หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ > เครื่องมือชั้นสูง

เครื่องทดสอบคอล์ยจุดระเบิดและทดสอบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

(1/4) > >>

Auto Man:
   ไปอบรม วท.ราชบุรี เลยตัดสินใจซื้อเจ้าเครื่องที่ว่าในราคา 1,600 บาท ไม่เอาตัวเช็คระยะประกายไฟ
เพราะมีแล้ว

   มาทดสอบให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนลองใช้งาน เผลอแป๊บเดียว เครื่องพังแล้ว 5 5 5
เท่าที่สังเกตุ นักเรียนเล่นจะลองวัดไฟแรงสูงว่า มันจะสามารถทำประกายไฟได้ระยะไกลสุดเท่าไหร่
โถๆ .. เล่นกันแบบนี้ก็พังลูกเดียว ซิครับ เล่นเอามัน เอาสะใจอย่างเดียว

   เช็คดูปรากฎว่า ฟิวส์ขาดไป 1 แล้วตามด้วยเฟ็ต IRF540N กลับจีนไปอีก 1

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


คุณต้องมีสิ่งต่อไปนี้เพื่อดูเนื้อหาโพสต์นี้:
* คุณต้องเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต่อไปนี้: VIP ปีที่ 3, VIP ปีที่ 1, VIP ปีที่ 2, Super VIP, ศิษย์เก่า วท.นพ, สมาชิก VIP, สมาชิกกิตติมศักดิ์, VIP ปีที่ 5, VIP ปีที่ 4, VIP ปีที่ 6, VIP ปีที่ 7, VIP ปีที่ 8, VIP ปีที่ 9, VIP ปีที่10.

   ใครอยากจะมีไว้ใช้เอง เมื่อเห็นวงจรแล้วก็ไม่ว่ากัน แต่ขอแนะนำอุดหนุนอาจารย์เขาดีกว่า จะได้บุญนำกัน
หมายเหตุ
- VR ค่า 1 เมกกะโอห์มแบบ B
- C แบบ SMD ถอดออกมาวัดค่าได้ 220 nF
- R ที่ออกจากไอซีขา 3 แก้ไขเป็นค่า 2.2 K
- สามารถเปลี่ยนเบอร์มอสเฟต ให้ทนกระแสสูงกว่านี้ได้ จะได้ทนๆ
VR Variable Resistor
1K, 5K, 10K, 20K, 50K, 100K, 250K, 500K

แหล่งซื้อ VR ค่า 1 เมกกะโอห์ม

   VR แต่ละแบบให้ค่า คตท. ต่อการหมุนออกมาอย่างไร ดูกันครับ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
  ส่วนนี้เอาไว้แสดงภาพภายในเครื่อง นะครับ (ภาพยังไม่ได้โหลดจากกล้อง)

- ส่วนประกอบภายในของเครื่องทดสอบคอล์ยและหัวฉีด

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

(คลิ๊กที่ภาพอีกที หากต้องดูภาพใหญ่)

 - ภาพการต่อใช้งาน ทดสอบคอล์ยแบบไดเร็กคอล์ย ของรถ Honda Dimention

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


 - ภาพ ขั้วต่างๆ ของคอล์ยแบบไดเร็กค่ายฮอนด้า

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
  หลังจากเปลี่ยนเฟต เบอร์ IRF540N และฟิวส์แล้ว
- การทดสอบคอล์ยเดี่ยว (Single Coil) ทำได้ดี สามารถควบคุมความถี่ (ความเร็ว-ช้า) ในการสปาร์คได้

- การทดสอบหัวฉีด (Injector) ทำได้ค่อยข้างแย่ คือได้ยินแต่เสียงหัวฉีดยกเบาๆ น้ำมันไม่ฉีดออกมา เหมือน
ไม่มีพลังในการยก  ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร  ทั้งๆ ที่ทดสอบกับคอล์ยก็ทำได้ดี หรือว่าเป็นที่คลื่นความถี่ที่ออกมา

   อยากจะทดสอบให้เด็กดู หรือว่านำไปใช้ในการป้อนแรงดันไฟฟ้า ตอนล้างหัวฉีด

   จากการศึกษาเรื่องนี้ เลยไปค้นคว้า พอได้ความรู้มาแบ่งปันบ้าง
- สร้าง Function generator ใช้เองง่าย ๆ ด้วยงบไม่ถึง 500 บาท

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   ถ้าจะให้เดาว่าทำไมเวลาทดสอบหัวฉีดไม่ได้ผล น่าจะคลื่นที่ป้อนไป ไม่ใช่คลื่นสีเหลี่ยม เช่น อาจจะเป็นสามเหลี่ยม
หรือซายน์เวฟ ทำให้ระยะยกของหัวฉีดไม่เพียงพอ แนะนำควรลองป้อนด้วยคลื่นสี่เหลี่ยม ลองดูนะ

  หมายเหตุ  เมื่ออ่านกระทู้ด้านล่างแล้ว คลื่นเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ทำไมหัวฉีดยกได้ไม่เต็มที่ หรือว่าต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาแทนเฟต
น่าจะเป็นไปได้สูงงานนี้

Auto Man:
  ลองดูหลักการทำงานพื้นฐานของไอซีเบอร์ 5 5 5 กัน

ASTABLE MULTIVIBRATOR (OSCILLATOR)
ไอซี 555 สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นอสเตเบิ้ล มัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) ซึ่งเหมือนกับเครื่องให้จังหวะ โดยการต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับชิป ตามรูป โดยไอซี 555 จะสร้างสัญญาณพัลส์อย่างต่อเนื่องซึ่งจะสลับกันไประหว่างแรงดันต่ำ (0 โวลท์) กันแรงดันสูง (เท่ากับแหล่งจ่ายแรงดัน, Vs) การนำไอซี 555 ไปใช้งานเป็นวงจรอสเตเบิ้ล สามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างเช่น
ไฟกระพริบ: สัญญาณพัลส์ที่ความถี่ต่ำๆ (<10 Hz) สามารถที่จะเปิด/ปิด LED ได้
เครื่องให้จังหวะอิเล็กทรอนิกส์:  สัญญาณพัลส์ที่ความถี่ต่ำ (<20 Hz) จ่ายให้กับลำโพงหรือ Piezoelectric สามารถที่จะทำให้เกิดเสียงเป็นจังหวะได้
เสียงเตือนภัย: โดยการตั้งค่าความถี่ไว้ที่ระดับเสียงที่มนุษย์ได้ยินคือ 20 Hz – 20 kHz แล้วต่อเข้ากับลำโพงเพื่อให้มีเสียงดัง
ความถึ่ (F, หน่วยเฮิร์ต) คือจำนวนการขึ้นลงของรูปคลื่นภายในหนึ่งวินาที โดยรูปคลื่นสี่เหลี่ยมสามารถกำหนดได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อภายนอก สามตัว ตามสมการดังนี้
F = 1.4 / [(R1+2R2)xC1]
ถ้าคุณต้องการหาค่าช่วงเวลาที่รูปคลื่นใช้เวลาจากจุดสูงสุดไปสู่จุดต่ำสุดสามารถหาได้จาก T = 1/F โดยจะได้หน่วยเป็นวินาที
ดังนั้นถ้านำไปแทนในสูตรของไอซี 555 แล้วจะได้
T = 0.7 x (R1+2R2) x C1

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


คุณสามารถที่จะปรับแต่งวงจรได้เพื่อปรับความกว้างในช่วงแรงดันสูงของพัลส์แตกต่างจากช่วงแรงดันต่ำของพัลส์ สามารถหาค่าได้จากสูตร
Thigh = 0.7 x (R1 + R2) x C1
Tlow = 0.7 x R2 x C1
ถ้า R2 มีค่ามากกว่าค่า R1 มากๆๆ ความกว้างของสัญญาณพัลส์ทั้่งฝั่ง High และฝั่ง Low จะมีความกว้างเกือบเท่ากัน ถ้า R2 = R1 สัดส่วนความกว้างของฝั่ง High จะเป็นสองเท่าของผั่ง Low
คุณสามารถที่จะใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน R1 หรือ R2 และปรับค่าของตัวต้านทานเพื่อเปลี่ยนความกว้างของพัลส์

  แหล่งที่มา...

เพิ่มเติมอีกที่...

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
 - น้องคนนี้ แนะนำผ่านคลิ๊ปนี้ได้ดีมากๆ เลย

 ((  ((  (( 

 เข้าใจมอสเฟตขึ้นอีกเยอะเลย โดยเฉพาะดาต้าชีตครับ

สอนวิธีการใช้มอสเฟต ขับโหลด อย่างง่ายๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ดูเหมือนว่าคุณยังไม่ได้ลงทะเบียนสมาชิก ต้องการสมัครคลิ๊กที่นี่...
Go to full version