ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย  (อ่าน 1385 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Robert

  • Lifelong Learning
  • Moderator
  • ช่างยนต์มือหนึ่ง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: พ.ย. 2558
  • กระทู้: 170
  • สมาชิกลำดับที่ : 58
  • เพศ: ชาย
  • หนึ่งงาน หนึ่งประสบการณ์
    • AUTO-NKP.COM
    • อีเมล์
วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย
« เมื่อ: 01 มิถุนายน 2561, 05:25:00 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • วงจรพัดลม เอามาจาก http://electronicsthailand.blogspot.com/2013/04/blog-post.html

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


       การทำงานของวงจร 

       1 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1 

           เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลน์ (L) ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L 1 เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 ไหลไปผ่านสวิทซ์ S1 (สวิทซ์เบอร์ 1 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน (N) ในจังหวะนี้เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มหยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน = Run ) ไหลผ่านผ่าน L3 และ  L2 ผ่านสวิทซ์ S1 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 1 ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้าที่สุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL L3 และ L2 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานมากที่สุด กระแสจึงไหลได้น้อย ความเร็วในการหมุนจึงน้อยลงไปด้วย )

       2 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 2 

            เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 2 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลน์ (L) ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L1 และ L2  เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 และ L2  ไหลไปผ่านสวิทซ์ S2 (สวิทซ์เบอร์ 2 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน(N) ในจังหวะนี้เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มหยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน ) ไหลผ่านผ่าน L3  ผ่านสวิทซ์ S2 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 2 ซึ่งเป็นความเร็วปานกลาง (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL และ L3 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยกว่า กระแสจึงไหลได้มากขึ้น ความเร็วในการหมุนจึงเพิ่มไปด้วย )

       3 เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 3 

            เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 3 จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลน์ (L) ผ่านฟิวส์ไหลเข้า แคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท L1  L2 และ L3 เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1  L2 และ L3  ไหลไปผ่านสวิทซ์ S3 (สวิทซ์เบอร์ 3 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน(N) ในจังหวะนี้เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มหยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน )   ผ่านสวิทซ์ S3 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 3 ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL เพียงอย่างเดียว ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยที่สุด กระแสจึงไหลได้มากขึ้น ความเร็วในการหมุนจึงมากที่สุด ) 


    ต่อไป เป็นหลักการซ่อม  ปิดเครื่อง ถอดปลั๊กก่อนนะครับ
    วัดที่ปลั๊กของพัดลม
    ( <- คลิ๊กเพื่อแสดง/ซ่อนเนื้อหา)


    ในเบื้องต้นค่าที่วัดได้จะต้องได้ประมาณนี้ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้น ให้เช็คอุปกรณ์ ดังนี้

    1.1 สวิทซ์กดเลือกความเร็วพัดลมว่าปกติหรือไม่

    1.2 สายไฟฟ้าว่าขาดหรือไม่

    1.3 ฟิวส์ หรือ เทอร์โมฟิวส์ว่าขาดหรือไม่ ( ต้องแกะมอเตอร์ออกมาดู )

    1.4 ขดลวด MAIN COIL ขาด ขดลวด L3 หรือ ขดลวด L2 ขาด


          ถ้าใช้มิเตอร์โอมห์มิเตอร์ วัดที่ปลั๊กของพัดลมแล้วได้ค่าตามข้อที่ 1 แต่มอเตอร์ไม่หมุน
    ให้ทดลองหมุนดูว่ามอเตอร์ฝืดหรือไม่ ถ้ามอเตอร์ฝืดให้ ทำความสะอาด เช็คแกนมอเตอร์ บู๊ช หรือลูกปืนต่างๆ

            ถ้ามอเตอร์ไม่ฝืด ให้ใช้มือหมุนใบพัดของพัดลม ถ้าหมุนแล้วพัดลมใช้ได้ ให้เปลี่ยน แคปสตาร์ท
    หรือเช็คสายไฟฟ้าในส่วนที่ต่ออยู่กับ แคปสตาร์ทว่าปกติหรือไม่


    ถ้าใช้มือหมุนดูแล้วมอเตอร์ไม่หมุน ให้เช็คดังต่อไปนี้

    1 เช็คขดลวด สตาร์ท โดยทำการถอด แคปสตาร์ทออก แล้ววัดโอมห์คร่อมขดลวดเส้นนั้น ค่าความต้านทานที่ได้จะต้องเป็นค่าความต้านทาน ของขดลวด L1 L2 L3 และ MAIN COIL ค่าความต้านทานจะต้องได้มากที่สุดประมาณ 900 - 1000 โอมห์ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้น แสดงว่าขดลวดชุดสตาร์ทขาด หรือสายที่ต่อกับขดลวดขาด ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ขดลวด L1 ขาด

    วิธีการตรวจเช็คขดลวด L1 ให้ใช้มิเตอร์ เส้นหนึ่งจับที่ฝั่งขาออกของ แคปสตาร์ท อีกเส้นหนึ่งจับที่ สวิทซ์ S1 ถ้าขดลวดปกติจะต้องมีค่าความต้านทานขึ้น ถ้าขดลวดขาดจะไม่มีค่าความต้านทาน


    วิธีการตรวจเช็ค ขดลวด MAIN COIL   

    1 การตรวจเช็คขดลวด MAIN COIL

    ให้ใช้โอมห์มิเตอร์ สายเส้นหนึ่งจับที่ แคปสตาร์ทฝั่งที่ติดกับฟิวส์ อีกเส้นจับที่ สวิทซ์ เบอร์ 3  ค่าความต้านทานต้องขึ้น ถ้าไม่ขึ้นแสดงว่าขดลวด MAIN COIL ขาด

    อ้อ อย่าลือมตรวจเช็คสายไฟที่ต่อกับเส้นลวดมอเตอร์ดูด้วยว่าไหม้หรือขาด หรือไม่


    ก็น่าจะประมานนี้

    แถมอีกหนึ่งวงจร

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


       มาจากกระทู้นี้  https://pantip.com/topic/33408587/comment3

     :-X
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2561, 05:48:50 โดย Auto Man »

    ออฟไลน์ Robert

    • Lifelong Learning
    • Moderator
    • ช่างยนต์มือหนึ่ง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: พ.ย. 2558
    • กระทู้: 170
    • สมาชิกลำดับที่ : 58
    • เพศ: ชาย
    • หนึ่งงาน หนึ่งประสบการณ์
      • AUTO-NKP.COM
      • อีเมล์
    วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2561, 05:28:56 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    - วงจรพัดลมโอกาว่า

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

    ออฟไลน์ Robert

    • Lifelong Learning
    • Moderator
    • ช่างยนต์มือหนึ่ง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: พ.ย. 2558
    • กระทู้: 170
    • สมาชิกลำดับที่ : 58
    • เพศ: ชาย
    • หนึ่งงาน หนึ่งประสบการณ์
      • AUTO-NKP.COM
      • อีเมล์

    วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2561, 14:23:32 »


    ออฟไลน์ Robert

    • Lifelong Learning
    • Moderator
    • ช่างยนต์มือหนึ่ง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: พ.ย. 2558
    • กระทู้: 170
    • สมาชิกลำดับที่ : 58
    • เพศ: ชาย
    • หนึ่งงาน หนึ่งประสบการณ์
      • AUTO-NKP.COM
      • อีเมล์
    วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย
    « ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2561, 14:27:24 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • กินไฟเท่าไหร่ ปีหนึ่งเปิดวันละกี่ชั่วโมงเนี่ย...

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    วงจรพัดลมเบื้องต้น อย่างง่าย
    « ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2561, 14:27:24 »