ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบวิเคราะห์ปัญหาด้วยตัวเอง ของเครื่องโตโยต้า ลองมาดูกันไม่ยากอย่างที่คิด  (อ่าน 25029 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
     ความจริงแล้วระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ควบคุมด้วยกล่องอีซียู ไม่ยากอย่างที่คิดเลย
เพราะอะไรถึงว่าไม่ยาก เพราะในระบบ EFI ได้ออกแบบให้มีการตรวจเช็คข้อผิดพลาดของตัวมันเอง
ถ้าผิดปกติ จะแจ้งให้ผู้ใช้หรือช่างได้ทราบทันที

      ผ่านหลอด   ไฟเตือน  ที่เป็นรูปเครื่องยนต์ที่หน้าปัทม์ (ไฟเช็คเอนจิ้น - Check Engine Lamp)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


          ตำแหน่งไฟเช็คเอนจิ้น อ้างอิงจากรถโตโยต้าโคโรลล่า/โซลูน่า ตัวถัง/บอดี้ AL50
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ธันวาคม 2563, 07:15:46 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
     โดยหลอดไฟดวงนี้ จะมีการทำงานคร่าวๆ ดังนี้
   ถ้าหลอดไฟดวงนี้ไม่ติดเลย ในขณะที่เราใช้รถอยู่ นั่นจะหมายถึง ระบบควบคุมเครื่องยนต์ (EFI) ของรถคันนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

แต่...  เราอย่าลืมว่าเจ้าหลอดไฟ ไม่ว่าหลอดอะไรก็แล้วแต่มันมีอายุขัยของมันอยู่ มันขาดหรือไม่ติดสว่างได้
ถ้าหลอดไฟดวงนี้เกิดขาดขึ้นมาหรือวงจรของมันไม่ว่าส่วนใดเกิดขาด/หลุด/หลวม ก็จะทำให้ไฟดวงนี้ไม่ติดอีกเลย
ถึงแม้ระบบเราจะมีปัญหา (ที่จริงหลอดไฟจะติดสว่างทันที) หลอดไฟก็จะไม่ติด (เพราะหลอดขาด)

หมายเหตุ
( <- คลิ๊กเพื่อแสดง/ซ่อนเนื้อหา)

   ด้วยเหตุนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดก็ตาม เช่น โตโยต้าหรือ ฮอนด้า ก็จะมีวงจรหรือ
โปรแกรมการเช็คหลอดไฟเช็คเอนจิ้น(Check Engine Warning Lamp) ว่าติดได้ปกติหรือไม่
โดยจะเริ่มตั้งแต่เปิดสวิทช์กุญแจ     

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


โดยเมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ ในรถยนต์ของค่าย
- โตโยต้า จะสั่งให้หลอดไฟดวงนี้ติดตลอด จะดับก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ติดทำงานแล้ว  3 วินาที ถ้าไม่มีเซนเซอร์ในระบบ
   บกพร่อง หลอดไฟจะดับลง  แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในระบบควบคุมเครื่องยนต์ ไฟดวงนี้จะติดค้าง ไม่ยอมดับ

- ฮอนด้า ค่ายนี้มาไม่เหมือนโตโยต้า พอเปิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง ON หลอดไฟเช็คเอนจิ้น จะติดและจะดับลงภายใน
  2 วินาที หลังจากนั้นถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ หลอดไฟดวงนี้จะดับตลอด นั่นก็หมายความว่า อย่างแรกคือหลอดไฟดวงนี้ไม่ขาด
  ติดได้อยู่ อย่างที่สอง คือไม่มีสิ่งผิดปกติในระบบควบคุมเครื่องยนต์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


แต่หากเครื่องยนต์ทำงานไปแล้ว แต่หลอดไฟดวงนี้ยังติดอยู่ แสดงว่ามีความผิดปกติขึ้นในระบบควบคุมเครื่องยนต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เมษายน 2564, 11:29:32 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
มาดูวงจรกันสักหน่อยจะได้เข้าใจดียิ่งขึ้น



จากวงจรไฟด้านบน ไฟเช็คเอนจิ้น จะได้ไฟเลี้ยงมาจากขั้ว IG1 (ตำแหน่งสวิทช์ ON) เป็นไฟ 12 โวลท์
ผ่านฟิวส์ 15A จ่ายเข้าหลอดไฟเช็คเอนจิ้น พอผ่านหลอดออกจะไปเข้าที่กล่องอีซียู ในตำแหน่งขา W
(วงจรของรถโตโยต้า รุ่น โคโรลล่าหรือรุ่น โซลูน่า กล่องจะเป็นคนสั่งให้ขา W นี้ลงกราวด์เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ
เพื่อเป็นการเช็ควงจรของหลอดไฟเช็คเอนจิ้น



ลักษณะของกล่อง ECU ของรถโตโยต้า โซลูน่า

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ลักษณะของปลั๊กท้าย ECU จะมี 3 ปลั๊ก จากซ้าย 26P-16P-12P (ปลั๊กซ้าย=26 ขา ปลั๊กกลาง=16 ขา ปลั๊กขวา=12ขา/พิน(P=Pin))

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2561, 20:23:49 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai


ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
เอ้า... มาเป็นนักเรียนช่างยนต์กันหน่อย จากวงจรด้านบนในเบื้องต้นท่านต้องเข้าใจถึงสัญญลักษณ์ต่างๆ ก่อน
ซึ่งคิดว่าไม่เกินความสามารถอย่างพวกท่านอยู่แล้ว

    เริ่มไล่วงจร จากทางซ้ายมือสุด จะเป็นแบตเตอรี่ ขั้วลบต่อลงกราวด์ ส่วนขั้วบวก ไฟไหลผ่านฟิวส์เมนตัวแรก
จากนั้นจะแยกออกเป็น 3 ทาง
- ทางที่ 1 ผ่านฟิวส์จำนวน 2 ตัวแล้วเข้าสวิทช์กุญแจที่ขั้; AM1
- ทางที่ 2 ผ่านฟิวส์ แล้วเข้าสวิทช์กุญแจที่ขั้ว AM2
- ทางที่ 3 ผ่านฟิวส์ EFI 15A แล้วเข้าเลี้ยงหน่วยความจำของกล่อง ECU (Engine Control Unit=กล่องคอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องยนต์)
   ในตำแหน่งขั้ว Batt ของอีซียู นอกจากนี้ยังแยกไปรอที่หน้าคอนแทคของรีเลย์หลัก EFI

   เอาแค่นี้ก่อน ดังนั้นจะเห็นว่ากล่องอีซียู จะมีไฟมาเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาถึงแม้ว่าท่านจะปิดสวิทช์กุญแจแล้วก็ตาม ไฟที่มาเลี้ยงกล่องส่วนนี้จะเอาไว้เลี้ยงหน่วยความจำ ที่คอยจดจำข้อบกพร่องของตัวเซนเซอร์ต่างๆ และจะแจ้งให้เราทราบผ่านทางหลอดไฟเช็คเอนจิ้นประเด็นก็มีอยู่ว่า เมื่อมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นในระบบ และท่านได้แก้ไขส่วนที่บกพร่องเรียบร้อยแล้ว ถามว่าแล้วหลอดไฟเอนจิ้นจะดับสนิท ไม่โชว์
หราขึ้นมาอีกใช่มั๊ย 
    คำตอบคือ ยังคงติดสว่างอยู่อย่างนั้น ถึงแม้จะได้แก้ไขปัญหาแล้ว เพราะในหน่วยความจำยังคงจดจำปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตไว้อยู่
แล้วเราจะทำอย่างไร จึงจะลบหรือเคลียร์ปัญหานี้ออกไป
    คงจะเคยได้ยินว่า การลบรหัสปัญหาสามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย โดยการถอดขั้วแบตเตอรี่ออก จะทำให้ไม่มีไฟ
ไปเลี้ยงหน่วยความจำของกล่องอีซียู ทำให้ข้อมูลที่เคยจดจำไว้สูญหาย
นึ่ก็เป็นการลบหรือล้างข้อมูลออกจากหน่วยความจำของกล่องอีซียู แต่การทำอย่างนั้นมีผลข้างเคียงกับระบบอื่นที่ใช้ไฟจากแบตฯ มาเลี้ยงระบบเช่นกัน ถ้าจะยกตัวอย่าง เช่น วิทยุติดรถยนต์ บางครั้งทำให้สถานีวิทยุที่เคยโปรแกรมไว้สูญหายไปหมดเลย ต้องมานั่งโปรแกรมคลื่นวิทยุกันใหม่

หมายเหตุ เพิ่มเติมวงจรแบบเต็มๆ กัน



ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤษภาคม 2559, 11:44:25 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
หรือทำให้การควบคุมกระจกไฟฟ้าของรถบางรุ่น ทำงานผิดพลาดไป ต้องมาแก้ไขหรือ
โปรแกรมเข้าไปใหม่  ไปดูได้ที่คลิ๊ปนี้ (ยังหาไม่เจอ อยู่ในเว็บเรานี่แหละ ขอข้ามไปก่อน ค่อยมาแก้ไขอีกที)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


เรามาดูวิธีลบข้อมูลในหน่วยความจำของกล่องอีซูยูกัน ในวงจรจะเห็นว่าไฟเลี้ยงกล่องผ่านฟิวส์ EFI 15A
ดังนั้นเราจะตัดไฟเลี้ยงกล่อง ก็เพียงถอดฟิวส์ EFI ตัวนี้ออกเป็นเวลาสัก 15 วินาที หรือใครจะปล่อยทิ้งไว้เป็น
นาทีก็ไม่ว่ากัน ถามว่าตำแหน่งของฟิวส์ตัวนี้อยู่ตรงไหน ตอบตรงเลยก็คืออยู่ในกล่องฟิวส์ เอิ๊ก ๆ ๆ
     อยู่ในกล่องฟิวส์ห้องเครื่องยนต์ เปิดฝากล่องฟิวส์ออก ใต้ฝา
จะมีแผนผังแสดงตำแหน่งต่างๆ ของอุปกรณ์ในกล่องฟิวส์ เห็นหรือยัง ฟิวส์ EFI 15A
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
เราคงจะเข้าใจการทำงานของหลอดไฟเช็คเอนจิ้นในโหมดการเช็คหลอดกันดีแล้ว ทีนี้เรา
จะมาดูถ้าเกิดหลอดไฟดวงนี้ติดสว่างขึ้นมา ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานแล้วไม่ยอมดับ ดับเครื่องแล้วสตาร์ท
กันใหม่ก็ขึ้นมาอีก  ในเบื้องต้นอาจจะทดลองล้างหน่วยความจำของอีซียูดู ถ้าทำแล้วไฟเช็คเอนจิ้นยังคงติด
อยู่ แบบนี้แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นในระบบ EFI ของเราแล้ว

       แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวตรวจจับตัวใดมีปัญหา งานนี้เราจะต้องมีการจั๊มขั้ว  เพื่อการอ่านโค๊ดกันแล้วล่ะ
ถ้าเป็นรถโตโยต้า รุ่นกลางกลางจนไปถึงรุ่นเก่า เราจะจั๊มขั้ว TE1 กับ E1 ที่กล่อง DIAGNOSIS ซึ่งกล่องนี้
จะอยู่ภายในห้องเครื่องยนต์บริเวณมุมโช๊คหน้าซ้าย

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   เมื่อเปิดฝาดูจเห็นว่าด้านในของฝา จะมีตารางบอกตำแหน่งของขั้วต่าง ๆ ชัดเจน

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ให้จั๊ม (หรือช๊อตขั้ว) ระหว่างขา TE1 กับ  E1

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


หรือจั๊มแบบนี้ ใช้สายไฟธรรมดานี่เอง ปอกหัวท้าย แล้วงอจั๊มไประหว่างขั้ว TE1 กับ  E1

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


สังเกตุดีๆ จะเห็นขั้ว W ในกล่อง Diagnosis ซึ่งหมายถึงเป็นขั้วสายที่มาจากกล่อง ECU เป็นขั้วเอาไว้
ต่อผ่านหลอดไฟ เข้าที่ +B (ขั้วนี้เป็นไฟ 12V ไฟจะมาเมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ) หลอดไฟดวงนี้จะทำงาน
เหมือนกับไฟเช็คเอนจิ้นที่หน้าปัด (เพราะเราพ่วงกัน)

   ท่านใดมีเวลาว่าง ลองค้นคว้าดูว่า ขั้วต่างๆ ที่ปรากฏในกล่องไดอะโนซิส (Diagnosis) มีขั้วอะไรบ้างมีขั้วใดที่ท่านยังไม่รู้ และขั้วนั้นต่อมาจากที่ใด และมีเอาไว้ทำไม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤศจิกายน 2558, 11:18:55 โดย ▒ Auto Man ▒ »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ในระหว่างที่จั๊มสาย ควรปิดสวิทช์กุญแจ OFF ก่อนจากนั้นพร้อมแล้ว ให้เปิดสวิทช์ ON

    ในอดีตรหัสปัญหาจะมีน้อย ก็เลยใช้เป็นรหัสเดี่ยว หมายถึง นับจำนวนครั้งที่ไฟเช็คเอนจิ้นกระพริบ ว่ากระพริบกี่ครั้ง
เช่นกระพริบนับแล้วได้ 7 ครั้ง เราเรียกว่า รหัส 7  ต่อมามีตัวตรวจจับเพิ่มขึ้นหรือระบบรถเริ่มซับซ้อนขึ้น ก็พัฒนาเพิ่มมา
มีรหัสคู่ ปัจจุบันรหัสปัญหา จะเป็นรหัสคู่ คือ ต้องใช้สัญญาณไฟกระพริบ 2 ชุดมารวมกัน จะได้เป็น 1 รหัส
เช่น กระพริบ 2 ครั้ง แล้วเว้นวรรคสักหน่อย แล้วกระพริบอีก 2 ครั้ง เมื่อนำมารวมกันจะได้เป็น รหัส 22
ซึ่งหมายถึงมีปัญหาที่ สัญญาณเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น ถ้าเริ่มกระพริบ 3 ครั้ง แล้วดับนานนิดหนึ่งแล้วกระพริบ
อีก 1 ครั้ง จะเป็นรหัส 31  ไปลองฝึกอ่านกันดู

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


การอ่านค่า ควรอ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดแล้วจะวนเริ่มต้นใหม่อีกเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ดังนั้นเมื่อเราอ่านค่าและจดรหัสไว้ จนจดได้ซ้ำรหัสเดิม แสดงว่ารหัสปัญหาอ่านได้ครบแล้ว
เราก็นำรหัสที่ได้ไปเทียบในตารางด้านล่างว่า เป็นปัญหาที่จุดใด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤษภาคม 2559, 11:45:18 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤษภาคม 2559, 11:45:34 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ขอบคุณสำหรับผู้ติดตามครับ ใครมีปัญหาอะไร
โพสต์มาเล่าขานกันได้นะครับ

   ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ในกล่องฟิวส์

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ตำแหน่งต่างๆ ภายในกล่องฟิวส์โตโยต้า โซลูน่า ให้สังเกตุตำแหน่งฟิวส์ EFI 15A

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


 :-X  เจ้าของภาพด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มกราคม 2560, 16:41:17 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 พฤษภาคม 2559, 11:48:05 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
   ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกเว็บ AutoNKP.esy.es นี่เป็นเว็บใหม่ของพวกเรา (แต่ก็เก่าอีกแหละ)
เว็บเดิมเคยอาศัยบ้าน Auto.ThaiMeBoard.com อยู่แต่ว่าเจ้าของเจ๊ง เอ๊ย..เลิกทำเซิฟเวอร์ไปแล้ว
ที่จริงบ้านหลังนั้นทั้งเร็วและเสถียรครับ เสียดายอยู่เหมือนกันที่คนทำเลิกไป

 :o

ปัจจุบันจดโดเมน และมาอยู่เซิฟเวอร์ใหม่ครับ www.auto-nkp.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มีนาคม 2560, 05:33:03 โดย Auto Man »
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ lip6mt

  • วีไอพีตลอดชีพ
  • Super VIP
  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • *
  • Joined: ต.ค. 2559
  • กระทู้: 398
  • สมาชิกลำดับที่ : 1347
    • อีเมล์

ออฟไลน์ Piphat kongnuam

  • Y 1 2 3 4 5 6 7 +14 15
  • วีไอพีตลอดชีพ
  • Super VIP
  • ช่างยนต์มือหนึ่ง
  • *
  • Joined: ก.ค. 2560
  • กระทู้: 245
  • สมาชิกลำดับที่ : 3817
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ

ออฟไลน์ lert

  • ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเว็บ
  • สมาชิกกิตติมศักดิ์
  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • *
  • Joined: ก.ย. 2560
  • กระทู้: 853
  • สมาชิกลำดับที่ : 4213
    • อีเมล์