หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ > รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (Big Bike)

มาอับเดตเพิ่มเติมกันสำหรับรถ จยย.บิ๊กไบค์ การปรับความตึงสายพานขับเคลื่อนล้อหลัง

(1/2) > >>

Auto Man:
     ในรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ จะแบ่งการส่งกำลังไปยังล้อที่อยู่ด้านหลัง ด้วยการใช้โช่เป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็
ใช้เพลาเป็นตัวส่งกำลัง  แต่ก็มีรถจักรยานยนต์แบบสายพานออโตเมติกขนาดใหญ่ อย่าง TMAX530
จะแบ่งเป็นชุดสายพาน 2 เส้น ส่วนแรกจะเป็นชุดตุ้มแรงเหวี่ยง ส่วนเส้นที่ 2 จะเป็นสายพานส่งกำลังไปยังล้อหลัง
ซึ่งจะมีระยะคงที่ ไม่ได้ปรับขนาดเล็กใหญ่ ขึ้นลงเหมือนชุดแรก

    แต่เดิมการปรับตั้งความตึง(หย่อน)สายพาน ที่เราใช้ประจำคือใช้วิธีการกดตรงกึ่งกลางของสายพาน อันนั้นเป็น
วิธีแบบบ้านๆ ค่าความตึงอาจผิดเพี้ยนไม่ได้ตามค่ามาตรฐาน อาจส่งเสียต่อตัวสายพานเอง

   สำหรับสายพานที่ทำจากวัสดุทั่วๆ ไปอาจใช้เครื่องมือพิเศษดังภาพด้านล่าง มาเป็นตัววัดความตึงของสายพาน

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   เหล็กพาดตามแนวนอนอย่างที่เห็น ใช้เป็นตัวเช็ตค่าระยะความตึงที่ต้องการ ในภาพคือที่ระยะ 14 มิลลิเมตร

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


       แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ T-Max ซึ่งสายพานมีส่วนผสมของคาร์บอน การปรับความตึงสายพานจะใช้เครื่องมือ
พิเศษอีกตัวหนึ่ง โดยใช้วิธีการวัดความถี่เสียง ที่เกิดการการเคาะลงไปที่ตัวสายพานนะครับ ว่ามีค่าความถี่เสียงอยู่ในย่าน
ที่ต้องการหรือไม่

     เครื่องมือแสดงในภาพ ยี่ห้อ TEXA เท็กซ่า ราคาโดยประมาณอยู่ที่สองหมื่น อาจจะกว่าๆ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
   ในรถจักรยานยนต์ T-Max กำหนดให้มีการปรับตั้งความตึงสายพานทุกระยะ 6,000 กิโลเมตร

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   วิธีการวัด
 - เริ่มจากแบ่งสายพานออกเป็น 3 ระยะ(ช่วง) เท่าๆ กัน โดยมาร์คเป็นเลข 1  2  3
 - ทำการวัดโดยใช้เครื่อง TEXA โดยกดแช่ไว้จนหน้าจอติดขึ้นมา
 - หมุนให้หมายเลขบนสายพานที่ทำมาร์คไว้ อยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่างสเตอร์หน้า-หลัง
 - จากนั้นกดปุ่มที่เครื่อง TEXA อีกครั้งจะเห็นว่ามีไฟเหมือนไฟฉายติดขึ้นมา หมายถึงพร้อมที่จะทำการวัดแล้ว
 - นำเครื่องมือ TEXA ไปถือไว้ให้สูงกว่าที่จุดประมาณ 10 มิลลิเมตร โดยหันด้านหน้าไมค์รับเสียงไปทางด้านสายพาน
 - ใช้ประแจหกเหลี่ยม 8 มม. เคาะไปบนสายพาน ห่างจากเครื่อง TEXA ประมาณ 10-30 มม.
 - เมื่อไฟกระพริบแสดงว่า ไมค์รับเสียงความถี่ของสายพานได้แล้ว ให้หันหน้าเครื่องมือขึ้นมา แล้วบันทึกค่าไว้ เราจะวัดที่จุดนี้
   3 ครั้งด้วยกัน แล้วนำค่าทั้ง 3 มาเฉลี่ยกันเป็นค่าเดียว
 - ทำแบบนี้กับอีก 2 จุดที่เหลือ แล้วนำค่าทั้ง 3 จุดมาเฉลี่ยเป็นค่าสุดท้ายอีกทีหนึ่ง

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
   ค่ามาตรฐานของรถจักรยานยนต์ T-Max อยู่ที่ 85 - 103 เฮิร์ท
แต่ว่าบางครั้งอาจจะตึงเกินไป เลยหย่อนลงมาหน่อยอยู่ที่ 74 - 94 Hz

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

Auto Man:
    ก็จบกันไปแล้วสำหรับการปรับความตึงสายพานโดยใช้เครื่องมือวัดครับ ติดตามกันไปเรื่อยๆ นะครับ
่ค่อยๆ ทะยอยลงไปให้อ่านกัน เพราะมีภาระกิจสอนประจำอยู่ ไม่ได้ปิดภาคเรียน ส่วนเอกสารเมื่อนำเสนอ
หมดแล้ว ก็จะสแกนเป็นไฟล์ให้ครับ สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกวีไอพีสนับสนุนเว็บเรา เราก็ตอบแทนท่านคืนครับ

   สุดท้ายขอขอบคุณทีมงาน บริษัท ไทยยามาฮ่า จำกัด และทางสมาคมครูช่างยนต์และผู้ประกอบการวิชาชีพช่างยนต์
ภาคอีสาน ที่ได้เสียสละดำเนินการจัดการฝึกอบรมในครั้งนี้ครับ

 -OOO-

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ดูเหมือนว่าคุณยังไม่ได้ลงทะเบียนสมาชิก ต้องการสมัครคลิ๊กที่นี่...
Go to full version