ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: มาเริ่มเรียนรู้ การทำงานของเครื่องยนต์หัวฉีดกัน สุดยอด...  (อ่าน 8066 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
     ถ้าเป็นช่างรุ่นเก่า ก็จะบอกว่าเครื่องยนต์หัวฉีดเขามีใช้กันมใตั้งนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์รถไถนาเดินตาม ยี่่ห้อคูโบต้า / ยันมาร์ หรือจะเป็นเครื่องยนต์รถปิกอับใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เขาจะใช้หัวฉีดแบบกลไก (ล้วนๆ) ในการพ่นน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยอาศัยแรงดันจากปั๊ม แต่สิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงกันต่อไปนี้ คือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน เป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้หัวฉีด (ไฟฟ้า) ฉีดพ่นเข้าปลายท่อร่วมไอดี โดยอาศัยแรงดันจากปั๊มส่งมารอที่หัวฉีด
    คงจะไม่อธิบายย้อนไปถึงหลักการทำงานของเครื่องยนต์หรอกนะ  เครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ปัจจุบันที่ผลิตออกขายในบ้านเราปัจจุบัน เป็นรถจักรยานยนต์หัวฉีดไฟฟ้า ควบคุมด้วยกล่องอิเล็กทรอนิกส์ กันหมดแล้ว และเครื่องยนต์ของรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นดีเซลหรือเบนซิน เป็นหัวฉีดไฟฟ้าเช่นกัน คงเหลือแต่รถไถไร่ไถนาแบบเดินตามที่คงเป็นเครื่องยนต์แบบเดิมๆ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


                 หลักการทำงานเบื้องต้น
  เครื่องยนต์หัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(ขออ้างอิงการทำงานกับเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่น เวฟ 125 ไอ PGM-Fi V.3 สตาร์ทไฟฟ้า)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


          เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ กล่องอีซียูของเครื่องยนต์จะสั่งให้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทำงาน 2 วินาที แล้วหยุด ขณะที่ปั๊มทำงานจะส่งน้ำมันเบนซินจากถัง ไปรอที่หัวฉีดด้วยแรงดันประมาณ 43 ปอนด์/ตารางนิ้ว  เมื่อกดปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ จะมีสัญญาณความเร็วรอบซึ่งได้จากตัวตรวจจับตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง ส่งเข้ากล่องอีซียู ทำให้อีซียูสั่งการฉีดและสั่งการจุดระเบิด ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดได้

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   จากภาพด้านบน สามารถนำไปทดลองดูการฉีดของหัวฉีดว่าเป็นอย่างไรในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน โดยใช้จักรยานยนต์ 2 คัน คันที่หนึ่งไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่ต่อพ่วงไฟจากหัวฉีดคันที่หนึ่งมาเข้าหัวฉีดคันที่สอง โดยคันที่สอง ถอดยกเรือนลิ้นเร่งออกมาเพื่อที่จะได้เห็นละอองน้ำมันจากการฉีดได้ โดยทดลองเร่ง-เบา จะเห็นปริมาณน้ำมันที่ฉีดว่าเป็นอย่างไร (มาก-น้อย) ลองไปทำกันดู คือเราอาศัยสัญญาณไฟฟ้าสั่งมาที่หัวฉีดเท่านั้นเอง

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


                วงจรปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และวงจรไฟเลี้ยงหัวฉีด
      จากภาพด้านบน มาทำความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง เพราะรถยนต์ก็ใช้วงจรเหมือนกัน ที่จริงน่าจะเรียกว่า รถจักรยานยนต์เหมือนของรถยนต์ เพราะหัวฉีดในจักรยานยนต์เกิดมาทีหลังรถยนต์ สาเหตุที่ทำไมไม่เอาวงจรของรถยนต์มาอธิบายเลย เพราะของรถยนต์มีความยุ่งยากซับซ้อนกว่า จะทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจ แต่เมื่อเข้าใจดีแล้ว อย่าว่าแต่ของรถยนต์เลยครับ ของเครื่องบินเราก็สามารถไล่วงจรได้เหมือนกัน แบตเตอรี่ต่อขั้วลบ(จยย.ฮอนด้า ใช้สายสีเขียวแทน หมายถึงเป็นกราวด์หรือลงดิน) ขั้วบวก สายสีแดง วิ่งผ่านฟิวส์เมน 15 A. เข้าไปยังตัวเรกูเลเตอร์ (แผ่นชาร์จ) ออกแล้วไปผ่านสวิทช์กุญแจ  เมื่อเราเปิดตำแหน่ง ON (เปิด) แรงดันไฟฟ้าจะวิ่งเข้ากล่องอีซีเอ็ม (ECM) ลงกราวด์ แค่นี้ ไฟเข้ากล่องและ เส้นกราวด์กล่อง กล่องก็พร้อมจะทำงานได้ล่ะ แต่อาจจะไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ให้ท่านมองกล่องเป็นเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่ง ซึ่งหากจะให้ทำงานจำเป็นต้องป้อนไฟให้กับมัน หรือเราเรียกว่า ไฟเลี้ยงกล่องนั่นเอง ถ้ามีแต่ไฟบวก ไม่มีไฟลบ(กราวด์) กล่องจะทำงานไม่ได้ มีแต่กราวด์ไฟบวกไม่มีมา กล่องก็ทำงานไม่ได้อีก สรุป คือมันต้องครบวงจรนั่นเอง เมื่อมีไฟเข้ากล่อง กล่องรับรู้แล้วจะสั่งให้ไฟที่มาเลี้ยงปั๊มซึ่งรออยู่แล้วลงกราวด์ผ่านอีซีเอ็ม ทำให้ปั๊มทำงาน (ขณะทำงานจะได้ยินเสียงปั๊มดังอี๊ด ๆ ๆ ๆ) ทำงานได้  2 วินาที กล่องจะสั่งให้หยุดการทำงาน คือไม่ให้ไฟที่ผ่านปั๊มลงกราวด์แค่นั้นเอง วิธีการสังเกตว่าปั๊มหยุดทำงานหรือยัง สังเกตไฟเช็คเอนจิ้น จะติดแล้วดับพร้อมกับปั๊มครับ  ดูต่อไปจะเห็นว่าไฟวิ่งผ่านหัวฉีดแล้วมาเข้ากล่อง รอกล่องสั่งลงกราวด์ หัวฉีดจึงจะทำงาน หากต้องการให้หัวฉีด ฉีดเล่นๆ ดู ท่านก็เอาไฟที่ออกจากหัวฉีดจี้ลงกรวด์หัวฉีดจะทำงาน ถ้ามีแรงดันน้ำมันหัวฉีดจะเปิดพ่นน้ำมันออกไป
   สรุป เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ ไฟจะไปเลี้ยงปั๊มและหัวฉีด

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

         

          ภาพวงจรไฟจุดระเบิดของรถจักรยานยนต์เวฟ 125 ไอ
   จากภาพเมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ นอกจากไฟไปเลี้ยงปั๊ม เลี้ยงหัวฉีด แล้วไฟยังมาเลี้ยงคอล์ยจุดระเบิดอีก แล้วไปรอลงกราวด์ที่กล่อง โดยกล่องจะเป็นคนสั่งการจุดระเบิด  โดยรับสัญญาณมาจากตัวตรวจจับตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง ตัวตรวจจับหรือคนไทยชอบเรียกกันว่า ตัวเซนเซอร์ เซนเซอร์ตัวจับตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยงถือว่าสำคัญที่สุดในบรรดาตัวเซนเซอร์ที่มี เพราะถ้าไม่ทำงานแล้ว รถจะไม่สามารถติดเครื่องได้เลย ส่วนตัวอื่นๆ นั้น ไม่มีก็ยังติดได้ (แต่อาจจะไม่สมบูรณ์)
   มีประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง จะทำให้เข้าใจระบบหัวฉีดได้ดีขึ้น มีรถยนต์คันหนึ่ง ขี่ไปแล้วเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกัน แล้วเครื่องยนต์ดับ สตาร์ทเท่าไหร่ก็ไม่ยอมติด ทั้งที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มากนัก ลากรถเข้าอู่เช็คไฟหัวเทียนไม่มี  เช็คหัวฉีดหัวฉีดก็ไม่ฉีด เอ๊า...กล่องคงพังละมั๊ง  หากล่องอื่นที่ใช้ได้มาลองเสียบก็ไม่ทำงานอีก เอากล่องที่คิดว่าเสียไปเสียบคันอื่น สตาร์ทติดปกติ แล้วปัญหาอยู่ที่ไหนล่ะ  อ้าวทิ้งปัญหาไว้ให้ขบคิดกัน  คราวหน้าจะมาเฉลย   ราตรีสวัสดิ์คร๊าบๆ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
สวัสดีกันตอนใกล้รุ่งครับ กาแฟกันสักแก้วก่อนดีมั๊ยครับ....

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ



   ภาพด้านซ้าย แบบ OHV : Over Head Valve                      ภาพด้านขวาแบบ DOHC : (Double Over Head Camshaft)


             แบบ  SOHC (Single Over Head Camshaft)

     มาเฉลยกันก่อน  เครื่องยนต์รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะแบบ SOHC (Single Over Head Camshaft = ซิงเกิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์) หรือแบบ DOHC (Double Over Head Camshaft = ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาฟท์) แปลเป็นไทยว่า แบบเพลาลูกเบี้ยวเดี่ยว (SOHC) แบบนี้นิยมใช้กับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะทั้งหลายแหล่ ส่วนแบบเพลาลูกเบี้ยวคู่  (DOHC) จะนิยมในจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ๆ หรือรถยนต์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในสมัยนี้ การปิดเปิดของลิ้นที่อยู่บนฝาสูบต้องอาศัยการหมุนเตะจากเพลาลูกเบี้ยว แล้วเพลาลูกเบี้ยวจะหมุนได้ ต้องได้รับแรงหมุนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง โดยอาศัยสายพานแบบมีฟันบ้าง อาศัยโซ่บ้าง อาศัยเฟืองบ้าง หรือใช้ผสมกันก็มีแล้วแต่วิศกรผู้ออกแบบ แต่ถ้าเครื่องยนต์เครื่องไหนใช้สายพานส่งแรงหมุนจากเพลาข้อเหวี่ยงมาหมุนเพลาลูกเบี้ยวที่ฝาสูบ (สายพานเส้นนั้น เขาเรียกว่า สายพานไทมิ่ง = Timing Belt) ต้องระมัดระวัง ในเรื่องอายุการใช้งาน โดยปกติประมาณ 100,000 - 150,000 กิโลเมตร แล้วแต่รุ่นของเครื่องยนต์ สามารถดูได้จากคู่มือประจำรถก็ได้ ตรงตารางการบำรุงรักษา ว่าระยะไหนเปลี่ยนอะไรบ้าง


                            ภาพลักษณะการส่งกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยง
    เครื่องยนต์เบนซินทั้งหลาย การจุดระเบิดอาศัยการจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้า (S.I. Engine = Spark Ignition Engine อ่านว่า สปาร์คอิกนิชั่น เอนจิ้น) ซึ่งมีวงจรจุดระเบิดรับหน้าที่นี้ ส่วนประกอบของวงจรจุดระเบิดของรถยนต์ที่ต่างจากจักรยานยนต์ คือ จานจ่าย ซึ่งทำหน้าที่ จ่ายไฟแรงสูง ไปยังหัวเทียนแต่ละสูบ โดยมีลำดับการจุดระเบิดดังนี้ คือ ............ ถ้าเครื่องยนต์มี 4 สูบ ลำดับการจุดระเบิด (Firing Order = ไฟริ่งออเดอร์)เป็น  1 --> 3 --> 4 --> 2  ไม่ใช่ 1-2-3-4 นะครับ ระมัดระวัดเวลาถอดสายหัวเทียน  ให้ดูว่าสูบ 1 เริ่มจากจุดไหนของฝาครอบจานจ่าย แล้วดูว่าหมุนไปทางไหน จำไม่ได้ควรจดหรือทำเครื่องหมาย (Mark = มาร์ค) หรือสังเกตจากความสั้นยาวของสายหัวเทียนก็ได้ เพราะรถยนต์จะติดตั้งจานจ่ายไว้ทางตอนบนด้านท้ายของฝาสูบเสมอ เพื่ออะไรล่ะ เพื่ออาศัยแรงหมุนจากเพลาลูกเบี้ยวมาหมุนเพลาจานจ่ายด้วย เพราะจะตรงรอบการทำงานกันพอดี คือ เพลาข้อเหวี่ยงหมุน  2 รอบ เพลาลูกเบี้ยวจะหมุน 1 รอบ จะทำงานจะครบกลวัตรการทำงาน คือ ดูด อัด ระเบิด คาย ครบทุกสูบ ซึ่งหมายถึงจายจ่ายหมุน 1 รอบ ก็จ่ายไฟครบทุกสูบ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


              ตัวอย่างภาพ หากเกิดกรณีสายพานไทมิ่งขาด ความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น หัวลูกสูบทะลุ วาล์วคด เป็นต้น

    ผมเจอกับตัวเองมา 3 ครั้งในเรื่องของสายพานไทมิ่งขาด ไม่อยากจะบรรยยลงว่างานจะเข้าขนาดไหน เดี๋ยววันว่างค่อยขุดขึ้นมาว่ากันอีกที อย่างกรณีด้านบน รถยนต์ชนกันส่งผลทำให้เครื่องยนต์ได้รับการกระทบกระเทือน สายพานไทมิ่งที่ทำงานวิ่งอยู่เกิดผิดจังหวะจากแรงชน ทำให้สายพานไทมิ่งขาดขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่า เครื่องยนต์จะต้องดับ เพราะอะไร ถ้าคนเป็นช่างจะรู้ทันทีเลยว่า สตาร์ทเท่าไหร่เครื่องจะไม่ติด เพราะลิ้นไม่ทำงานปิดเปิดตามจังหวะ ส่งผลให้ไม่มีไอดีเข้าสู่กระบอกสูบ และที่สำคัญคือไม่มีสัญญาณความเร็วรอบ โดยอาศัยพัลเซอร์คอล์ยที่อยู่ในจานจ่าย ส่งเข้ากล่องอีซียู (E.C.U Engine Control Unit = เอนจิ้น คอนโทรล ยูนิต --> หน่วยควบคุมเครื่องยนต์) กล่องเมื่อไม่ได้รับสัญญาณความเร็วรอบ ซึ่งหมายถึงเครื่องยนต์ไม่หมุน (ที่จริงหมุนจี๋เลย คือหมุนแต่เพลาข้อเหวี่ยง) ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องสั่งหัวฉีดให้ทำงาน และไม่สั่งคอล์ยให้ทำการจุดระเบิด (คือน้ำมันก็ไม่มี ไฟก็ไม่มา)

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


            ตารางการบำรุงรักษา ตัว R หมายถึง Replace เปลี่ยนชิ้นส่วน

    สรุป เครื่องยนต์จะติดได้อย่างไร เมื่อไม่มีทั้งน้ำมันและไฟจุดระเบิด
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ในรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ทำไมต้องให้ปั๊มทำงานก่อน ซึ่งในรถยนต์โตโยต้า ขออ้างอิงรุ่นโคโรล่า หรือโซลูน่า ที่เริ่มเป็นระบบหัวฉีดนั้น ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง จะยังไม่ทำงาน จนกว่าจะสตาร์ทเครื่องยนต์ (สวิทช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง Start) และเมื่อเครื่องติดแล้ว สวิทช์กุญแจกลับมาอยู่ในตำแหน่ง ON ปั๊มจึงจะทำงานตลอดเวลา
    สาเหตุน่าจะมาจาก การกักเก็บแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ภายหลังการดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้ค้างคืนหรือหลายวัน อาจทำให้แรงดันน้ำมันตก ทำให้เมื่อเริ่มสตาร์ทในครั้งต่อไปหรือวันถัดไป สตาร์ทติดยาก เนื่องจากแรงดันต่ำ จะทำให้ปริมาณการฉีดไม่เพียงพอ  ทางแก้ก็คือออกแบบให้เมื่อเปิดกุญแจไปตำแหน่ง ON ให้ปั๊มทำงานอัดแรงดันน้ำมันไว้รอที่หัวฉีดสัก 2 วินาทีคร๊าบ
    ให้ระวัง รหัส 12 หลอดไฟแจ้งการทำงานของเครื่องยนต์ จะกระพริบ แต่การกระพริบจะเป็น ติดยาว 1 ครั้ง และตามด้วย ติดสั้น สั้น 2 ครั้ง แล้วเว้นวรรคนานๆ แล้วกลับมาติดยาว 1 ครั้ง สั้น 2 ครั้งอีก แสดงว่า ปลั๊กหัวฉีดหลุด/หลวม ครับ แล้ว พาล ทำให้ไฟจุดเบิดไม่มี (ไฟหัวเทียนไม่มี) ตรงนี้เป็นการออกแบบของระบบเขาไว้ ว่าถ้าไม่มีไฟไปเลี้ยงหัวฉีด แสดงว่าไม่มีน้ำมันเข้ากระบอกสูบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายไฟไปหัวเทียน ทดลองกับรถของตัวเองได้ครับ ใครขี่ฮอนด้า ทดลองทดปลั๊กหัวฉีดออก  แล้วลองถอดหัวเทียนเช็คประกายไฟดู ไม่มีแน่นอน และลองเสียบปลั๊กหัวฉีด แล้วลองสตาร์ทลองไฟอีกที เปรียบเทียบกันครับ  รับรองไม่สร้างปัญหากับเครื่องยนต์แน่นอน
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai


ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
พักผ่อนคลายสายตากันสักหน่อย

(ปัจจุบัน ตัดเรียบเลย เหลือแต่ตอ เสียดาย... พัฒนาซอย คนเลยตัดเรียบ)
ซื้อพันธ์มาแต่ภูเรือ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
    เรื่องเครื่องยนต์หัวฉีด ว่าไปแล้วไม่น่ายากครับถ้าเรารู้หน้าที่ รู้ระบบการทำงาน ช่างมือใหม่มักจะไม่แม่นในระบบ คิดแต่ว่ามีตัวเซนเซอร์เยอะแยะคงไล่ได้ไม่หมด และยากที่จะทำความเข้าใจ และเวลาเครื่องยนต์มีปัญหาเครื่องไม่ติด ไฟไม่มา น้ำมันไม่มี (ไม่ฉีด) ก็จะโทษกล่องอีซีเอ็ม (ECM มาจากคำเต็มว่า Engine Control Module = หน่วยควบคุมเครื่องยนต์) และสาละวนกับการหากล่องอีซีเอ็มใหม่มาลองใส่ ราคากล่องอีซีเอ็มของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ราคา        บาท  อย่างที่เรารู้กันของพวกนี้ยิ่งเป็นพวกอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซื้อออกจากร้านแล้วเขาจะไม่รับประกันใดๆ เลย
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ไปหาราคาอะไหล่จากเว็บ http://pec.aphonda.co.th/ บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ค้นหาราคากล่องอีซีเอ็มว่าจะมีราคากี่บาทก็หาไม่เจอ เลยดูราคาอะไหล่พวก ปั๊ม หัวฉีด

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


เลยค้นหาต่อโดยใช้กูเกิ้ล ไปเจอมาเป็นกล่องของ CBR150 i

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


และไปหลงทางอยู่ในเว็บพันธ์ทิพย์ ดอด คอม จะโพสต์ช่วยคนที่มีปัญหาเรื่อง รถสตาร์ทไม่ติดแล้วไปเปลี่ยนปั๊ม โดยมีรหัสปัญหากระพริบโชว์ขึ้นมา แต่โพสต์แล้วบอกต้องเป็นสมาชิกก่อน พอสมัครสมาชิก บอกต้องแจ้งเลข ปชช. 13 หลัก และรออีก 3 วัน แล้วไม่รู้ว่าจะแจ้งที่ไหน ที่ใคร อยากเร็วต้องเสียเงินผ่านทาง SMS เลยเซ็งเลย เอาเดี๋ยวมาดูกันว่าผมจะโพสต์ว่าอย่างไร
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
จากหัวข้อในเว็บพันธ์ทิพย์ http://pantip.com/topic/30470455

   ขอแจมด้วยคนครับ มาช้านิดแต่ดีกว่าไม่มา รถหัวฉีดเป็นเทคโนโลยีใหม่ ตอนแรกเริ่มก็ยังไม่มีบริษัทรถค่ายไหนนำมาผลิตขาย ได้แต่โชว์ในงานมอเตอร์โชว์ จนบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด นี่แหละ ได้นำมาติดกับรถเวฟ 125 ไอ ก่อนเพื่อน แล้วอื่นๆ ก็ตามมา จนถึงยี่ห้ออื่นๆ ใครไม่ผลิตก็ตกยุค ที่จริงเกี่ยวกับกฏหมายคุมมลพิษจากไอเสีย มาเกี่ยวเป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่รถ จยย.ต้องหันมาหัวฉีด เพราะรถคาร์บิวมลพิษเทียบกับหัวฉีดจะเยอะกว่า แต่ที่ปลายท่อออกไปเนี่ยเป็นไอเสีย ต้องผ่านมาตรฐานด้านไอเสีย ทำให้ต้องเพิ่มตัวบำบัดไอเสียซึ่งมีราคาแพง (ประมาณ 2-3 พันบาท) ซึ่งทำให้ต้นทุนไปไปมามาจะสูงกว่ารถหัวฉีด และอีกอย่างเรื่องของความประหยัด รถหัวฉีดทำได้ดีกว่า เพราะมีตัวตรวจจับต่างๆ ช่วยในการจ่ายน้ำมันที่ตรงจริง ไม่จ่ายเผื่อไว้เหมือนรถคาร์บิว
           ความจริงรถคันนี้เกิดจากปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง เสื่อมสภาพ คือสร้างแรงดันน้ำมันไม่ได้  ซึ่งมาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 40 ปอนด์/ตารางนิ้ว หรือเท่ากับแรงดันลมยางที่เติมแข็งๆ หน่อย ถ้าต่ำมากคือประมาณ 20 ปอนด์/ตารางนิ้ว รถจะสตาร์ทไม่ติด ถ้าแรงดันสูงขึ้นมาอีกนิด จะติดเดินเบาได้ แต่อาจเร่งแล้ววูบดับ แต่อีกอันหนึ่งอาจเกิดจากกรองอุดตันก็เป็นไปได้
          แต่กรณีของคันนี้ ที่มีไฟโชว์กระพริบที่หน้าปัดนั้น เขาเรียกว่า ไฟเช็คเอนจิ้น คือเป็นไฟแจ้งความผิดปกติในระบบควบคุมเครื่องยนต์ อย่างในกรณีนี้ น่าจะเป็นรหัส 12  หมายถึง ปลั๊กหัวฉีดหลุดหลวม ช๊อต หัวฉีดช๊อต การเช็คก็เพียงแค่ถอดปลั๊กหัวฉีดและเสียบกลับเข้าไปใหม่ให้แน่น ถ้าแน่นดีแล้ว รหัส 12 จะหายไปเอง การอ่านค่ารหัส (โค๊ด) ของฮอนด้าจะเป็นทั้งรหัสเดี่ยวและรหัสคู่  เช่น รหัสเดี่ยว มี รหัส 1 , 7 , 8 , 9  รหัสคู่มี 12 , 33 , 54 
   การอ่านรหัสเดี่ยว ลองไปอ่านกันดูนะครับ ไม่ยาก เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจรถไปที่ ON ไฟเช็คเอนจิ้นที่เป็นรูปเครื่องยนต์ จะติดและดับลงก่อน ถ้ารถปกติ ก็จะไม่มีสัญญาณไฟกระพริบออกมา แต่ถ้าผิดปกติ จะกระพริบต่อเนื่อง โดยถ้ามีการผิดปกติหลายรหัส จะเริ่มกระพริบที่รหัสน้อย ไปหารหัสมาก จนครบแล้ว ไฟจะดับทิ้งช่วงใหญ่ แล้ววนมาเริ่มต้นใหม่ และระหว่างแต่ละรหัส ไฟจะดับทิ้งช่วงพอประมาณ เพื่อให้แยกแยะออกมา เป็นแต่ละจังหวะ  เอ้าลองรหัส 7  ไฟจะกระพริบ 7 ครั้งครับ แล้วดับไปสักระยะแล้วจะกระพริบ 7 ครั้งอีก แสดงว่า รถมีปัญหาเพียง 1 รหัส การนับอย่าใจร้อน ควรนับวนหลายๆ ครั้ง จนมั่นใจว่ามีเพียงรหัสเดียว รหัส 7  หมายถึง มีปัญหาที่ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง ส่วนใหญ่คือปลั๊กหลุดหลวม ขาด หรือโดนกระแทก ตำแหน่งอยู่ที่เครื่องด้านซ้ายล่าง สังเกตจะมีสายไฟแหย่ลงมาที่ตัวตรวจจับ (เซนเซอร์) นี้ ถามว่ารถติดเครื่องได้มั๊ย ตอบว่า ตัวเซนเซอร์ตัวนี้ จะทำหน้าที่เหมือนวงจรโช๊ค ในรถคาร์บิวครับ ถ้าอากาศร้อนเราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปิดโช๊ค แต่ถ้าเมื่อไหร่อากาศเย็น เราจำเป็นต้องใช้โช๊คช่วยครับ จะทำให้รถติดง่ายขึ้น และเมื่อเครื่องยนต์ร้อนขึ้นมาสักหน่อยเราค่อยปิดโช๊ค เครื่องยนต์หัวฉีดก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นรหัส 7 แล้วอากาศเย็น เครื่องจะติดยากครับหรือแทบจะไม่ติดเลย ลองทดสอบดูได้ครับ
      ถ้ามีเวลา อยากให้ไปลองศึกษาดูที่นี่ครับ http://auto.thaimeboard.com/index.php/topic,185.0.html
หรืออยากเรียนรู้ เครื่องยนต์หัวฉีด เผื่อไว้แก้ปัญหารถตัวเองหรือของญาติ/เพื่อน เชิญครับที่ http://auto.thaimeboard.com/index.php/topic,365.new.html#new

สภาพของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
  หลังๆ มานี่ คุณภาพของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่ พบเจอบ่อยคือแรงดันต่ำลง หรือไม่สามารถสร้างแรงดันได้ เนื่องจากตัวแปรงถ่านของตัวมอเตอร์หมดสภาพ วันหลังเดี๋ยวจะถ่ายภาพมาให้ดู ดูเพื่อศึกษาครับไม่แนะนำให้ดัดแปลงแกะปั๊มมาเปลี่ยนแปลงถ่าน เพราะโรงงานเขาจะย้ำมาไม่ให้ถอดแก้ไข อาจจะเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย คงเข้าใจนะครับน้ำมันกับไฟ มาอยู่ด้วยกันเนี่ย  และที่ตัวปั๊มจะมีตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้เกินกว่ากำหนด โดยถ้าเกินจะปล่อยส่วนเกินกลับลงถังไปเลย จะเห็นว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงถูกออกแบบมาให้ติดตั้งอยู่ในถังน้ำมัน (In Tank อ่านว่า อินแทงค์) และมีตัวควบคุมแรงดันน้ำมัน (Pressure Regulator อ่านว่า เพรสเซอร์ เรกกูเลเตอร์) ต่อร่วมอยู่ ตรงจุดนี้ให้ลองตรวจเช็คดูด้วย บางครั้งจะปล่อยน้ำมันลงถังเร็วกว่าที่จะถึงแรงดัน อาจเสริมแหวนหรือถอดแหวนดู

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
สวัสดีตอนเช้า วันที่ 1 กุมภา ผ่านไปเร็วเหลือเกิน พึ่งฉลองปีใหม่ไม่ทันไร ย่างเข้าเดือนที่ 2 ของปี 2015 แล้ว

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


     วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงเรื่องของอีซีเอ็ม ส่วนจะลึกขนาดไหนมาติดตามกัน อ่านแล้วผลเป็นอย่างไร สามามรถโพสต์ในกระทู้ได้เลย ถ้าไม่เหมาะสมอย่างไร ผมจะกรองหรือลบออกให้ครับ อยากฟังความคิดเห็นท่านบ้าง อย่าให้โม้อยู่คนเดียว ภายในกล่องอีซีเอ็ม จะบรรจุไปด้วยชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก หรือเราจะเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุมอะไรบ้างมาดูกัน
    1. อย่างแรกเลยคือ คุมการฉีดน้ำมันโดยควบคุมหัวฉีด  เป็นหน้าที่หลักตั้งแต่ยุคแรก คือคุมระบบน้ำมันอย่างเดียว แต่ยุคต่อมาเพิ่มไปเป็น
    2. ควบคุมไฟจุดระเบิด  คุมการตัดต่อคอล์ย หมายถึงคุมตำแหน่งการจุดระเบิด (องศาการจุดระเบิด) ของเครื่องยนต์ ที่จริงสองอย่างนี้น่าจะเพียงพอ แต่
    3. คุมการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเริ่มเปิดสวิทช์กุญแจ อีซีเอ็มจะสั่งให้ปั๊มทำงาน 2 วินาทีแล้วตัด หากเครื่องยนต์ติดทำงานแล้ว จะสั่งให้ปั๊มทำงานตลอดเวลา ยังไม่พอ
    4. คุมไฟเช็คเอนจิ้น การติด-ดับ ของไฟแสดงการทำงานของเครื่องยนต์ และสั่งให้ไฟกระพริบเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบ
ที่กล่าวมา  4  อย่างนี้ กล่องอีซีเอ็ม จะทำหน้าที่ควบคุมสั่งการ บางรุ่นของฮอนด้า จะควบคุมความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ อยากเห็นมานานแล้ว และบางคันมีระบบตัดการสตาร์ทเมื่อเครื่องยนต์ ทำงานแล้ว  หรือตัด/ดับเครื่องยนต์ ถ้าไม่นำขาตั้งข้างขี้น ฯ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จากภาพด้านบน ถ้าเรามองกล่อง ECM ก็เหมือนกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของระบบคอมพิวเตอร์ จะประมวลผลได้ต้องมี การป้อนข้อมูลเข้า (INPUT) จากคีย์บอร์ด /เม้าส์ / สแกนเนอร์ ฯ แล้วจึงทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จ สั่งแสดงภาพออกทางจอภาพ หรือพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ กล่อง ECM ก็เช่นเดียวกัน ได้รับสัญญาณ INPUT มาจากตัวตัวตรวจจับ (Sensor อ่านว่าเซนเซอร์) ต่างๆ (จากภาพ 4 ตัว บางรุ่นจะมากกว่านั้น) แล้วทำการประมวลผล สั่งหัวฉีด /ปั๊ม / คอล์ยจุดระเบิด /หลอดไฟแสดงความผิดปกติให้ทำงาน
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ดูไปแล้วเหมือนจะมีความซับซ้อนยุ่งยาก  แต่ความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิดเลย ให้ท่านมองกล่องเหมือนเครื่องขยายเสียง (Amplifier อ่านว่า แอมปลิไฟเออร์) เครื่องหนึ่ง ถ้ามีปัญหาไม่ดังขึ้นมา ท่านจะแก้ไขอย่างไร
    ท่านคงคิดว่าแอมป์เสียแน่ๆ เลย ทั้งที่ความจริงแล้ว ปลั๊กเครื่องขยายเสียงท่านยังไม่ได้เสียบไฟเลย แล้วมันจะดังได้อย่างไร

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ท่านเสียบปลั๊กไฟแล้ว แต่ไม่ได้ต่อลำโพง หรือสายลำโพงขาด มันไม่ดัง ท่านอาจจะคิดไปเองว่า แอมป์ เสีย

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จากภาพด้านบน การที่จะต่อเครื่องขยายเสียงให้ทำงาน (ดัง) บางทีต้องศึกษาเหมือนกัน ต่อสุ่มสี่สุ่มห้าบางทีไม่ดัง  เช่นเดียวกันกับ กล่อง ECM อับดับแรกต้องมีไฟเลี้ยงกล่อง ทั้งสายไฟบวก และสายกราวด์ แค่นี้กล่องก็พร้อมทำงานได้แล้ว เหมือนเครื่องขยายเสียง เราเสียบปลั๊กเปิดสวิทช์ แอมป์ก็พร้อมทำงานได้ เพียงแต่ยังไม่ดัง เพราะยังไม่ได้ต่อลำโพง หรือ ยังไม่ป้อนสัญญาณเข้าไป ซึ่งสัญญาณก็มีหลายแหล่ง เช่น เครื่องเล่นแผ่น เครื่องรับวิทยุ (จูนเนอร์) เป็นต้น

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จากภาพด้านบน  ไฟเลี้ยงกล่อง ECM  ไฟบวก (ไฟเข้า 12 โวลท์) เข้า ขา 1  ขาลงกราวด์เป็นขา 2 และ ขา 9  ตอนนี้เราใช้ขา ECM ไปแล้ว 3 ขา จากจำนวน 33 ขา กล่อง ECM ของรถจักรยานยนต์ฮอนด้ามีขาทั้งหมดจำนวน  33 ขา แบ่งเป็น 3 แถวๆละ 11 ขา หันด้านขา ECM เข้าหาตัวเรา ให้เขี้ยวล็อคปลั๊กไฟอยู่ทางด้านบน
  - แถวบน    เป็น ขา 1 - 11
  - แถวกลาง เป็น ขา 12 - 22
  - แถวล่าง  เป็นขา  23 - 33
  ถามว่าถูกใช้งานทั้ง 33 ขา ตอบเลยว่า ไม่  ขึ้นอยู่กับจำนวนเซนเซอร์และลักษณะของรถรุ่นนั้นๆ

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    จากภาพด้านบน เป็นวงจรไฟฟ้าระบบควบคุมเครื่องยนต์ รถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่น CZ-i

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


   มาเริ่มไล่วงจรการทำงานกันเลย เปิดสวิทช์กุญแจ กระแสไฟจากแบตเตอรี่ จะไหลผ่านฟิวส์หลัก ขนาด 10 A แล้วเข้าแผ่นชาร์จ ออกมาเป็นสายสีแดง ไปเข้าที่สวิทช์กุญแจ ออกจากสวิทช์กุญแจ เป็นสายสีดำคาดน้ำเงิน  จะเห็นว่าไฟเส้นนี้ จะมีค่าประมาณ 12 โวลท์ (เท่ากับแรงเคลื่อนของแบตเตอรี่) ไปเข้าอุปกรณ์จำนวน 5 จุดด้วยกัน คือ
  1. เป็นไฟเลี้ยงกล่อง ECM
  2. ไฟเลี้ยงปั๊ม ผ่านปั๊มแล้วไปรอที่กล่อง
  3. ไฟเลี้ยงหัวฉีด  ผ่านหัวฉีดแล้วไปรอที่กล่อง
  4. ไฟเลี้ยงคอล์ยจุดระเบิด  ผ่านแล้วไปรอที่กล่อง
  5. ไฟไปรอที่ปลั๊กตรวจสอบเครื่องยนต์
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
เอาวงจรของรถเวฟ 125 ไอ  Version 4
คือลดจำนวนเซนเซอร์ลง 2 ตัว คงเหลือจำนวนเซนเซอร์แค่ 4 ตัว เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ตัวไหนโดนให้ออกหรือไล่ออกบ้าง ลองดูเทียบกับ CZ-i  เดี๋ยวให้เวลาไล่เทียบวงจรกันดู
และจากการที่เซนเซอร์ไม่ครบนี้ ทำให้ต้องมีการปรับเซ็ทการทำงานของกล่องให้เหมาะกับความสูงของพื้นที่ใช้งาน
ปกติจะถูกเซ็ทให้อยู่ที่โหมด 1  แต่มีพื้นที่เดียวในประเทศไทยที่เป็น โหมด 3 คือ.........
แล้วถ้าเซ็ทโหมดผิด รถจะเป็นยังไง หรือ เครื่องมีปัญหาเร่งไม่ค่อยขึ้น ปัญหาเกิดจากอะไร   ทิ้งปัญหาไว้ก่อนครับ
ค่อยกลับมาเจอกันใหม่......ซำบายดี

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
   การปรับโหมดให้กับกล่อง ECM ทำงานตามพื้นที่ความสูง ...ไปดูกันที่นี่...
ขอย้ำว่า ใช้ปรับตั้งเฉพาะในระบบ PGM-Fi Version 4 เท่านั้น
แล้วมันมีรุ่นไหนบ้างละ ที่ผ่านหูผ่านตา ก็มี
 1. Wave110 i
 2. Wave125i เวอร์ชั่นล่าสุด
      ขอบอกว่าเวฟ 125 ไอ มีครบทั้ง 4 เวอร์ชั่นเลย คือ Version 1 , Version 2 , Version 3 และ Version 4
 3.
 4.
 5.
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
   เอ้าชั่วโมงนี้ ขอแนะนำวงจรไฟต้นกำลัง (Power Source) ของรถเวฟ 125 ไอ  เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับช่างมือใหม่ แต่คนที่เป็นแล้วคงไม่เข้ามาอ่าน หรือถ้าหลงมาขอให้ข้ามไป
มาดูภาพวงจรกันก่อน

ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37472
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ถามว่าถ้าฟิวส์เมน (Main Fuse)  ขนาด  15 A  เกิดขาดขึ้นมา เครื่องยนต์จะสามารถติดเครื่องยนต์ได้หรือไม่.... หรือ
ถ้าฟิวส์ย่อย(Sub Fuse) 10 A ขาดขึ้นมา จะมีผลอย่างไร  เครื่องยนต์จะติดเครื่องยนต์ได้มั๊ย....
 ขอพักทานข้าวกันก่อน จะได้มีแรงตอบ
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai