อยากเป็นเซียนซ่อมจักรยาน มติชน อคาเดมี อาสาจัดให้
http://info.matichon.co.th/rich/rich.php?srctag=07039010556&srcday=2013-05-01&search=no
วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 19 ฉบับที่ 324
รายงานพิเศษเจาะเทรนด์ธุรกิจ จักรยานปั่นกระแสร้อน 2 ล้อพารวย
อยากเป็นเซียนซ่อมจักรยาน มติชน อคาเดมี อาสาจัดให้
เพราะในปัจจุบัน “จักรยาน” ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผู้สนใจหันมาขับขี่จักรยาน เพิ่มขึ้น กลุ่มคนที่ใช้จักรยานก็มีทั้งวัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อออกกำลังกาย หรือใช้ในชีวิตประจำวัน แทนรถยนต์
จักรยานมีหลายแบบหลายประเภทให้เลือก ซื้อให้เหมาะกับร่างกาย การใช้งานและถนนหนทางซึ่งที่สำคัญก็คือเมื่อซื้อมาใช้แล้วมีปัญหา ควรแก้ไข ซ่อมบำรุงอย่างไร เวลาเอาไปปั่นแล้วเกิดมีปัญหา เช่น โซ่ขาด, ยางแตก, เบรกติด จะซ่อมอย่างไร เพื่อให้รถจักรยานสามารถขี่ต่อไปได้
ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน หรือ มติชน อคาเดมี ก็ไม่ยอมตกเทรนด์จักรยานที่กำลังร้อนแรง ตัดสินใจเปิดหลักสูตรสำหรับการซ่อมบำรุง ดูแลรักษา และสามารถไปต่อยอดเพื่อไปเป็นช่างซ่อมจักรยานมืออาชีพได้ในอนาคตเลย
โดย “หลักสูตรช่างซ่อมจักรยานและการเปิดร้าน” จะเปิดเป็นครั้งแรก ในวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2556 ใช้เวลาในการเรียน 1 วันเต็ม (เวลา 09.00-16.00 น.)
“หลักสูตรช่างซ่อมจักรยานและการเปิดร้าน” จะมีวิทยากรอบรมหลักสูตรคือ อาจารย์สรวัชร์ ชยาเมธิสุรัตน์ ผู้มีประวัติการทำงาน เป็นนักแข่งจักรยาน Down Hill และเป็นช่างซ่อมจักรยาน ที่ร้าน DBA และ Velothai และ จั๊มพ์สปอร์ต เกี่ยวกับ BMX
ความรู้ที่ได้รับเมื่อเรียนจบหลักสูตร
ผู้ที่ได้เข้าเรียนในหลักสูตร ซ่อมจักรยานเบื้องต้น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการซ่อมบำรุง รักษาสภาพรถจักรยานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น และนำเทคนิคไปบอกให้เพื่อนๆ ชาวจักรยานในกลุ่มได้ และนำไปต่อยอดสำหรับผู้ที่คิดจะเปิดร้านซ่อมจักรยานเล็กๆ ได้
ลักษณะการเรียนการสอน
การจะเลือกจักรยานมันเหมือนกับการเลือกซื้อเสื้อผ้า ต้องดูที่ขนาดตัว ความสูง อย่างคุณสูง 170 เซนติเมตร 16.5 ก็ได้ หรือ 17 ก็ได้ บางคนไม่รู้ไปเอาขายาวขาสั้นไม่เท่ากัน บางคนตัวยาวช่วงสั้น บางคนตัวได้แต่แขนยาว สรีระคนเราไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
เกี่ยวกับการทำจักรยาน
จริงๆ การทำจักรยานมันเหมือนจะยาก อย่างวันสอน ครึ่งวันเช้า มันก็ได้พวกปรับจูนละเอียด เทคนิคก็ไม่ได้ยากมาก เราแค่รู้จุดว่า เราควรตั้งอะไร เพราะว่าจักรยานบางทีเหมือนจะยาก แต่ถ้าลองทำไปแล้ว มันแค่นี้เองหรอ เพราะว่าทริกเล็กๆ คนไม่รู้มี จริงๆ แค่ปรับนิดหนึ่ง จูนนิดเดียว ภายในวันเดียวก็น่าจะได้ แต่เครื่องมือต้องพร้อม เพราะเครื่องมือพวกนี้เป็นเครื่องมือเฉพาะ อย่างรถบางรุ่น ใช้ไม่เหมือนกัน
การประกอบ สามารถทำเป็นคอร์สเรียนได้
เพราะทุกคนต้องรู้จักชิ้นส่วน อันดับแรกเลย เราซื้อเฟรมมาเท่านี้ กะโหลกเท่านี้ ขาจานจะมี 170, 175 เราต้องเลือกเอา เราจะเอาสโตรกไหน คือถ้า 175 สโตรกเราก็จะได้กว้างมากขึ้น แล้วเราก็ดูว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้เหมาะกับเราไหม และชุดเกียร์ชิมาโน่ สแลม มันสามารถที่จะใส่กันได้ไหม แต่ถ้าเอาง่ายๆ ก็คือ ชิมาโน่ ของชิมาโน่ทั้งหมดเซตง่ายสุด ไม่ว่าจะเป็นล้อ เราก็ตามแล้วแต่ว่าเจ้าของรถว่า เราจะเน้นอะไหล่ ถูกแพงเท่าไร มันอยู่ที่ค่านิยมของเจ้าของ ถามว่าประกอบยากไหม มันจะมายากตรงถ้วยคอต้องมีตัวดัน แต่ถ้าแบบงานดิบๆ ทุกอย่างใช้การอะแดปต์เอาได้ อย่างเรื่องกะโหลก ก็ต้องมีตัวขันกะโหลก ว่ากะโหลกตัวนี้เป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่
ในการเรียนหลักสูตรจักรยาน ต้องเรียนกี่วัน
ถ้ามีการตั้งล้อ ต้องเรียน 2 วัน ตั้งล้อคือสิ่งสุดท้าย เป็นงานที่หินสุด หัวใจสำคัญทั้งหมดของจักรยานก็คือจุดหมุนทั้งหมดคือ กะโหลก ถ้วยคอ ล้อ เกียร์ เป็นต้น อย่างการไขว้ล้อจักรยานมันจะมี 2 แบบ 1. อเมริกันสไตล์ แบบมอเตอร์ไซค์ มันก็จะแข็งแรงหน่อย 2. แบบชิมาโน่ ก็จะต่างกัน
งานจักรยาน ทำและน่าเบื่อที่สุดคือการทำวงล้อ ภายในวันเดียวไม่ได้ เพราะว่ามันจะมีการดึงซ้าย ดึงขวา เต้นขึ้น เต้นลง วงล้อแต่ละดุมไม่เหมือนกัน ปลีกดุมบางอันกว้างเล็กก็มี ต้องเลือกซีกลวด เพราะซีกลวดจะไม่เหมือนกัน
“หลักสูตรช่างซ่อมจักรยานและการเปิดร้าน” ราคา 1,605 บาท
เรียน 1 วัน เวลา 09.00-16.00 น.
– การใส่และการถอดแหวนรองถ้วยคอ, การอัดถ้วยคอ
– การประกอบชุดกะโหลก
– การใส่จานและสับจาน, การตัดโซ่
– การปรับตั้งระยะ L-H ของสับจานและตีนผี
– การประกอบมือเกียร์และมือเบรก, การปรับตั้งเบรก
– การปรับหลักอานและแฮนด์
– การตัดซางโช้ก
– การถอดโม่และการปรับตั้งล้อ, การตั้งจี๋
– การถอด การบำรุงรักษา และการประกอบชุดเฟือง
– การทำความสะอาดดุมล้อและการประกอบล้อ
– การถอดและการอัดตลับลูกปืนกะโหลกกลวง