C4A + คันมือ โปรเจค
# พิเศษ ประกอบคอมพิวเตอร์ฟังเพลงตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบ [size=16pt
]C[/size]4A กลับมาแล้วครับ หลังจากที่ไปปล้ำกับเครื่องที่จะนำมาแนะนำนี้อยู่นาน ก็ได้เวลาคลอดแล้วครับ กราบสวัสดีกระผมนายทองดีเจ้าเก่ามาแล้วครับ มาคราวนี้มาตามคำสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับในการฟังเพลงโดยเฉพาะ ซึ่งในสเตปแรกนี้จะนำมาให้ชมกันแบบง่ายและใช้งบประมาณน้อยที่สุดกันก่อน โดยเริ่มจากการหาเมนบอร์ดที่ใช้อแดปเตอร์ 19V หรือใช้ภาคจ่ายไฟเดี่ยว ซึ่งเริ่มมีเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรากันบ้างแล้วทำไมต้องเป็นเมนบอร์ดที่ใช้ภาคจ่ายไฟเดี่ยว ก็เพราะภาคจ่ายไฟที่เราต้องการใช้คือ Linear power supply นั้นทำง่ายและประหยัดที่สุด โดยตามปกติเมนบอร์ดที่เราใช้นั้น จะต้องการไฟที่ใช้บนบอร์ด 3 ชุดคือ 12V 5V 3.3V โดยไฟทั้ง3ชุดนี้จะมาจาก psu ทั้งหมด แต่คราวนี้เราเลือก เมนบอร์ดที่ต้องการไฟเลี้ยงแค่ชุดเดียวคือ 19V จากนั้นวงจรบนตัวบอร์ดจะแปลงเป็นไฟ 3 ชุดเพื่อมาจ่ายให้เมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็ยังคงเป็นวงจรแบบสวิชชิ่งเช่นเดิม แต่เนื่องจากไฟที่เราจ่ายให้กับตัวเมนบอร์ดเป็นไฟเลี้ยงที่ออกมาจาก Linear power supply จึงทำให้สัญญาณรบกวนที่เกิดจากการสวิชชิ่งนั้น ค่อนข้างน้อย จึงส่งผลให้การนำมาใช้งานของคอมพิวเตอร์ตัวนี้ มีคุณภาพในการเล่นไฟล์เพลง ดีกว่าการใช้ภาคจ่ายไปแบบ สวิชชิ่งค่อนข้างมาก จึงเป็นที่มาของ C4A ในวันนี้
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบเริ่มจากเมนบอร์ดตามที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น ในที่นี้เราใช้เมนบอร์ดของทาง MSI J1800TI เป็นบอร์ดตัวบาง THIN MINI-ITX DESGIN ซึ่งมี cpu Intel Celeron J1800 Onboard มาให้เลย cpu ไม่จำเป็นที่ต้องแรงเลย ใช้ตัวต่ำๆถูกก็ได้เราใช้แค่ฟังเพลงครับ ส่วนแรมขอเป็นไม่ต่ำกว่า 8 Gb. ส่วน Hdd เราก็ใช้แค่ลง windows เลยไม่ต้องใช้ขนาดใหญ่โตอะไรมากก็ได้ ส่วนไฟล์เพลงที่เก็บอยากให้ใช้เป็น ssd ไปเลยเพื่อการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งมีผลต่อเสียงค่อนข้างมาก ในส่วนของเครื่องคอมไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เพราะหัวใจของคอมชุดนี้อยู่ที่ ภาคจ่ายไฟครับ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบLinear power supply ของเรา วงจรเป็นแบบไม่มีอะไรเป็นพิเศษเลย เริ่มจากหม้อแปลงไฟ เพื่อลดไฟ AC จาก 220V เป็น 14V ผ่านไดโอดบริจ เพื่อแปลงให้เป็นไฟ dc แล้วส่งต่อ ให้กับ C แบบ อีเลคโตรไลติคเพื่อกรองไฟให้เรียบอีกทีหนึ่ง แค่นี้จริงๆครับ จากในภาพจะเห็นว่าหม้อแปลงที่เราใช้ เป็นแบบ EI อาจจะมีหลายคนสงสัยว่าทำไมไม่ใช้แบบเทอรอยด์ไปเลย เหตุผลแรกก็คือ หม้อแปลง EI ราคาถูกกว่าและจากการทดสอบ คุณภาพของหม้อแปลงเทอรอยด์ในบ้านเราเมื่อเทียบกับแบบ EI ผมว่า แบบ EI ให้พลังที่หนักหน่วงกว่า มีผลให้พลังของเสียงทุ้มที่ได้ดีกว่าครับ อันนี้นานาจิตตัง ใครจะเลือกใช้แบบเทอรอยด์ก็ได้ ไม่มีปัญหาครับ วิธีต่อก็ไม่ยากเพื่อความเป็นระเบียบของอุปกรณ์ เราก็ใช้แผ่นปริ้นเอนกประสงค์ แล้วก็ต่อไล่ตามวงจรด้านล่างนี้เลย ระวังต่อผิดขั้วแค่นั้นเอง
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบวงจรของ Linear power supply ก็ตามนี้ครับ หม้อแปลง EI ก็ไปสั่งพันได้ตามร้านรับพันหม้อแปลงทั่วๆไป เวลาบอกที่ร้านก็บอกเขาว่า สั่งพันหม้อแปลง 14-0-14 VAC 7A แค่นั้น ทำไมต้องเป็น 14V ก็กระแส AC เมื่อผ่านไดโอด จะกลายเป็นกระแส DC (แบบไม่เรียบ) ค่าที่ได้จะคูณด้วย 1.414 เราจะได้กระแสออกมาเป็น 14x1.414=19.796V ก็ประมาณ 19.8 V เกินไปนิดหน่อยไม่เป็นปัญหา ได้กระแสตามที่ต้องการ ส่วนไดโอดบริจใช้ขนาด 20A เผื่อไว้หน่อย ใช้ขนาดใหญ่กว่าได้ แต่อย่าให้เล็กกว่านี้ ส่วน C เราใช้ Elna 4,700uF/25V ต่อขนานกันจำนวน 20 ตัว จะได้ค่ารวมสูงถึง 94,000uF ค่าสูงๆแบบนี้จะเป็นผลดีต่อเสียงอย่างมากโดยเฉพาะแรงกระแทกกระทั้นและความมีพลังของเสียงเบส ค่าของ C ข้อควรระวังโดยเฉพาะ V อย่าต่ำกว่านี้เด็ดขาด อาจระเบิดได้ ส่วนจะใช้ค่ามากกว่านี้ก็ตามสบายเลย เล่นแบบ ออดิโอเกรดได้ก็ยิ่งส่งผลดีต่อเสียงอย่างมากถ้าจะไปแคปก็จัดลงไปได้เลย ต่อขนาด C แบบโพลีโพรไพลินขนาดสัก 1 uF และไตรแคปด้วย C แบบ โพลีสไทรลินค่า 0.01 uF ก็ช่วยให้เสียงกลางและแหลมน่าฟังขึ้นอีก
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบใส่สวิทเปิด ปิดเข้าไปด้วย ไฟที่ตัวสวิทจะได้เป็นไฟบอกสถานะไปในตัว
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบใช้ขั้วต่อไฟแบบ IEC เพื่อให้เลือกใช้สาย AC ได้ตามใจชอบ ไฮเอนด์ขึ้นมาเลยทันที
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบในส่วนของ output ที่เป็น DC นั้นก็ใส่ขั้วต่อแบบเปลี่ยนได้ เพื่อว่าจะนำ Linear power supply ไปใช้กับเครื่องอื่นๆได้
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบครบสูตรทั้ง input และ output สายทั้ง2 เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบพร้อมใช้งาน ต่อสาย USB เข้ากับ DAC ก็ใช้งานในการฟังเพลงได้ในแบบนักเล่นเครื่องเสียงตัวจริงกันแล้ว
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบลองกับ DSD DAC ของ DIY จากจีน ต่อ input เข้าทาง USB โดย output เราใช้สาย XLR เพื่อเข้าสู่ปรีแอมป์
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบDAC เพิ่งจะเสร็จสดๆร้อนๆเลยยังไม่ได้จัดลงกล่องให้เรียบร้อย เอาเบาะรองเพื่อกันไม่ให้แผงวงจรถูกลัดวงจรจนเจ๊งก่อนที่จะได้ลอง
ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง
สมัครสมาชิก หรือ
ลงชื่อเข้าระบบทดลองฟังโดยใช้โปรแกรม JRiver ใช้ไฟล์ DSD ที่เราทำกันเอง โดยตอนแรกเราลองใช้ adapter 19V ทั่วๆไปในการทดสอบก่อนเพื่อที่จะเปรียบเทียบกับ Linear power supply ที่เราทำขึ้นมา อัลบั้มแรกเราใช้เพลงของ Pat Coil เปิดโวลลุ่มค่อนข้างดังประมาณ 10 นาฬิกา เสียงออกแนวมั่วมาก โฉ่งฉ่างหาโฟกัสไม่ได้ ต้องลดโวลลุ่มลงมาไม่งั้นฟังแล้วอึดอัดน่ารำคาญ ทำให้เราต้องรีบเปลี่ยนมาใช้ Linear power supply ตัวที่เราทำใหม่ขึ้นมาเพราะอยากรู้ว่า ปัญหามันเกิดจาก power supply ที่ใช้หรือไม่ หลังจากที่เปลี่ยน ช่วงเวลาที่บูทเครื่องเราก็รอลุ้นด้วยความระทึกใจว่า มันจะได้ผลที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากขนาดไหน หลังจากบูทเครื่องเสร็จ เราก็เริ่มทดสอบอีกครั้ง โดยใช้เพลงเดิมใน อัลบั้มของPat Coil เพลงแรก Sierra Highways บอกได้เลยว่า แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาการเสียงมั่วๆ โฉ่งฉ่าง หนวกหูหายไปหมด มีโฟกัส เสียงแหลมจากที่มีอาการบาดหูไม่เจอเลย ระยิบระยับน่าฟัง เสียงทุ้มหนักแน่นมีพลัง นี่ซิถึงจะเรียกว่าไฮไฟ หลุดออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสิ้นเชิง ก้าวข้ามสู่ความเป็นออดิโอไฟล์อย่างแท้จิง
เราลองฟังเพลงหลากหลายอัลบั้ม ต่างสไตล์ ไม่ว่าจะเป็น pop rock jazz อย่าง Eagles hell freezes over,ADELE 25,Growing up in Hollywood Town,I got the music in me ไล่เอามาลองให้หมด เสียงก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ น่าฟังกว่าเดิมแยกแยะรายละเอียดและโฟกัสได้ดี เสียงแหลมสะอาดกว่าเดิมมาก เสียงทุ้มหนักแน่นมีพลัง สรุปได้เลยว่า power supply ในคอมพิวเตอร์ มีผลต่อเสียงมากและถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ก้าวสู่ระดับ ออดิโอไฟล์ได้เลย ฟันธงให้ไปทดลองกันเลยแล้วคุณจะได้พบกับประสบการณ์ที่ไม่เคยได้รู้มาก่อนจากคอมพิวเตอร์ชุดเดิมๆ
และในคราวต่อไป เราจะก้าวขยับขึ้นไปอีกระดับ โดยการใช้เมนบอร์ดที่ไม่ใช้ภาคจ่ายไปชุดเดียวอีกต่อไป ใครที่เตรียมคิดว่าจะอัพเกรด psu ของคุณเพื่อให้เข้าสู่ระดับออดิโอไฟล์พลาดไม่ได้ครับ วันนี้กระผมนายทองดีคงต้องขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks :
www.msi.com for m/b J1800TI