หมวดวิศวกรรม/เทคโนโลยียานยนต์ => ห้องไฟฟ้ารถยนต์ => เครื่องล่าง/ส่งกำลัง/ไฟฟ้ายานยนต์ => ระบบไฟแสงสว่าง/ไฟสัญญาณ => ข้อความที่เริ่มโดย: Auto Man ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568, 09:36:25

หัวข้อ: เรื่องของค่า K (อุณหภูมิ) และค่า Lumem (ความสว่าง)
เริ่มหัวข้อโดย: Auto Man ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568, 09:36:25
เรื่องของค่า K (อุณหภูมิ) และค่า Lumem (ความสว่าง)
     สำหรับท่านที่ฟิลม์เข้มมาก คุณควรจะใช้ค่า K ที่ให้ความสว่างสูงสุด ไม่ใช่ขาวสุดครับ
และควรจะใช้คู่กับเลนซ์สะท้อนแสงที่ผลิตมาสำหรับซีนอนโดยเฉพาะด้วย

รถผมฟิล์ม 80% ใช้โคมโรงงานหลอดโรงงาน ค่า K โรงงาน ค่าความสว่างสูงสุดครับ
(นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมโคมซีนอนแพงนักหนา ผมก็ยอมจ่ายครับ)
ใช้งานกลางคืนบนถนนที่มีไฟถนนปกติ ไม่มีปัญหาครับ (ผมสายตาดีเช่นกัน ถึงจะหูไม่ดี จมูกไม่ดี ปากไม่ดีก็ตาม)

อธิบายเบื้องต้นนะครับ ขออธิบายเฉพาะเรื่องค่า K กับค่าความสว่าง
ค่า K เป็นค่าอุณหภูมิของแสงครับ ไม่ใช่ค่าความสว่าง
ค่าความสว่างมีหน่วยเป็น Lumen ครับ

อุณหภูมิของแสง (ค่า K) ที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสีที่เปลี่ยนแปลงไป
Lumem (ค่าความสว่าง) ที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อความสว่างและการมองเห็น

อุณหภูมิของแสง (ค่า K) ยิ่งสูง สียิ่งขาวขึ้น พอเลยจุดที่ขาวที่สุดก็จะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นฟ้า เป็นสีม่วง เป็นชมพูตามลำดับ
Lumem (ค่าความสว่าง) ยิ่งสูงยิ่งสว่าง ยิ่งมองเห็นชัดเจน

ค่า K ที่ให้ค่าความสว่างสูงสุดอยู่ที่ราวๆ 3,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 4,200 Lumen
แต่แสงมันออกสีเหลืองซื่งใช้งานเป็นไฟหน้าปกติจะผิดกฏหมาย จะใช้เป็นสปอร์ตไลท์ก็ได้ แต่ต้องเปิดก็ต่อเมื่อมีเหตุอันควร

ค่า K ที่ให้ค่าความสว่างสูงสุดโดยไม่ผิดกฏหมายอยู่ที่ค่าที่โรงงานผลิตรถยนต์ติดตั้งให้กับรถรุ่นที่มีโคม HID เป็นมาตรฐาน
โดยประมาณราวๆ 4,300 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 3,800 Lumen (เค้าคิดกันมาหมดแล้วก่อนจะทำมาขาย)

หลังจากนั้น ค่า K ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จะได้ค่า Lumen ที่ลดลงเรื่อยๆ
ยกตัวอย่าง
ที่อุณหภูมิสี 3,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 4,200 Lumen (สว่างสุด แต่ผิดกฏหมายถ้าจะเปิดใช้เวลาปกติ)
ที่อุณหภูมิสี 4,300 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 3,800 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 5,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 3,600 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 6,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 3,400 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 8,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 2,700 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 10,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 2,200 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 12,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 2,000 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 15,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 1,800 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 17,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 1,600 Lumen
ที่อุณหภูมิสี 20,000 K จะได้ค่า Lumen อยู่ที่ราวๆ 1,400 Lumen
     ส่วนท่านใดที่สงสัยว่า แล้วหลอดแบบฮาโลเจนเดิมๆที่ติดรถมาได้ค่าความสว่างเท่าไหร่
ก็จะขึ้นอยู่กับกำลัง Watts ของหลอดครับ ยิ่งสูงก็ยิ่งสว่างมากขึ้น
หลอดโรงงานที่ให้มาอยู่ที่ 55 W จะได้ค่า Lumen อยู่ราวๆ 1,200 Lumen ครับ
มาเรื่องสีของแสงกันบ้าง
ที่ค่า 1,000K - 2,400K จะได้แสงสีอมเหลืองถึงเหลือง พบในหลอดฮาโลเจน (Halogen)
ที่ค่า 3,000K จะได้แสงสีเหลือง (Yellow Sun Light) (นิยมติดในไฟตัดหมอกหน้า)
ที่ค่า 3,800K - 6,000K จะได้แสงสีขาวนวลอมเหลือง (Sun Light) (ค่า Original ที่ติดรถจากโรงงานคือ 4,300K อยู่ในช่วงนี้)
ที่ค่า 7,000K - 8,000K จะได้แสงสีขาวนวล (Crystal White)
ที่ค่า 10,000K จะได้แสงสีขาวอมฟ้า (Crystal Blue)
ที่ค่า 12,000K จะได้แสงสีฟ้าอ่อน (Purple Blue)
ที่ค่า 15,000K - 16,000K จะได้แสงสีฟ้าเข้ม (Deep Blue)
ที่ค่า 17,000K - 18,000K จะได้แสงสีอมม่วง (Purple Red)
ที่ค่า 20,000K จะได้แสงสีชมพู (Pink)

 

สรุปให้อีกนิด
ค่า K ยิ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆค่าความสว่างยิ่งลดลงครับ แต่แสงจะเปลี่ยนสีไป ขาวขึ้น สวยขึ้น
ถ้าจะเลือกภรรยา คงต้องเลือกค่า K สูงๆ แต่ถ้าจะเลือก Xenon ควรจะเลือกค่า Lumen สูงๆครับ
สำหรับเรื่องกำลังไฟของหลอดซีนอน
จากที่อธิบายมา จะพบได้ว่า ที่หลายๆคนเคยเข้าใจกันว่า ซีนอนกินไฟมากกว่าฮาโลเจน นั้นผิด
มาดูข้อมูลเปรียบเทียบกันครับ จะเห็นชัดเจน

Wattage (W) ซีนอนใช้ 35W แต่ฮาโลเจนใช้ 55W
Voltage (V) ซีนอนใช้ 12V ฮาโลเจนก็ใช้ 12V
Ampere (A) ซีนอนใช้ 3.2A แต่ฮาโลเจนใช้ 4.8A

Life Time ซีนอนใช้ได้นาน 2,500 - 3,000 ชั่วโมง
แต่ฮาโลเจนใช้ได้นาน 500 - 700 ชั่วโมง