ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: อีกครั้งกับไอซี 5 5 5  (อ่าน 832 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
อีกครั้งกับไอซี 5 5 5
« เมื่อ: 24 กันยายน 2563, 11:24:11 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  •    ไอซีตั้งเวลา 555 (IC 555 Timer)   

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


          เป็นไอซีที่นิยมและมีการใช้กันมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะใช้งานง่ายมาก โดยเริ่มมีการใช้งานกันตั้งแต่ปี 1971 และยังคงมีการใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ มีการผลิตมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวในทุกๆปี ไอซีตัวเล็กๆตัวนี้ถูกใช้งานในแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายทั้งในวงจรอนาลอกและ วงจรดิจิตอล ซึ่งใช้สำหรับความเที่ยงตรงในเรื่องของการกำหนดเวลาตั้งแต่ไมโครวินาทีไปจึง ถึงชั่วโมง

         จากรูปจะแสดงตำแหน่งขาของไอซีตั้งเวลา 555 (IC 555 timer) โดยมีหน้าที่ดังนี้
    - Trigger input: เมื่อคุณจ่ายแรงดันต่ำ (Low Voltage) ที่ขา 2 เป็นการสั่งให้วงจรภายในเริ่มทำงาน การกระตุ้นแบบนี้เรียกอีกอย่างว่า Active Low Trigger
    - Output pin: สัญญาณรูปคลื่นเอาท์พุท จะออกที่ขา 3
    - Reset: ถ้าคุณจ่ายแรงดันต่ำ (Low Voltage) ให้กับขา 4 จะเป็นการรีเซทระบบใหม่และเอาท์พุทที่ขา 3 จะเป็นสานะแรงดันต่ำ (บางวงจรจะไม่ใช้ฟังก์ชันรีเซท โดยขานี้จะจ่ายไฟป้อนไว้ตลอด)
    - Control Voltage Input:ถ้าคุณต้องการหยุดวงจร ทริกเกอร์ภายใน (ซึ่งปกติแล้วเราจะไม่ทำ) ให้จ่ายไฟที่ขา 5 ไม่อย่างนั้นก็ต่อไฟลงกราวด์ผ่านตัวเก็บประจุ 0.01 µF
    - Thershold input: เมื่อจ่ายแรงดันที่ขา 6 เท่ากับ 2/3 ของแหล่งจ่ายแรงดัน Vcc  สิ้นสุดรอบเวลา คุณต่อตัวต้านทานระหว่างขา 6 และแหล่งจ่ายไฟบวก ค่าของตัวตัวต้านทานจะทำให้ความยาวของของรูปคลื่นเปลี่ยนไป
    - Discharge pin: ให้คุณต่อตัวเก็บประจุกับขา 7 เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาสำหรับคายประจุ (Discharge Time)

          นอกจาก IC 555 แล้วก็ยังมี IC 556 ซึ่งเป็นรุ่นที่ที่มี IC 555 สองตัว (14-pin DIP) และรุ่นอื่นๆอีกมากมายที่เป็นการรวมเอาไอซี 555 ไว้ด้วยกัน
    ในการใช้งานตัว IC 555 นั้นใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ตัว เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และ สวิตซ์ ซึ่งสามารถที่จะสร้างเอาท์พุทได้หลายรูปแบบ

         แต่วันนี้เราจะมาคุยวงจรที่นิยมใช้กันสำหรับตัว IC 555 กัน ก็คือ

    • วงจรอสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator)
    • วงจรโมโนสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator)
    • วงจรไบสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (Bistable Multivibrator)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

        ตำแหน่งขา IC 555

    ASTABLE MULTIVIBRATOR (OSCILLATOR)
         ไอซี 555 สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นอสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) ซึ่งเหมือนกับเครื่องให้จังหวะ โดยการต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับชิป ตามรูป โดยไอซี 555 จะสร้างสัญญาณพัลส์อย่างต่อเนื่องซึ่งจะสลับกันไประหว่างแรงดันต่ำ (0 โวลท์) กันแรงดันสูง (เท่ากับแหล่งจ่ายแรงดัน, Vs) การนำไอซี 555 ไปใช้งานเป็นวงจรอสเตเบิ้ล สามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างเช่น
    ไฟกระพริบ: สัญญาณพัลส์ที่ความถี่ต่ำๆ (<10 Hz) สามารถที่จะเปิด/ปิด LED ได้
    เครื่องให้จังหวะอิเล็กทรอนิกส์:  สัญญาณพัลส์ที่ความถี่ต่ำ (<20 Hz) จ่ายให้กับลำโพงหรือ Piezoelectric สามารถที่จะทำให้เกิดเสียงเป็นจังหวะได้
    เสียงเตือนภัย: โดยการตั้งค่าความถี่ไว้ที่ระดับเสียงที่มนุษย์ได้ยินคือ 20 Hz – 20 kHz แล้วต่อเข้ากับลำโพงเพื่อให้มีเสียงดัง

    ความถึ่ (F, หน่วยเฮิร์ต) คือจำนวนการขึ้นลงของรูปคลื่นภายในหนึ่งวินาที
    โดยรูปคลื่นสี่เหลี่ยมสามารถกำหนดได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อภายนอก สามตัว ตามสมการดังนี้
    F = 1.4 / [(R1+2R2)xC1]
    ถ้าคุณต้องการหาค่าช่วงเวลาที่รูปคลื่นใช้เวลาจากจุดสูงสุดไปสู่จุดต่ำสุดสามารถหาได้จาก T = 1/F โดยจะได้หน่วยเป็นวินาที
    ดังนั้นถ้านำไปแทนในสูตรของไอซี 555 แล้วจะได้
    T = 0.7 x (R1+2R2) x C1

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

      - วงจร 555 อสเตเบิ้ล

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    คุณสามารถที่จะปรับแต่งวงจรได้เพื่อปรับความกว้างในช่วงแรงดันสูงของพัลส์แตกต่างจากช่วงแรงดันต่ำของพัลส์
    สามารถหาค่าได้จากสูตร
    ( <- คลิ๊กเพื่อแสดง/ซ่อนเนื้อหา)

    โมโนสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (MONOSTABLE MULTIVIBRATOR-ONE SHOT)
             ต่อวงจรไอซี 555 ตามรูปข้างล่างคุณจะได้วงจรโมโนสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ ซึ่งจะสร้างสัญญาณพัลส์แค่ลูกเดียวเมื่อมีสัญญาณมาทริก ถ้าไม่มีสัญญาณมาทริก เอาท์พุทของวงจรจะอยู่ในสถานะโลว์ (Low) ที่แรงดัน 0 โวล์ท เมื่อมีสัญญาณทริกเข้ามาที่ระหว่งขา 2 และกราวด์ สัญญาณพัลส์เอาท์พุทจะถูกสร้างมาเท่ากับแรงดันแหล่งจ่าย โดยที่ความกว้างของพัลส์ จะถูกกำหนดด้วย R1 และ C1 ตามสูตร
    T = 1.1 x R1 x C1

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

      - วงจร 555 โมโนสเตเบิ้ล

    ไบสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (BISTABLE MULTIVIBRATOR – FILP-FLOP)
         ถ้าวงจร อเตเบิ้ล คือวงจรที่ผลิตสัญญาณขาออกตลอดเวลาไม่มีสถานะที่นิ่ง และวงจรโมโนสเตเบิ้ลมีแค่สัญญาณลูกเดียว และสถานะนิ่งที่ Low แล้วอะไรคือวงจรไบสเตเบิ้ล? วงจรไบสเตเบิ้ลคือวงจรที่สามารถมีสถานะนิ่งได้สองสถานะไม่ว่าจะเป็นฝั่ง High หรือฝั่ง Low
    555 ไบสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ สามารถที่จะเปลี่ยนสถานะจาก High ไปเป็นสถานะ Low ได้และจะยังคงอยู่ที่สถานะนั้นตลอดจนกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่เข้ามาทริก ซึ่งเรารู้จักวงจรนี้ดีกันในชื่อฟลิปฟล็อป (Flip-Flop) ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องคำนวณหาค่าตัวต้านทานให้ยุ่งยาก เพราะค่าเวลาของพัลส์ที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกควบคุมโดยทริกเกอร์สวิตซ์
    เพราะว่าวงจรจะคงสถานะไม่ค่า Low ก็ค่า HIgh จนกระทั่งมีการทริก ซึ่งฟลิปฟล็อปสามารถที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลบิท (บิท คือสถานะ 0 หรือ 1 ซึ่งก็คือสถานะแรงดัน Low หรือ High)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

       - วงจร 555 ไบสเตเบิ้ล

      ขอบคุณสำหรัง แหล่งที่มาของข้อมูล
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กันยายน 2563, 14:31:57 โดย Auto Man »
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    อีกครั้งกับไอซี 5 5 5
    « เมื่อ: 24 กันยายน 2563, 11:24:11 »