ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของ ความดันอากาศ และหน่วย  (อ่าน 3156 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
เรื่องของ ความดันอากาศ และหน่วย
« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 07:58:21 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • เริ่มต้นกันที่หลักการของ “ความดัน” ก่อนนะครับ
    “ความดัน คือ แรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่”
    เช่น ถ้าวางวัตถุหนัก 1 kg ลงบนพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร
    จะเกิดแรงดันที่พื้นที่นั้นเท่ากับ 1 kg/cm2 (พิมพ์ยกกำลังไม่ได้ ขออภัย)

    ทีนี้ ถ้าหากเราต้องการวัดความดันของอากาศ เราก็ต้องกำหนดจุดอ้างอิงขึ้นมา
    ซึ่งในอดีตนั้น ใช้ที่ “ระดับน้ำทะเล” เป็นจุดอ้างอิง และกำหนดให้ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเล มีค่าเท่ากับ “1 บรรยากาศ (atmosphere - atm)” หรือเรียกอีกอย่างว่า “1 bar”
    (จริงๆ แล้ว 1 atm จะเท่ากับ 1.01 bar)
    ซึ่งจะเท่ากับน้ำหนักของอากาศทั้งหมด ตั้งแต่ผิวน้ำทะเล จนสุดบรรยากาศโลก ที่กดลงบนพื้นที่ที่พิจารณา

    แล้วจะวัดอย่างไร ในอดีต (อีกนั่นแหละ) ทำการวัดโดยใช้ปรอทเหลว (สูตรเคมี Hg) ใส่ลงในหลอดแก้วยาวๆ.. รูปร่างเหมือนหลอดทดลอง
    แล้วคว่ำลงในอ่างที่มีปรอทบรรจุอยู่ (ตั้งอ่างไว้ที่ระดับน้ำทะเล)
    ผลที่ได้คือ ระดับปรอทที่เป็นแท่งสูงอยู่ในหลอดแก้วนั้น จะสูง 760 มิลลิเมตร (760 mm.) วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง
    ไม่ว่าจะเพิ่มความยาวของหลอดแก้วให้มากกว่านั้นเท่าไรก็ตาม
    เนื่องจากแรงดันของอากาศที่กดลงบนผิวหน้าปรอทในอ่าง สามารถพยุงน้ำหนักของปรอทให้เป็นแท่งสูงได้เท่านั้น
    เพราะฉะนั้น ความดันที่ 1 บรรยากาศ จึงมีแรงดันเท่ากับ 760 mmHg หรือ 29.92 inHg (in = inch = นิ้ว)
    ถ้าหากเปลี่ยนจากปรอท เป็น น้ำ จะได้แท่งน้ำสูง 10.33 เมตร
    ซึ่งจะเรียกเป็นหน่วย mH2O (พิมพ์ตัวห้อยไม่ได้) หรือคิดเป็นความดัน 10.33 mH2O

    จากการนำน้ำหนักของปรอท (หรือน้ำ) มาคำนวณ จะได้ว่า ความดันที่เกิดขึ้นที่ 1 บรรยากาศ
    เท่ากับ 14.7 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว (14.7 psi)
    (หากใช้หลอดแก้ว พื้นที่หน้าตัด 1 ตารางนิ้ว น้ำหนักของปรอทที่อยู่ในหลอดแก้ว วัดจากระดับผิวหน้าของปรอทในอ่าง จะเท่ากับ 14.7 ปอนด์)
    หรือ 1.03 kg/cm2

    หน่วย Pa เป็นตัวย่อของหน่วย Pascal ซึ่งมีค่าเท่ากับ แรง 1 Newton กระทำลงบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร
    (หรือ 1 N/m2)
    ความดันบรรยากาศ 1 atm มีค่าเท่ากับ 101.3 kPa (kilo Pascal = 1000 Pascal)
    ส่วนหน่วย hPa คือหน่วย hecto Pascal โดยที่ hecto เป็น prefix ที่หมายถึง 100 ครับ
    (หน่วยนี้ใช้ในวงการอุตุนิยมวิทยา ไม่ค่อยเห็นใช้ในวงการอื่น)
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    เรื่องของ ความดันอากาศ และหน่วย
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 08:00:06 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • มาจากที่นี่...http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=739
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    เรื่องของ ความดันอากาศ และหน่วย
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2558, 08:00:06 »