หมวดไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์ => ห้องอิเล็กทรอนิกส์ => ซ่อมสวิทชิ่ง => ข้อความที่เริ่มโดย: Auto Man ที่ 14 สิงหาคม 2559, 09:12:47

หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 14 สิงหาคม 2559, 09:12:47
เทคนิคการซ่อม Switching power supply (1)

Switching power supply มีโอกาสเสียมากกว่า linear power supply ใน switching power supply ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดัน 311 V (ได้จากการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V ความถี่ 50 Hz) ถูกสวิตช์เปิด-ปิดด้วยความถี่สูงช่วง 40 kHz ถึง 120 kHz ขึ้นอยู่กับการออกแบบและมีวงจรควบคุมให้ได้แรงดันคงที่ตามต้องการ ในขณะที่ linear power supply ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V ความถี่ 50 Hz ถูกลดแรงดันลงตามที่ต้องการด้วยหม้อแปลงหลังจากนั้นไดโอดแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงและกรองให้มีแรงดันเรียบด้วยตัวเก็บประจุซึ่งตัวเก็บประจุกรองแรงดันกระเพื่อมที่ความถี่ 100 Hz หากต้องการรักษาแรงดันให้คงที่ก็เพิ่มวงจรรักษาระดับแรงดัน (voltage regulator) เช่น แรงดัน 5V 12V -5V -12V เป็นต้น

อ้างถึง
ที่ความถี่สูงตัวเก็บประจุมีการสูญเสียในรูปของความร้อนมากขึ้น

       ตัวเก็บประจุมักจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ switching power supply เสีย จากการที่ตัวเก็บประจุต้องกรองสัญญาณความถี่สูงถึง 120 kHz ที่ความถี่สูงตัวเก็บประจุมีการสูญเสียในรูปของความร้อน (P = V²2πfC(DF)) มากตามไปด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับที่ความถี่ต่ำเช่นที่ 100 Hz ใน linear power supply ความร้อนที่เกิดขึ้นในตัวเก็บประจุจะทำให้สารไดอิเล็กตริคบางส่วนรั่วออกจากภาชนะที่บรรจุทำให้ค่าเก็บประจุลดลง ขนาดแรงดันกระเพื่อมมากขึ้นจนอาจทำให้จ่ายแรงดันไม่เพียงพอต่อความต้องการของ load อาการเสียในรูปแบบต่าง ๆ และการแก้ไขคอยติดตามในครั้งหน้าครับ
หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 14 สิงหาคม 2559, 09:15:02
เทคนิคการซ่อม Switching power supply ตอน 2

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 (http://upic.me/show/62429390)
                               รูปที่ 1

ลักษณะการเสีย ของ switching power supply ที่มักพบได้บ่อยพอจะจำแนกได้ดังนี้

      1. ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ load ได้อย่างเพียงพอ โดยเครื่องมือมีอาการแสดงให้เห็นคือติด ๆ ดับ ๆ หากใช้ AC Voltmeter วัดแรงดันด้านเอาต์พุตจะได้ค่าที่สูง (ค่าปกติไม่เกิน 100 mV)

สาเหตุ เท่าที่พบคือ 1.1 ตัวเก็บประจุที่ทำหน้าที่กรอง (C10, C11, C12 รูปที่ 1) มีค่าลดลงมากกว่า 20 %

                      1.2 ความถี่ของการสวิตช์ลดลงเนื่องจากค่าตัวเก็บประจุ (ภายในวงจรที่ทำหน้าที่เหมือนกับ U1 รูปที่ 1) เปลี่ยนไป ซึ่งตัวเก็บประจุนี้ทำหน้าที่ในการกำหนดความถี่

       2. ให้แรงดันสูงเกินกำหนด

สาเหตุ เท่าที่พบคือ 2.1 อุปกรณ์ป้อนกลับ (opto-coupler U2 รูปที่ 1) เพื่อควบคุมการสวิตช์บกพร่อง ทำให้แรงดันสูงเกินค่าที่ต้องการ หากมีวงจรป้องกันแรงดันเกิน วงจรส่วนนี้ก็จะทำงาน อีกข้อสังเกตุหนึ่งคือความถี่ของการสวิตช์ขึ้นไปสูงหลายเท่าของค่าปกติ (เช่นปกติวัดความถี่ที่ขดลวดของหม้อแปลงได้ 50 kHz เมื่อผิดปกติความถี่อาจขึ้นไปถึง 250 kHz) และความถี่ไม่นิ่ง

                      2.2 ความถี่ของการสวิตช์สูงขึ้นเนื่องจากค่าตัวเก็บประจุ (ภายในวงจรที่ทำหน้าที่เหมือนกับ U1 รูปที่ 1) เปลี่ยนไป

       3. ไม่ให้แรงดันเอาต์พุต

สาเหตุ เท่าที่พบคือ 3.1 ตัวควบคุมการสวิตช์ (U1 รูปที่ 1) เสีย
หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 14 สิงหาคม 2559, 09:20:45
   การตรวจซ่อม switching power supply ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักได้แก่ 

     1. เตรียมการ เนื่องจากแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับ switching power supply มีแรงดันสูงถึง 311 Vdc หากเกิดความผิดพลาดในขณะทำการซ่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง และอุปกรณ์อาจจะเสียหายมีจำนวนมากกว่าเดิมทำให้ยากต่อการซ่อม ดังนั้นควรจะต่อฟิวส์ป้องกันโดยใช้ฟิวส์ที่ตัดที่กระแสน้อยกว่าค่าปกติใช้งาน เช่น ปกติใช้ 2 A ก็ใช้ 500 mA แทน

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 

Switching power supply

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 

ตัดลายทองแดงแล้วแทรกฟิวส์กรณีที่ในวงจรไม่มีฟิวส์

     2. ตรวจวัด เปลี่ยนอุปกรณ์ ต้องหาสาเหตุให้ได้ก่อนว่าปัญหาเกิดจากที่ใดด้วย

        2.1   การสังเกตุ โดยรวมถึงความผิดปกติ เช่น LED ให้แสงสว่างไม่สม่ำเสมอนั่นแสดงว่าไฟไม่เรียบ อุปกรณ์บางส่วนแตกออก

        2.2   การวัดด้วยโวลต์มิเตอร์ทั้ง DC และ AC หากยังไม่พบสาเหตุ

        2.3   ให้ตรวจวัดความถี่ของการสวิตช์อาจจะเป็นที่อินพุตของหม้อแปลงหรือที่เอาต์พุตของหม้อแปลงก็ได้ซึ่งความถี่จะอยู่ในช่วง 40-120 kHz (ดูข้อมูลของ IC ประกอบด้วย) ถ้าแตกต่างไปจากนี้ ให้ตรวจวัดตัวเก็บประจุที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความถี่ และ opto-coupler กรณีความถี่เป็นศูนย์ตัวควบคุมการสวิตช์ เสีย กรณีความถี่ต่ำไปหรือสูงไปมีสาเหตุเป็นไปได้ทั้งตัวเก็บประจุและ opto-coupler เท่าที่พบค่าตัวเก็บประจุลดลงความถี่จะสูงขึ้นทำให้แรงดันด้านเอาต์พุตของหม้อแปลงสูงขึ้นและในทางกลับกัน ความถี่สูงขึ้นอาจมีสาเหตุมาจาก opto-coupler ก็เป็นไปได้ซึ่งความถี่อาจจะสูงถึง 2-3 เท่า

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 

มีอยู่กรณีหนึ่งที่ opto-coupler (ISO3) เสีย ความถี่ขึ้นไปประมาณ 200 kHz

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 

วัดความถี่ทางด้านเอาต์พุตของหม้อแปลงได้ 67.55 kHz อยู่ในช่วงปกติ

หากพบสาเหตุแล้วให้ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสีย ในบางครั้งไม่สามารถหาอุปกรณ์เหมือนตัวเดิมได้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กันแทนก็ต้องศึกษารายละเอียดของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ ค่าความต้านทานที่แตกต่างกันเพียงตัวเดียวก็อาจจะทำให้วงจรไม่ทำงานได้เช่นกัน

     3. ตรวจสอบการใช้งานได้ ต่อโหลดให้กินกระแสตามกำหนดแล้วตรวจวัดแรงดันว่ายังคงที่ตามกำหนดหรือไม่ แก้ไข หรือประกอบกลับสู่สภาพเดิมแล้วแต่กรณีไป 

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 

ถอดฟิวส์ออกแล้วบัดกรีลายทองแดงกลับเหมือนเดิม

     
       เทคนิคการซ่อม Switching power supply ได้เริ่มมาตั้งแต่ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และตอนนี้เป็นตอนสุดท้าย ครับ

MK
หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: pornchai panmung ที่ 13 กันยายน 2561, 13:47:49
สวัสดีครับ
พี่ครับ ทำไมที่ชาร์จโทรศัพท์ถึงมีเสียงหวีดดดดดดดดด ครับ
เมื่อต่อโหลด(โหลดคือโทรศัพท์) เสียงจะหายไป
แต่ถ้าเอาโหลดออก ก็จะมีเสียงเหมือนเดิม
หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 13 กันยายน 2561, 14:57:18
สวัสดีครับ
พี่ครับ ทำไมที่ชาร์จโทรศัพท์ถึงมีเสียงหวีดดดดดดดดด ครับ
เมื่อต่อโหลด(โหลดคือโทรศัพท์) เสียงจะหายไป
แต่ถ้าเอาโหลดออก ก็จะมีเสียงเหมือนเดิม


   ขอชมว่า  ช่างสังเกตุดีแท้  อาจเป็นไปได้หลายกรณี เพราะเครื่องทำงานกับความถี่
อาจมีความถี่ในช่วงหนึ่งส่งเสียงให้เราได้ยิน
ถ้าไม่เป็นตั้งแต่แรก ก็อาจจะเป็นที่หม้อแปลงสวิทชิ่งก็เริ่มมีปัญหา (นี่ก็เดา..555)
หัวข้อ: เทคนิคการซ่อม Switching power supply
เริ่มหัวข้อโดย: pornchai panmung ที่ 13 กันยายน 2561, 15:51:50
 (( -OO- -OOO-
สวัสดีครับ
พี่ครับ ทำไมที่ชาร์จโทรศัพท์ถึงมีเสียงหวีดดดดดดดดด ครับ
เมื่อต่อโหลด(โหลดคือโทรศัพท์) เสียงจะหายไป
แต่ถ้าเอาโหลดออก ก็จะมีเสียงเหมือนเดิม


   ขอชมว่า  ช่างสังเกตุดีแท้  อาจเป็นไปได้หลายกรณี เพราะเครื่องทำงานกับความถี่
อาจมีความถี่ในช่วงหนึ่งส่งเสียงให้เราได้ยิน
ถ้าไม่เป็นตั้งแต่แรก ก็อาจจะเป็นที่หม้อแปลงสวิทชิ่งก็เริ่มมีปัญหา (นี่ก็เดา..555)

ขอบคุณครับ