานี่จิ๊บๆเลยความแรง Wi-Fi 1.3Gbpsบนคลื่น 5GHz ตกราวๆ 160 MB/s ตามทฤษฎีถ้าให้เทียบก็คือฮาร์ดดิสก์จานหมุนบ้านๆ พวก WD Blueยังอ่าน/เขียนข้อมูลไม่ทันอะ ต้องไปทำ RAID-0 หรือเปลี่ยนไปใช้ SSDโน่นแหละครับถึงจะอ่านและเขียนไฟล์ขนาด 160 MB/s ได้ ดังนั้นเหลือเฟือเหลือล้น แถมการดูหนังจาก external harddiskผ่าน Wi-Fi กับเราเตอร์ตัวนี้มันยังไม่ไปเบียดเบียนกับการเล่นเน็ตด้วย เพราะเสาแต่ละคู่มันมีแบนด์วิดเป็นของมันเอง ผมก็แค่ตั้งให้หนึ่งวงสำหรับเอาไว้ดูหนังจากฮาร์ดดิสก์ล้วนๆอีกสองวงก็ใช้งานเน็ตธรรมดาไปวินๆทั้งคุณแม่คุณลูกและคุณแฟน

    ไหนๆก็พูดถึงเรื่องนี้ละขออธิบายสเปคนิดหน่อย เราเตอร์ตัวนี้ช่วง 2.4GHz มีความเร็วรับส่งข้อมูลที่ 600Mbps ส่วนคลื่น 5GHz รับส่งข้อมูลได้ 1,300Mbps ต่อวง รวมทั้งสามวงก็ปาเข้าไป 3,200Mbpsเหลือเฟือ แบนด์วิดขนาดนี้จะเอาไปประยุกต์ใช้กับสำนักงานก็ได้ ถ้าออฟฟิตไม่ใหญ่มากผมว่ามันก็รองรับได้สบายๆนะ

    มาคุยเรื่องพอร์ท USB กันต่อ เมื่อกี้พูดถึงเรื่องการเสียบใช้งานกับ external harddiskไปละ ต่อไปที่จะบอกก็คือมันสามารถแชร์ปริ้นเตอร์ได้ด้วย คือแบบว่าทำให้เราสามารถสั่งปริ้นรูปหรือเอกสารผ่าน LAN หรือWi-Fi โดยไม่ต้องไปซื้อปริ้นเตอร์Wi-Fi ให้เปลืองเงินซักบาท (คิดซะว่ารวมกับราคาเราเตอร์ละกัน ฮ่าๆๆ)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    (รูปนี้ยังไม่ได้เปิดเราเตอร์นะครับ พอดีเอามาเทสเป็นAccess Point เพราะปริ้นเตอร์อยู่คนละหลัง :P )

    ถามว่าจำเป็นมั้ยก็ต้องบอกว่าไม่จำเป็นเพราะปกติถ้าคอมฯมันอยู่วงแลนเดียวกันมันก็แชร์ปริ้นกันได้อยู่ละแต่อันนี้มันเจ๋งตรงที่ปกติเวลาเราต้องการจะใช้งานเครื่องปริ้นเตอร์ที่ถูกแชร์เครื่องคอมฯที่ต่อกับปริ้นเตอร์ตัวนั้นจะต้องเปิดอยู่เสมอแต่ถ้าใช้เราเตอร์ตัวนี้เพียงแค่เอาปริ้นเตอร์มาต่อกับพอร์ท USB 2.0 ที่อยู่ด้านหลังก็สามารถแชร์ปริ้นได้เลย เพียงแต่คอมที่ต้องการใช้งานปริ้นเตอร์จะต้องลงโปรแกรมของ ASUS ซักหน่อยแต่ก็ถือว่าสะดวกกว่าการใช้แชร์ปริ้นในแบบปกติมาก

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ส่วนเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายมาก็มีมาให้พอสมควร เช่นโหมดการสแกนพวกเว็บแปลกๆหรือป้องกันการเจาะข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูลของ Trend Micro เป็นต้น อีกฟังก์ชั่นนึงที่ชอบก็คือสามารถจำกัดเวลาเล่นเน็ตในแต่ละยูสเซอร์ได้ เช่นกำหนดระยะเวลาการเล่นเน็ตในคอมหรือมือถือของลูกได้โดยที่เครื่องพ่อกับแม่ก็ยังเล่นเน็ตได้ตามปกติแล้วก็บล็อกเว็บที่ไม่อยากให้เด็กดูก็สามารถทำได้ (มันจะเซ็ตได้แบบคร่าวๆ เน้นตั้งค่าง่ายไว้ก่อน แต่ถ้าเป็นเซียนเหยียบเมฆอยากเซ็ตแบบละเอียดมากให้ไปดูในส่วนของ firewall นะครับ)

    ส่วนฟังก์ชั่นอื่นๆผมไม่ค่อยได้ใช้ซักเท่าไรแต่ตัวเราเตอร์มันก็มีติดมาให้เช่น ฟังก์ชั่น Adaptive QoSคือมันจะจัดสรรแบนวิดของระบบให้เหมาะกับความสำคัญของโปรแกรมที่ใช้ เช่นถ้าเราดู YouTube พร้อมกับโหลดบิต มันก็จะพยายามทำให้การดู YouTube ไม่กระตุก ฟังก์ชั่น AiDiskแชร์ไฟล์ผ่าน FTPได้ทั้งวง LAN และ WANผ่าน URLฟังก์ชั่น AiCloudอารมณ์เหมือน Dropboxที่สามารถสั่งจากเราเตอร์ได้โดยตรงฟังก์ชั่น Time Machineระบบแบคอัพข้อมูลสำหรับเครื่อง Apple Mac ซึ่งผมไม่มีก็เลยไม่ได้เทสฟังก์ชั่นเชื่อมต่อ 3G/4G โดยเอาแอร์การ์ดมาเสียบซึ่งผมยังไม่ได้ลอง หรือฟังก์ชั่นพื้นฐานพวก WPS เอาไว้ใช้เวลาที่มีอุปกรณ์อยู่ใกล้ๆ (เช่นมือถือ) พอกดปุ่มนี้ลงไปก็สามารถเชื่อมต่อได้ทันทีไม่ต้องใส่รหัสWi-Fi (สำหรับเวลาแขกมาบ้านแต่ไม่อยากบอกรหัส Wi-Fi พอกดปุ๊ปก็เชื่อมต่อได้ทันที มาครั้งหน้าค่อยกดใหม่) ฟังก์ชั่นปลีกย่อยเยอะครับแต่ส่วนใหญ่เราเตอร์ทั่วไปก็ทำได้อยู่แล้ว

    ชมไปเยอะแล้วขอติบ้าง อย่างแรกเลยคือเรื่องของความร้อนซึ่งหลายคนเจอปัญหากับอากาศในบ้านเรา บอกเลยว่า ?ร้อนมาก? มันร้อนจริงๆนะยิ่งตอนซีพียูเราเตอร์ทำงานหนักๆนี่สุดๆ แต่ตัวเราเตอร์มันเจาะช่องระบายความร้อนไว้ด้านล่างไงถ้าเอาพัดลมเป่าจากด้านล่างก็น่าจะดีขึ้น อย่างที่สองอแดปเตอร์แปลงไฟที่ทำไมมันจะต้องไปติดอยู่กับหัวเสียบปลั๊กด้วยนะ คือมันเปลืองรางปลั๊กไง เสียบทีกินพื้นที่ไปสองช่องอยากให้ปรับปรุงตรงนี้อย่างที่สามก็คือเสาสัญญาณมันค่อนข้างง่อนแง่นหน่อยไอ้สองอันที่อยู่ด้านข้าง เผลอไปโดนไม่ได้ต้องขันใหม่ และอย่างสุดท้ายคือการเชื่อมต่อกับ external harddiskถ้าเสียบแล้วพยายามอย่าไปปรับให้มันค้นหาข้อมูลสุ่มแบบ NTFS (ในเราเตอร์มันจะมีให้เลือก) เพราะว่าพอเปลี่ยนแล้วมันมองไม่เห็นไดรฟ์ ต้องล้างข้อมูลเราเตอร์แล้วตั้งค่าใหม่ คือเสียบแล้วปล่อยมันเฉยๆ จะเพิ่มยูสเซอร์การเข้าถึงข้อมูลก็เพิ่มไปแต่อย่าปรับเป็น NTFS ก็พอ

    กระทู้นี้ขอจบแค่เท่านี้ก่อนนะครับส่วนการทดสอบความแรงสัญญาณขอเป็นกระทู้หน้าจะมาลองเทสให้ดู ผมจะถ่ายรูปจากสถานที่จริงให้ดูเลยว่าระยะ***งและความสูงของตึกแถวที่ผมอยู่นั้นมัน***งและสูงขนาดไหน จุดอับยังไงบ้างครับผม
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37511
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รีวิวการใช้งาน เร้าเตอร์ไวไฟ ASUS RT-AC3200
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2559, 10:10:45 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้   :-X
    มาจากกระทู้นี้ครับ

     ไปกันต่อที่ PART 2 รีวิวเราเตอร์หลังซื้อมาใช้และค่อนข้างประทับใจครับ แก้ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อนในตึกแถวหลายชั้นได้ดีทีเดียว
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37511
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รีวิวการใช้งาน เร้าเตอร์ไวไฟ ASUS RT-AC3200
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2559, 10:21:24 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • คราวที่แล้วผมก็ได้แนะนำให้รู้จักฟังก์ชั่นต่างๆของ ASUS RT-AC3200 เราเตอร์ 6 เสากันไปแล้ว รวมถึงตัวรับสัญญาณ Wi-Fi ASUS PCEAC68 ไปแบบคร่าวๆ ต่อไปในบทนี้ผมจะมาทดสอบจริงให้เพื่อนๆได้ดูว่าประสิทธิภาพของมันนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง ก่อนอื่นผมให้ดูสถานที่ประจำการของเราเตอร์ตัวนี้ซะก่อน

    กระทู้ PART1 http://www.adslthailand.com/forum/user-reviews/smart-home-home-security/65

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตัวเราเตอร์ทั้งหมดที่จะทดสอบนั้นถูกวางอยู่ข้างในตึกด้านขวาสุดซึ่งก็คือบ้านที่คุณหญิงแม่อยู่ โดยเราเตอร์จะถูกวางไว้ในตำแหน่งตรงกลางตึกบริเวณชั้นสองเยื้องมาทางฝั่งหน้าบ้าน โจทย์ก็คือมันจะต้องครอบคลุมทุกซอกทุกมุมทั้ง 3 ตึก และ 3 ชั้นครึ่ง (รวมชั้นลอยด้วย) ซึ่งแน่นอนว่าผมจะต้องทดสอบในห้องที่ไกลที่สุดแถมยังเป็นห้องที่เราต้องการใช้เวลากับเน็ตอย่างมาก! นั่นก็คือ“ห้องส้วม” นั่นเอง ซึ่งจะเป็นจุดที่ไกลจากเราเตอร์มากที่สุดของบ้าน แถมประตูยังเป็นฉนวนกันคลื่นด้วยการแปะเหล็กเข้าไปที่ด้านหลังประตูซึ่งเอาไว้กันน้ำเดี๋ยวประตูไม้มันจะบวม ตั้งแต่ลองใช้มายังไม่เคยมีเราเตอร์ตัวไหนฝ่าไปได้ชนิดที่ว่าเปิด YouTube นั่งดูชิวๆซักตัวส่วนใหญ่ทำได้แค่เห็นชื่อ Wi-Fi แต่พอลองเชื่อมต่อก็หายจ๋อม...

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    อุปกรณ์และเครื่องมือที่จะใช้ทดสอบก็มี

    1.เน็ต True ADSL 10/1 Mbps (ซึ่งคาดว่าอนาคตจะเปลี่ยนไปใช้ fiber ค่ายอื่น =w=”)

    2.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi ด้วยตัวรับสัญญาณ ASUS PCEAC68

    3.ทีวี LG 60” 60LB650T เชื่อมต่อกับคลื่น 5GHz เล่นเน็ต ดู YouTube ผ่านระบบ Smart TV

    4.มือถือ ASUS Zenfone 5 เอาไว้ลองคลื่น 2.4GHz เป็นตัวแทนของสมาร์ทโฟนราคาถูกซึ่งรับสัญญาณ Wi-Fi ไม่ค่อยดีนัก

    5.แท็บเล็ต Samsung Galaxy Tab S 8.4 เอาไว้ลองคลื่น 2.4 และ 5GHz เป็นตัวแทนของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นกลาง-บน

    6.เราเตอร์ D-LINK DIR-820l AC1000C Wireless Dual Band เอามาแทน TP-LINK ตัวเก่าสามเสาตอนนั้นซื้อมาหลายพันอยู่ ที่ขายไปเพราะยังไม่ตอบโจทย์เพราะห้องไกลๆหรือห้องจุดอับมันเชื่อมต่อไม่ค่อยติดถึงแม้จะเห็นชื่อ Wi-Fi ก็เถอะ แล้วพอขายไปก็ยังไม่กล้าเสี่ยงกับเราเตอร์ที่แพงกว่าเดิมเพราะเห็นเสามันก็จำนวนพอๆกันแล้วช่วงนั้นร้านจิ๊บเค้าลดราคา D-LINKDIR-820l บนเว็บพอดี เหลือแค่ไม่กี่ร้อยจากพันปลายๆก็เลยจัดมาก่อนแล้วก็ใช้มาจนถึงปัจุบัน ตัวนี้เอามาทดสอบคลื่น 2.4GHz และ 5GHz

    **Wi-Fi ชื่อ VIRUS-LINK คือ 2.4GHz และ VIRUS-LINK-5GHz คือ 5GHz

    7. Linksys WRT54GL เราเตอร์ยอดนิยมในตำนาน พอลงเฟิร์มแวร์WRT ปุ๊ปนี่โคตะระเสถียรเลย ใช้มานมนานมาก แต่พักหลังโหลดบิตแล้วชอบค้าง RAM เต็ม เลยให้มันทำหน้าที่เดียวพอคือเชื่อมต่อเน็ตแล้วแจก IP เอามาแบ่งเบาภาระเราเตอร์ตัวอื่นต่อไป (รู้สึกว่าถ้าให้เราเตอร์ตัวเดียวมันทำอะไรไปซะทุกอย่างทั้งต่อเน็ต เป็นเราเตอร์ แจก Wi-Fi เครื่องมันร้อนมาก แต่พอกระจายหน้าที่ รู้สึกว่ามันร้อนน้อยลง มโนไปเองป่าวว้า 555+)

    8.ตัวโมเด็ม TP-LINK กะว่าถ้าฟ้าลงจะได้เข้าตัวนี้ก่อน เคลมได้ตลอดชาติจัดไป 555+ ตั้งเป็น bridge mode แล้วให้ Linksys WRT54GL จัดการเชื่อมต่อแทนเพราะเสถียรกว่ามาก

    9.ปิดท้ายด้วยพระเอกของเรา ASUS RT-AC3200 หกเสาหล่อๆ

    แบบทดสอบที่ 1 นั่งกินขนมในห้องเดียวกับเราเตอร์

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จริงๆแล้วมันเป็นห้องนั่งเล่นประจำบ้านครับ ระยะห่างที่นั่งเล่นจากเราเตอร์บวกลบไม่เกิน 3 เมตร โดยผมตั้งชื่อWi-Fi ของ ASUS ว่า ASUS ทั้งหมดครับ (จริงๆก็ชื่อเดิมที่มันตั้งมาให้นั่นแหละ) โดย ASUS เฉยๆคือคลื่น 2.4GHz ส่วนASUS_5G-1 กับ 5G-2 เป็นคลื่น 5GHz ผมเซ็ตให้ทุกตัวพยายามปรับเลี่ยงให้คลื่นสัญญาณชนกับชาวบ้านน้อยที่สุดครับ (หรือจะตั้ง Auto ก็ได้มันจะเลี่ยงเอง)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    คลื่น 2.4GHz แย่งกันกินแย่งกันใช้แย่งกันหายใจ แต่ถึงกระนั้น ASUS RT-AC3200 ของเราก็ยังโด่เด่นไม่เกรงกลัวใคร แต่ถ้าเลือกได้ขอหนีมาซบ 5GHz ดีกว่า

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    โล่งขึ้นเยอะครับพี่น้อง บนถนนสาย 5GHz ถึงแม้ว่าASUS_5G-1นั้นสัญญาณยังแรงสู้เราเตอร์ป๋องแป๋งจาก D-LINK ไม่ได้ แต่จะลองขอฝากความหวังไว้กับน้อง ASUS_5G-2 ดูเพราะมีตัวเลือกให้เลือกใช้อีกหนึ่ง

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จากกราฟจะเห็นว่ามีแค่ตัว 5G-2 ที่ชิวๆใสๆอยู่คลื่นเดียวโดยที่ไม่มีชาวบ้านมายุ่งเกี่ยวเพราะมันตั้งคลื่นสัญญาณได้แค่ช่วงนี้พอดี จะปรับไปเป็นช่วงเดียวกับ 5G-1 ก็ไม่ได้เพราะมันแยกขาดจากกันไปเลย เช่นเดียวกันกับ 5G-1 ก็จะปรับมาเล่นคลื่นช่วง 5G-2 ไม่ได้ครับ หลังจากทดสอบแล้วก็ผ่านฉลุยหมดทุกคลื่นไร้ปัญหาจร้า

    แบบทดสอบที่ 2 ณ ห้องนอนหญิงแม่ชั้นลอย

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ปกติห้องนี้ห้องเป็นห้องดับเซียนครับ สมัยก่อนใช้ Linksys WRT54GL โมเสาอัพ WRT ยิ่งปรับสัญญาณส่งแรงมันก็ยิ่งข้ามหัวเหมือนเป็นจุดอับของคลื่นพอดี พอปรับเบาลงต้องยืนจ่อประตูถึงจะพอไหว แต่แล้วความพยายามนี้ก็จบครับ ASUS RT-AC3200 สัญญาณมาแรงมากแม้นั่งเล่นที่สุดขอบห้องหมดปัญหาไปหนึ่ง

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตัวแท็บเล็ต Samsung Tab S 8.4 จับสัญญาณได้ดีกว่า Zenfone 5 ชัดเจนครับ เอ่อ...ว่าแต่ Wi-Fi VIRUS หายไปไหนหมดซะแล้วหละครับเนี่ย ปล่อยให้ ASUS โดดเดี่ยวอ้างว้างเหลือเกิน

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    พอมาเปิดดูในเมนู Wi-Fi บนแท็บเล็ตปรากฏว่ามีชื่อVIRUS ขึ้นครับ แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งตัว 2.4และ 5GHz ส่วน ASUS มากันครบแม้กระทั่ง ASUS_5G-1 ที่ดูด้อยกว่าเสาอื่น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับองศาของเสาส่งด้วยครับ เนื่องจากเสาของ ASUS 2.4GHz และ ASUS_5G-2 ผมปรับตามคู่มือที่ 60 องศา ส่วน ASUS_5G-1 ผมปรับเป็น 90 องศา สัญญาณทั้งคู่เลยกระฉูดกว่าอย่างที่เห็นครับ)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ดู YouTube ได้สบายๆ กดปุ๊ปมาปั๊ป สามผ่านเลยจร้า

    แบบทดสอบที่ 3 ห้องทำงาน

    ปกติแล้วห้องนี้ก็รับสัญญาณ Wi-Fi ได้ทุกเราเตอร์อยู่แล้วครับเพราะเป็นห้องทำงาน แต่ก็ขอทดสอบให้ดูละกันว่าสัญญาณมันแรงขึ้นขนาดไหน ซึ่งตัวรับสัญญาณ ASUS PCEAC68 ก็อยู่ในห้องนี้ด้วยครับ จากกราฟที่อ่านได้ก็ถือว่าแรงขึ้นมากเมื่อเทียบกับเราเตอร์D-LINK ที่มีอยู่เดิม ยิ่งถ้าตัวรับสัญญาณห่วยก็แบบ Zenfone 5 ก็จะเป็นอย่างที่เห็นครับ ได้รับอานิสงค์จากเราเตอร์ASUS ไปเต็มๆ ส่วนWi-FiVIRUS นี่อ่อนกว่าเกือบๆ -25 เดซิเบล ส่วนคลื่น 5GHz ความแรงก็ดรอปไประดับนึงทั้งคู่ครับแต่ยังใช้งานได้ปกติ

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ส่วนการทดสอบกับ SmartTV คงเช็คอะไรไม่ได้มาก ดูได้แค่ Wi-Fi มีกี่เม็ดกี่ขีดแค่นั้น โดยรวมก็ใช้งานได้ลื่นไหลทั้งเล่นเว็บและดู YouTube รวมถึงการ Streaming จากแอปต่างๆในเครื่อง

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    แบบทดสอบที่ 4 ห้องส้วม!ที่สุดแห่งบททดสอบ

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    เพียงแค่เห็นประตูเข้าไป เหล่าคลื่นทั้งหลายก็หนาวขรี้กันแล้ว! 555+ ยิ่งเจอระยะทางระหว่างเราเตอร์ถึงตัวรับเข้าไปอีก แทบไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเหลือแต่ ASUS, ASUS_5G-1 และ ASUS_5G-2 เพราะ VIRUS ทั้งหลายดับอนาถครับ (VIRUS ตัว 2.4GHz ชื่อผลุบๆโผล่ๆถือว่าแพ้ฟาวครับไม่นับ)ส่วน Wi-Fi ของบ้านอื่นที่เห็นแรงๆน่าจะเข้าจากทางด้านหลังห้องน้ำซึ่งผมแง้มกระจกเอาไว้ (ถ้าเปิดประตูไว้สัญญาณจะมาเต็มมาก เลยสันนิษฐานว่าประตูบานนี้ค่อนข้างกั้นสัญญาณอย่างมาก ซึ่งผมคงไม่เข้าส้วมโดยเปิดประตูทิ้งไว้ไง 555+)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    และถึงแม้เราเตอร์จะแพงเทพโหดขิงขนาดไหน แต่ด้วยข้อจำกัดการทะลุทะลวงของคลื่น 5GHz ทำให้สัญญาณที่ผ่านเข้ามาออกอาการร่อแร่เลยทีเดียวโดยเฉพาะ ASUS_5G-1 ที่เห็นชื่อแต่เชื่อมต่อไม่ได้ครับ ส่วน ASUS_5G-2 ยังเชื่อมต่อและใช้งานได้

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ผมรีบลองเอา ASUS Zenfone 5 ซึ่งปกติไม่สามารถเชื่อมต่อเราเตอร์ตัวใดได้เลยจากในห้องน้ำ ลองเชื่อมต่อไปที่ Wi-Fi ASUS 2.4GHz ขอบอกเลยว่าฉลุยครับ นั่งดู YouTube ในห้องน้ำได้อย่างลื่นไหลสุดๆ ระดับขีด Wi-Fi บนมือถืออยู่ที่ 2-3 เม็ดไม่ต่ำและไม่สูงกว่านี้แต่ถ้าใช้ SS Tab S 8.4 จะอยู่ที่ระดับ 3 ขีดตลอด

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ต่อไปก็เอา Tab S 8.4 มาลองคลื่น 5GHz ดูบ้าง...อย่างที่บอกไปข้างต้นครับว่าASUS_5G-1นั้นเหลือแต่ชื่อเชื่อมต่อไม่ได้ ส่วน 5G-2 นี่เชื่อมต่อได้เล่นเน็ตได้ครับ “แต่” ดู YouTube ไม่ไหวซะแล้ว

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ดังนั้นคลื่นที่สามารถผ่านการทดสอบห้องนี้ได้นั้นก็เหลือเพียงหนึ่งเดียว “ASUS คลื่น 2.4GHz” ด้วยคุณสมบัติคลื่นที่ทะลุทะลวงได้ดีกว่าทำให้สามารถนั่งดูอนิเมะหรือหนังระดับ HD ที่อยู่ใน external harddisk ที่ผมต่อเอาไว้กับเราเตอร์ ASUS RT-AC3200 ได้สบายๆไม่มีกระตุก

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    หลังจากทดสอบเสร็จทำเอาน้ำตาแทบไหลพรากๆ เพราะในที่สุดก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างหมดจรดทุกชั้น ทุกซอก ทุกมุมที่เคยมีปัญหา แล้วก็ไม่ต้องไปต่อ Acces Point หลายๆจุดให้เปลืองไฟแล้วก็เกะกะอีกด้วยครับ ถึงแม้มันจะแพงมากในระดับเราเตอร์บ้าน แต่สำหรับผมมันก็คุ้มที่แก้ปัญหาได้ถูกจุด

    แต่ทั้งนี้ผมก็คงต้องลองเปิดใช้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ไปซักเดือนเพื่อดูเรื่องความร้อนครับ เพราะใจก็อยากปลดระวาง Linksys WRT54GL เต็มแก่แล้ว ทีนี้จะได้ใช้ตัวเดียวให้จบไปเลยไม่ต้องต่อเพิ่มอีกแล้วถ้ามีโอกาสผมจะมารายงานผลให้ทราบอีกทีนะครับ ส่วนกระทู้หน้าจะเป็นกระทู้สุดท้ายซึ่งผมจะรีวิวตัว ASUS PCEAC68 ให้ดู แต่อาจจะซักพักช่วงนี้งานประจำค่อนข้างเยอะ TwT เศร้าแปป

    ขอบคุณเจ้ากระทู้ครับ ที่นำบทความ/ความพยายามในการถ่ายทอด มาเล่าสู่กันฟัง
    อยากให้สมาชิกเว็บ AutoNKP.esy.es นำประสบการณ์ต่างๆ มาแบ่งปันครับ
    สมกับสโลแกนเว็บ "ฮักแพงแบ่งปัน คือเก่าเด้อ"
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    รีวิวการใช้งาน เร้าเตอร์ไวไฟ ASUS RT-AC3200
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2559, 10:21:24 »