ก่อนอื่นต้องบอกกันก่อนว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการนครพนม นั้นชื่อเดิมเมื่อตะกี้ว่า วิทยาลัยสารพัดช่างนครพนม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เด้อ... ไม่ใช่โรงเรียนของเอกชน มีมาตรฐานการเรียนการสอนมายาวนาน เป็นที่ยอมรับในวงการช่างยนต์ แต่เนื่องจากภาระกิจเปลี่ยนไป ต้องมารับหน้าที่แทนวิทยาลัยเทคนิคนครพนม เพราะเค้าไปดีแล้ว (ไปหลอมรวมกับอีกหลายวิทยาลัย กลายเป็น ---> ม.นครพนม แต่ชื่อเทคนิคไม่ยอมคายซะที จนมาเมื่อปี 57 เขาเลิกใช้ ไปใช้เป็นชื่อคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สังกัด มหาวิทยาลัยนครพนม อีกหน่อยได้ยินแว่วๆ มาว่า วิทยาลัยฯคงได้เปลื่ยนชื่อกันอีกแหละ มีอาถรรพ์จริงๆ)
เอ้า... ออกไปกลางทุ่งแล้ว กลับมาเรื่องการสมัครเรียนกันดีกว่า แผนกอื่นๆ...ไม่ต้องพูดถึง เรามาพูดถึงแผนกวิชาช่างยนต์
เรียนที่เราดีอย่างไร
จาระไนให้ฟัง ชัด ๆ เอาเป็นข้อๆ กันไปเลย
1. เอาเป็นว่าใครจบ ม.3 มีเกรดเฉลี่ย จบ ม.3 มา ไม่ต่ำกว่า 2.5 จะได้รับการพิจาณาให้ได้รับทุนมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย จังหวัดนครพนมสายอาชีวะ ได้รับ 2 ทุน ทุนละ 20,000 บาทต่อปี เขาให้ 3 ปีจนจบ ปวช. สรุปคือได้ 60,000 บาทต่อทุน ที่ผ่านมา ปีที่ 1 (2557) วิทยาลัยฯ เราได้ 2 ทุนเลย ปีที่ 2 (2557) วิทยาลัยฯ ได้ 1 ทุน อีกทุนเป็นของ วก.นาแก ปีที่ 3 (2558) ก็ยังไม่รู้ การพิจารณานั้น ประกอบด้วย คุณสมบัติเบื้องต้นว่าเกรดถึงมั๊ย ฐานะทางบ้านเป็นอย่างไร ช่วยเหลือสังคมบ้างไหม ช่วยเหลือแผนกวิชา เช่น ออกอาชีวะอาสา แข่งขันทักษะวิชาชีพ ในชั่วโมงได้รับคำชมจากครูแต่ละคนว่า ตั้งใจเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ อะไรประมาณนี้ สรุปว่า ที่ผ่านมานั้น นักเรียนอย่างที่พูดมานี้ หาทำยายาก ถ้าท่านมั่นใจว่าคุณสมบัติท่านเป็นอย่างที่กล่าวมา ท่านมีโอกาส 90 % เลยทีเดียว สำหรับวิทยาลัยฯของเรา นักเรียนช่างยนต์รับปีหนึ่งประมาณ 60 คน ท่าน เราไม่มาก บางวิทยาลัยฯ นักเรียน ปี 1 ช่างยนต์ หลาย
2. เรียนที่เรา โดยเฉพาะช่างยนต์ ระหว่างเรียนมีรายได้เสริม จากการออกโครงการต่างๆ เช่น โครงการอาชีวะอาสา ซึ่งมีเป็นประจำทุกเทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ครูจะนำนักเรียน ไปตั้งเต็นท์ให้การบริการ ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ให้กับผู้สัญจรไปมา บริเวณสามแยกบ้านหนองญาติ นักเรียนบางคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมีโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (Fix it Center) ปี 58
วิทยาลัยฯ ได้รับจำนวน 3 ศูนย์ ครูจะนำนักเรียนไปออกซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ ตามตำบล อำเภอเป้าหมาย เรียนกับเราดีอย่างนี้แหละ ฝึกพวกเราให้มีจิตบริการ ได้รู้จักการปฏิบัติงานร่วมกันกับพวกเรากันเอง และประชาชนที่มารับบริการ ทั้งการพูดคุยทักทายกัน การให้บริการด้านวิชาชีพ (ซ่อม)
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบ