ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: การแต่งล้อแม่เหล็ก เปลี่ยนกล่องไม่ตรงรุ่น ลองอ่านดูจาก API Tech  (อ่าน 11277 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
สำหรับสาเหตุบางครั้งที่ทำให้กล่อง CDI&ECM ที่ทำให้มีปัญหา(ปัจจัยภายนอก)อาจมีสาเหตุหลายประการ ผมขอยกตัวอย่างครับ ในกรณีของรถมอเตอร์ไซค์ที่มีการดัดแปลงระบบไฟ กรณีรุ่นที่เปลี่ยนจาก ระบบไฟ AC CDI แปลงเป็นระบบ DC CDI (Honda WAVE100,WAVE110,MONKEY นำเข้า) เพื่อใช้ในการแข่งขันหรือใช้แทนกล่อง CDI เดิม พอสรุปได้คร่าวๆดังนี้ครับ

1. แผ่นชาร์จ (Regulator)
    ระบบ AC CDI ใช้มัดไฟจากด้านล่างเพื่อสร้างไฟแรงสูงทำให้วงจรกล่องมีขนาดเล็กลงแต่ที่รอบเครื่องสูงๆการสร้างไฟสูงทำได้ลำบากและมีแรงต้านทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้บางครั้งรถที่ใช้ในการแข่งขันจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบไฟมาเป็นระบบ DC CDI แทน แต่เนื่องจากว่าระบบ CD CDI จำเป็นจะต้องใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่และ แผ่นชาร์จ(Regulator) บางครั้งตัวแผ่นชาร์จเสียก็มีผลทำให้ตัวแบตเตอรี่ร้อน ( Over charge ) เสียเร็วและตัวกล่อง CDI ก็จะเสียหายตามมา บางกรณีซื้อแผ่นชาร์จเทียมมาหรือสั่งทำแผ่นชาร์จมาบอกว่าเอาไฟแรงๆ ซื่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆแล้วกล่อง CDI ติดรถหรือกล่องของทาง API เราต้องการระบบไฟที่มีช่วงการใช้งานอยู่ที่ 11-16 V กินไฟไม่เกิน 1-1.5 A เท่านั่นครับ ถ้าหากเกินกว่านี้ตัวกล่อง CDI จะทำการขลิบแรงดันลงมาไม่ไม่ให้ไฟสูงมากนัก ถ้าหากแผ่นชาร์จจ่ายพลังงานสูงเกินไปอาจมีผลทำให้กล่องเสียหายได้หรือกล่องจะสะดุดในกรณีแรงดันเกิน( Suzuki > 22V กล่อง CDI จะหยุดทำงาน กล่อง STD,API )

2. พัลเซอร์ (Pulser )สัญญาณวัดรอบ ตรงนี้ก็สำคัญมากครับ ในกรณีของ Honda รุ่น Monkey ที่นิยมต่อแถบแม่เหล็กยาวแล้วใช้กล่องไฟแปลง (Honda Sonic) การต่อแถบแม่เหล็กต้องต่อไปข้างหน้าให้ได้ความยาวประมาณ 40 mm.ในรุ่นของ Honda Sonic ก็มีอยู่ 2 รุ่นทาง API เราเรียกว่า Sonic Old,Sonic New ซื่งสัญญาณพัลเซอร์ก็แตกต่างกัน ทำให้บางครั้งต่อวงจรครบทุกอย่างสตาร์ทเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่ติดทั้งที่ไฟก็ออกหัวเทียน หรือ สตาร์ทยากกว่าจะสตาร์ทติดแถมเครื่องยนต์เดินไม่เรียบอีกต่างหาก อาการนี้อาจเกี่ยวกับสัญญาณพัลเซอร์ต่อผิด วิธีการให้ทำการกลับแม่เหล็กที่ตัวพัลเซอร์ครับ ตอนสตาร์ทเครื่องยนต์ลองฉายไทมิ่งไลท์ดู ถ้าไฟตรงตำแหน่งจะสตาร์ทง่ายครับ องศาจุดระเบิดที่รอบเดินเบาประมาณ 12-15 BTDC ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการทำเครื่องยนต์(Compression Ratio)

3. คอยล์จุดระเบิด ( Ignition Coil ) คอยล์จุดระเบิดที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือคอยล์ที่ใช้กับระบบ CDI และ คอยล์ที่เป็นระบบทรานซิสเตอร์เป็นรถจำพวกรถมอเตอร์ไซค์หัวฉีด,รถมอเตอร์ไซค์ใหญ่บางรุ่น,และรถยนต์ ไม่สามารถใช้แทนกันได้ อาจสตาร์ทติดแต่เร่งเครื่องยนต์ไม่ขึ้น กล่องไฟอาจเสียหายได้ควรตรวจสอบให้ดีว่าเป็นรถรุ่นไหน สำหรับปัญหาที่เจอและเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก เราคิดว่าไฟยิ่งแรงยิ่งดีไม่จำเป็นเสมอไปครับ ถ้าหากว่าไฟจากคอยล์แรงมากไปลักษณะเฟลมการเผาไหม้อาจไม่กระจาย(ขึ้นอยู่กับหัวเทียนด้วย) สังเกตุง่ายๆลองให้คอยหัวเทียนอาร์คผ่านกระดาษ A4 ไฟหัวเทียนที่มีแรงไฟมากๆ จะพุ่งออกเป็นลำทะลุกระดาษ สำหรับไฟที่ออกพอดีลักษณะของเม็ดไฟจะกระจายเป็นกลุ่มระดับแรงดันไฟที่เหมาะสมประมาณ 15-19 kV ส่วนปัญหาและสาเหตุบางส่วนที่ทำให้กล่องทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ คือ บางท่านนิยมเปลี่ยนคอยล์โดยเฉพาะรถแข่ง มีการขั้วถอดเข้าถอดออกบ่อยๆขั้วคอยล์หลวมทำให้ที่รอบเครื่องยนต์สูงๆ รถจะมีอาการสะดุดและอาจทำให้กล่องเสียหายได้เนื่องจากเกิดการอาร์คที่ขั้วต่อบ่อยๆทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับได้

4. ชุดสายไฟและขั้วต่อ ( Wire& Connector ) ในระบบไฟ AC CDI และ DC CDI ต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง จุดเชื่อมต่อขั้วต่อต้องแน่น สายไฟควรจะเป็นสายใหม่ในกรณีระดัดแปลงมีผลมากครับ การเดินสายดิน (Ground plan) ควรเดินแยกกันระหว่างสายดินที่ต่อกับเครื่องและขั้วลบของแบตเตอรี่มีผลทำให้ไฟเดินไม่เรียบและอาจทำให้ตัวกล่องเสียหายได้เนื่องจากสัญญาณแรงสูงย้อนกลับ (Surge Voltage)
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai