หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ => ห้องไฟฟ้ารถยนต์ => เครื่องล่าง/ส่งกำลัง/ไฟฟ้ายานยนต์ => ระบบหัวเผา => ข้อความที่เริ่มโดย: Auto Man ที่ 18 ธันวาคม 2558, 07:30:49

หัวข้อ: ระบบหัวเผา สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นก่อนที่จะเป็นคอมมอนเรล
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 18 ธันวาคม 2558, 07:30:49
สำหรับความเป็นมาของหัวเผา เป็นอะไรที่มีประวัติยาวนาน เอาไว้ว่างๆ
จะได้ร่ายยาว ถึงประวัติความเป็นมาให้ได้รับทราบกัน

   แต่ว่าวันนี้ จะมาคุยกันในเรื่องการตรวจเช็คการทำงานของหัวเผา
ประมาณว่ารถมาสด้า ไฟต์เตอร์ 4 ประตู มีปัญหาทุกปีไม่จบเลย
เกิดจากอะไรหนอ... ไปดูกัน
หัวข้อ: ระบบหัวเผา สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นก่อนที่จะเป็นคอมมอนเรล
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 18 ธันวาคม 2558, 07:32:56
มาดูวงจรหัวเผากันก่อน


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
 (http://upic.me/show/57463372)
หัวข้อ: ระบบหัวเผา สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นก่อนที่จะเป็นคอมมอนเรล
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 18 ธันวาคม 2558, 11:37:45
ปิดงานนี้ลงไปแล้ว  เป้าหมายในการซ่อมครั้งนี้มี 3 เรื่อง
1. ตอนเช้าหน้าหนาวสตาร์ทติดยาก ต้องเผาหัวกัน 2 รอบ
2. คลัทช์สูงเกินไป ทำให้ออกรถลำบาก
3. น้ำมันเฟืองท้าย รู้สึกจะรั่วซึม

เอาประเด็นแรกก่อน  เรื่องสตาร์ทติดยากของรถมาสด้า ไฟเตอร์ 4W ABS 4 ประตูคันนี้
ไปตรวจเช็คดูได้ความว่า  ที่อุณหภูมิอากาศประมาณ 18-22 องศาเซลเซียส จะสตาร์ทยาว
สองครั้งถึงติดแม้จะเผาหัวแล้วก็ตาม  แต่ถ้าเผาหัวสักสองครั้ง ก่อนทำการสตาร์ทละก็ซึ่งเดียวติดเลย
แสดงว่าเป็นที่ระยะเวลาในการเผาหัวมันน้อยเกินไป  จะต้องมีการปรับแต่ง แต่การปรับแต่งตามวงจรในภาพด้านบน
จะมีเซนเซอร์ความร้อนของเครื่องยนต์เป็นตัวส่งสัญญาณระยะเวลาการเผาหัวตามอุณหภูมิของเครื่องยนต์
ถ้าเครื่องเย็น จะใช้เวลาเผาหัวนานขึ้น  ถ้าเครื่องร้อนพอสมควรก็เผาน้อยลง ถ้าร้อนอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเผาหัว
หัวข้อ: ระบบหัวเผา สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นก่อนที่จะเป็นคอมมอนเรล
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 22 ธันวาคม 2558, 07:45:00
มาดูการต่อวงจร และการทำงานของกล่องควบคุมหัวเผากัน
น้องๆ เขาทำไว้ ลองมาดูกันครับ

หัวข้อ: ระบบหัวเผา สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นก่อนที่จะเป็นคอมมอนเรล
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 22 ธันวาคม 2558, 16:11:50
กล่องในท้องตลาดจะเป็นแบบปรับระยะเวลาเผาหัวแบบตายตัว ไม่แปรผันตามอุณหภูมิเครื่องยนต์
ถ้าเป็นหน้าร้อน...ก็ควรจะเผาให้น้อยลง
ถ้าเป็นหน้าหนาว ละก็ ประมาณ 8 วิ...ยืนพื้น

ถ้าเป็นรถคอมมอนเรล เผากันยาวเลย ติดเครื่องได้แล้ว หัวเผายังคงเผาทำงานต่อไป
อีกระยะหนึ่ง เดี๋ยวจะถ่ายคลิ๊ปมาลงให้ดู  เป็นเครื่อง 2KD-FTV ของโตโยต้า