หมวดไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์ => ห้องอิเล็กทรอนิกส์ => ซ่อมสวิทชิ่ง => ข้อความที่เริ่มโดย: Robert ที่ 27 สิงหาคม 2559, 08:57:31

หัวข้อ: หลักการทำงานของสวิทชิ่ง
เริ่มหัวข้อโดย: Robert ที่ 27 สิงหาคม 2559, 08:57:31
    เริ่มด้วยหลักการทำงานของสวิทชิ่งครับ 

ผมชอบพูดแบบชาวบ้านเพราะเข้าใจง่ายดี ช่างมาอ่านก็ไปแปลเป็นภาษาช่างเอาเองนะครับ

1.เริ่มจากไฟ AC 220โวลท์ ที่เป็นรูปคลื่นขึ้นลงและมีเสี้ยนหนามเล็กน้อยจากการรบกวนของอุปกรณ์ใกล้เคียง

2.ผ่านวงจรกรองความถี่เพื่อตัดเสี้ยนทิ้ง กรองดีหน่อยก็มีขดลวด passive กรองดีเลยก็วงจร Active

3.แปลงเป็นไฟตรงขนาด 311 โวลท์(passive)และ380โวลท์+- สำหรับ Active ใช้ตัวเก็บประจุ(C)(ช่วยสำหรับการรักษาแรงดันให้คงที่

4.วงจรกำเนิดความถี่(IC)สั่งให้ใบมีดไฟฟ้า(เฟต/ทรานซิสเตอร์)สับไฟตรงเป็นท่อนๆ

5.ไฟที่ขาดเป็นท่อนๆวิ่งผ่านขดลวดเหนี่ยวนำบนแกนเฟอร์ไรต์(หม้อแปลงตัวใหญ่สุด)

6.แกนเฟอร์ไรต์ซับเอาและปลดปล่อยสนามแม่เหล็กออกมาทางขดลวดไฟออกอีกด้านในจังหวะที่สลับกัน(ยุบหนอ-พองหนอ)

7.ไฟไหลออกเป็นท่อนๆที่ด้านไฟออก

8.ไดโอดเรกติไฟร์เรียงไฟให้มาเฉพาะด้าน +

9.ผ่านวงจรกรองกระแสและจ่ายออก

10.จบกระบวนการ

มาจากที่นี่...  (http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/2386263-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B0(%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99))
หัวข้อ: หลักการทำงานของสวิทชิ่ง
เริ่มหัวข้อโดย: Robert ที่ 27 สิงหาคม 2559, 09:04:48
   หลักการ Switching Power Supply (ทฤษฏี+ปฏิบัติ)