หมวดไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์ => ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า => ห้องไฟฟ้าทั่วไป => เทคนิคการซ่อมพัดลม => ข้อความที่เริ่มโดย: Robert ที่ 04 ตุลาคม 2560, 07:27:57
-
ดัดแปลงพัดลมติดผนังฮาโตริรุ่นมีรีโมท ให้เปิดเองหลังจากไฟดับ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
พัดลมดิจิตอลแบบนี้ มันจะมีรีโมทให้ สดวกสบาย...
ตั้งเวลาเปิดได้ ตั้งเวลาปิดได้...
เปิดปิดสดวก ไม่ต้องลุกไปกด....
จะให้ส่ายหน้าไปทางไหนก็กดๆ เอา ชีวิตช่างสบายนัก
ใครใช้รุ่นไม่มีรีโมทอิจฉาแน่....ที่ต้องลุกไปปรับพัดลม
แต่แล้วอยู่ๆ ไฟดับ ดับไปแค่ไม่กี่วินาทีแล้วก็ติด.....
ไฟดับเป็นเรื่องปกติไปซะแล้ว
เจ้าพัดลมรีโมทที่ทำให้ชีวิตสดวกสบายกลับทำให้เราต้องลำบากไปเปิดมันอีกรอบ(หลังไฟดับ) ส่วนเจ้าพัดลมธรรมดากลับทำงานต่อได้โดยไม่เดือดร้อนเจ้าของที่ต้องไปเปิดอีกรอบ.....
ไหงกลายเป็นพัดลมดิจิตอลทำให้ต้องลำบากไปเปิดอีกรอบล่ะ ?
เกิดนอนหลับอยู่ดีๆ ไฟดับแว๊บแล้วติด ก็ต้องคอยตื่นมาเปิดใหม่งั้นหรือ ?
มาดัดแปลงให้มันมีความจำกันหน่อยดีกว่า....
ให้มันจำได้ว่ามันเคยเปิด พอไฟดับมันจะไม่โดนล้างสมอง พอไฟมามันก็จะเปิดคืนให้อย่างเดิม......
แต่ถ้าเราไม่ได้เปิดพัดลม แล้วไฟดับ พอไฟมา มันก็ไม่เปิดให้ ก็ก่อนหน้านี้เราไม่ได้เปิดไว้ไง (เพิ่มความจำให้มันว่าก่อนไฟดับมัน เปิด หรือ ปิด )
วิธีทำ ใช้งบสัก 50 บาท.....
ราคาไม่รวมเครื่องมือนะครับ เครื่องมือจะต้องมีอยู่แล้ว
เอาเครื่องมือที่ต้องใช้ก่อนละกัน
เครื่องมือที่ต้องใช้
1.คีมตัดสาย
2.ไขควง (ขนาดไหนพิจารณาจากรูของท่านเอง)
3.หัวแร้งบัดกรี+ตะกั่ว
4.เทปพันสายไฟ หรือไฟแช็คพร้อมท่อหด
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.กะบะถ่าน หรือ รังถ่าน ขนาด AA สองก้อน (ก้อนเล็ก) พร้อมถ่านด้วย
2.อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า "ไดโอด" ตัวนี้ราคา 1 บาท บอกร้านเข้าเอาเบอร์ 1N4001 (หนึ่ง เอ็น สี่ ศูนย์ ศูนย์ หนึ่ง)
***ถ้าหาไม่ได้ให้เปลี่ยนตัวท้ายสุดเป็นเลข 2 (เช่น 1N4002)
***ถ้าหาไม่ได้อีกให้เปลี่ยนตัวท้ายสุดเป็นเลข 3
***หาไม่ได้อีกหรือ ? ให้เปลี่ยนเป็น 4 หรือ 5 หรือ 6 หรือ 7 เลยก็ได้
(สุดแค่ 7 พอแล้ว) ถ้ายังหาไม่ได้อีกให้ถอยออกจากร้านก่อน มาพิจารณาว่าเข้าผิดร้านหรือเปล่า
ทำยังไง..........ไว้มาเขียนต่อ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
*** มาต่อภาค 2 ตรงนี้
จากภาพข้างบน คืออุปกรณ์ที่ต้องใช้....
จริงๆ ขั้นตอนที่เหลือก็แทบไม่มีอะไรแล้ว ใครที่บัดกรีไม่เป็นหรือยังไม่รู้ว่าหัวแร้งต้องถือด้านไหน แนะนำว่าอย่าทำเองครับ
สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ ตัดสายสีแดงของลังถ่านให้ขาดออก ...
ย้ำว่าเฉพาะเส้นแดง เส้นดำไม่ต้อง อย่าเผลอตัด(แบบผม)
ถ้าตัดไปแล้วก็ต้องต่อคืน ทำเองรับผิดชอบเอง
ขั้นต่อไป เอาไดโอด มาตัดขาให้สั้นๆ แล้วต่อเข้ากับสายแดงที่ตัดไว้ดังภาพ
ง่ายๆ แค่นี้ ให้บัดกรีเอาให้แน่น
โดยก่อนบัดกรี สำคัญมาก ให้หันขีดสีขาวๆ ของไดโอดให้ขีดสีขาวๆ อยู่ด้านสายแดงฝั่งที่ไม่ใช่ฝั่งลังถ่าน
(ภาพมัวอย่างแรง ตามภาพที่เห็นขีดขาวบนไดโอดจะอยู่ด้านขวามือ)
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
จากนั้นก็พันเทปพันสายไฟให้กับไดโอด หรือจะใช้ท่อหดสวมก็ได้แล้วลนไฟให้มันหด... ไม่รู้จักท่อหด ? ลองไปซื้อมาจะรู้เอง บอกร้านเขาว่าท่อหดนี่ล่ะ ไม่อย่างนั้นก็เทปพันสายไฟก็ได้
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ทีนี้ถึงจุดชี้เป็นชี้ตายของพัดลมแล้ว ทำไม่ดีได้ใช้พัดแทนพัดลมแน่ๆ..
ไปอุ้มพัดลมมาได้แล้ว......
พัดลมที่จะทำต้องเป็นรุ่นติดผนัง หรือ ตั้งพื้น ยี่ห้อนี้เท่านั้น
(ยี่ห้ออื่นผมไม่มีไม่รู้ทำได้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ยี่ห้อนี้แนะนำว่าอย่าเสี่ยงทำตาม)
จัดการเปิดฝาพัดลมได้เลย แค่ฝาฐานด้านหลังพอ ตรงมอเตอร์ไม่ต้องไปแกะมัน หรือแกะก็ได้แล้วส่งต่อให้คนที่ยืนดูแต่ไม่ช่วยงานเอาไปล้างซะ
พอเปิดฝาได้ ให้ถอดน็อตยึดแผงวงจรออก.....
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง...........สำคัญมากๆ..........
คือ.....................อย่าให้น็อตหาย
เอาล่ะ มองหาตัว "Capacitor" แบบในวงสีแดงๆ ให้เจอ
ถ้าบอร์ดไม่เหมือนกัน ก็มองหาตัวที่เป็นลักษณะนี้แต่ควรจะมีแค่ตัวเดียว
ถ้าไม่แน่ใจ กลับมาถามได้ในบล็อคนี้ อย่ามั่วเอา...
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
เจ้าตัวนี้เป็นตัวเก็บประจุของภาคจ่ายไฟ ไฟที่ออกไปจะไปเลี้ยง "CPU"
ฟังไม่ผิดหรอก พัดลมนี่ล่ะมี CPU จริงๆ แต่ไม่ใช่เพนเทียมโฟ
เวลาเราเปิดพัดลม มันจะจำว่าเราเปิด เราตั้งเวลาไว้กี่ชั่วโมง เราตั้งให้สายหรือไม่ มันจำไว้ได้ก็เพราะมันมี "RAM" อยู่ในระบบด้วย
ด้วยข้อจำกัดของแรมคือไฟดับข้อมูลจะหาย ซึ่งใครๆ ก็รู้จริงไหม ถ้าไม่อยากให้หายก็ต้องอย่าให้ไฟเลี้ยงแรมดับเด็ดขาด นี่คือสิ่งที่เราจะทำกันวันนี้ เนื่องจากแรมมันอยู่ในชิบซีพียูเลย ดังนั้นเราก็ต้องเลี้ยงไฟทั้งชิปซีพียูเลย
วิธีที่จะไม่ให้ไฟดับก็คือให้ต่อสายแดงกับดำ ที่ได้จากลังถ่าน(ที่เตรียมไว้+ต่อไดโอดแล้ว)เข้าที่แผงวงจรใต้ตัว Capacitor ที่วงไว้ ง่ายๆ แค่นี้เอง...
แต่........ ต้องห้ามต่อผิดขั้วเด็ดขาด
สายแดง ต่อไปที่ขั้ว + ของ Capacitor
สายดำ ต่อไปที่ขั้ว - ของ Capacitor
เวลาต่อ บัดกรีเอาข้างล่างใต้ปริ้น ไม่ใช่ไปบัดกรีข้างบนล่ะ
พริบตาเดียวต่อเสร็จแล้ว ได้แบบนี้ เห็นสายแดงดำไหม
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า Capacitor ขั้วไหนเป็นบวก/ลบ?
ให้ดูบนแผงวงจรด้านบน จะเห็นเครื่องหมาย + เล็กๆ ด้านนั้นคือขั้วบวก...
หรือดูที่ตัว Capacitor ก็ได้ มันจะเขียนเครื่องหมาย - ไว้ที่ขาด้านที่เป็นขั้วลบ
หรือง่ายกว่านั้น.... ก็ต่อตามภาพไปเลย ไม่ต้องคิดมาก
(แล้วจะเขียนมาทำไมยืดยาว)
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
ในภาพข้างบนนั่น ตัวดำๆ คือ "CPU" ของพัดลม
ดูเฉยๆ อย่าไปยุ่งอะไรมัน อย่าเอาหัวแร้งไปเล่นแถวนั้น ไม่อย่างนั้นนรกมีจริง ตะกั่วช็อทขา CPU เข้าหากันล่ะกู้ไม่กลับแน่
ทีนี้ก็ใส่ถ่านไป 2 ก้อน................
เสร็จแล้ว
ยึดถ่านซ่อนไว้ในฐานพัดลม ประกอบเครื่องคืน แล้วทดสอบความจำพัดลมได้เลย
วิธีทดสอบ...
1.ลองเปิดพัดลมไว้
2.แกล้งทำไฟดับโดยดึงปลั๊กออกตอนที่พัดลมกำลังทำงาน
3.รอสักพัก จำลองว่าไฟดับนาน(หรือไม่ต้องนานก็ได้)
4.เสียบปลั๊กคืน....
5.พัดลมจะทำงานตามสปีดเดิมทุกอย่างเหมือนไม่เคยมีไฟดับมาก่อน ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ
คำเตือน
คำเตือน
คำเตือน
อ่านคำเตือนให้ครบทุกข้อก่อน สำคัญมาก
- ไฟจากถ่านสองก้อนรวมกันแค่ 3 โวลท์ แต่ห้ามจับถ่านเด็ดขาดตอนที่เสียบปลั๊ก !!!! เพราะระบบไฟในพัดลมนี้ใช้ไฟ 220 โดยตรง จะทำให้มีไฟรั่วมาที่ถ่าน 220 โวลท์เต็มๆ
- จากข้อข้างบน ถ้าจะใส่ถ่านให้ทำให้เรียบร้อยก่อนเสียบปลั๊ก หลังเสียบปลั๊กแล้ว ห้ามแตะต้องเด็ดขาด !!!!
- ถ่านให้หาวิธียึดติดซ่อนไว้ในฐานพัดลมให้แน่นหนา ห้ามต่อออกมาข้างนอก ไม่ต้องกลัวว่าจะเปลี่ยนถ่านยาก ถ่านไม่หมดเร็ว ถ้าหมดค่อยไขน็อตออกมาเปลี่ยน
- จากข้อข้างบน เพื่อความปลอดภัยจากคนที่ไม่รู้ไปจับถ่านเล่นตอนเสียบปลั๊ก
- ถ่านต้องยึดให้ดี อย่าวางไว้เฉยๆ ถ้ามันหล่นลงมาโดนแผงวงจรอาจทำให้ไฟลัดวงจรได้ เพราะก้อนถ่านเองเป็นโลหะ
- ถ้าจะทดสอบความจำมันโดยถอดปลั๊กแล้วเสียบคืน โดยที่ยังไม่ปิดฝา ให้กดเปิดด้วยรีโมทเท่านั้น อย่าเสี่ยงแหย่มือไปกดปุ่มบนแผงวงจร
เรื่องถ่านจะหมดเร็วแค่ไหน แล้วมันจะเกิดอะไรถ้าถ่านหมด และอีกหลายๆ อย่าง ฯลฯ ไว้จะมา UPDATE อีกรอบละกัน
UPDATE.......
ใครที่อ่านแล้วและได้ลองทำตาม กลับมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
ถ่านใช้งานได้นานแค่ไหน หรือมีปัญหาอะไรไหม
ของผมถ่านธรรมดาจนปัจจุบันนี้ยังไม่หมดเลยสองปีแล้ว
Create Date : 30 กันยายน 2552
Last Update : 25 มกราคม 2554 0:50:14 น.
:-X เจ้าของเว็บบล็อก มาจากที่นี่... (https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=diy-by-ph&month=30-09-2009&group=2&gblog=3)