ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อพวงมาลัยหนักผิดปกติ ควรตรวจสอบเรื่องใดบ้าง  (อ่าน 1541 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ระบบบังคับเลี้ยวในรถยนต์ หรือจะเรียกว่าระบบพวงมาลัยก็ได้
สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระบบพวงมาลัยแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Power Steering) และระบบพวงมาลัยแบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ในการเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรถยนต์แต่ละรุ่นที่โรงงานได้ออกแบบมาตั้งแต่แรก อาการพวงมาลัยหนักกว่าปกติอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. แรงดันลมยางอ่อนกว่าปกติ หรือ กรณีเปลี่ยนล้อคู่หน้าใหม่ เพื่อเพิ่มความกว้างของหน้ายางให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้หน้ายางสัมผัส กับพื้นถนนมากขึ้นกว่ารุ่นเดิม เป็นผลทำให้พวงมาลัยหนักกว่าปกติ
2. ศูนย์ล้อของรถผิดไปจากมาตรฐานของโรงงาน
3. ท่อทางเดินน้ำมันเพาเวอร์ และวาล์วน้ำมัน เกิดอุดตันจาก สิ่งสกปรกที่ปะปนมากับน้ำมัน อาจทำให้ตัวปั๊มเกิดสึกหรอ และอายุการใช้งานสั้นลง
4. ระดับน้ำมันเพาเวอร์ในกระปุกต่ำกว่าขีดต่ำสุด (Lower Level) ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึมของน้ำมันเพาเวอร์ ตามชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ท่อน้ำมันแรงดันสูง, ท่อน้ำมันแรงดันต่ำ, ปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์, แร็คพวงมาลัย เป็นต้น
  โดยสังเกตได้จากรอยน้ำมันที่หยดลงบนพื้นที่จอด หรือให้สังเกตจากเสียงดังขณะเลี้ยว หรือการหมุนพวงมาลัยซึ่งหากเกิดจากน้ำมันเพาเวอร์พร่อง เกินขีดที่กำหนด ก็มีโอกาสที่จะทำให้มีอากาศเข้าสู่ในระบบไฮดรอลิค ในกรณีเช่นนี้ อาจเกิดความเสียหายต่อปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ได้

5. การใช้น้ำมันเพาเวอร์ผิดประเภท ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยหนัก เพราะลักษณะเฉพาะของระบบบังคับเลี้ยวรถยนต์ แตกต่างกัน ดังนั้นน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ในรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนั้นจึงไม่เหมือนกัน และไม่สามารถใช้ชนิดเดียวกันได้ ถึงแม้ข้างกระป๋องจะเขียนว่าเป็นน้ำมันเพาเวอร์เหมือนกันสำหรับรถยนต์ฮอนด้า แนะนำให้ใช้ตามที่บริษัท ฮอนด้าเป็น ผู้กำหนดและเปลี่ยนถ่ยน้ำมันตามกำหนด จะช่วยให้มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานขึ้น
6. ข้อต่ออ่อนบนแกนพวงมาลัยเกิดเสื่อมสภาพหรือเสียหาย รวมถึงระบบช่วงล่าง อาจเกิดได้กับรถยนต์ที่ขาดการบำรุงรักษาและไม่ค่อยได้รับการตรวจเช็ค ทำให้พวงมาลัยหนัก พวงมาลัยไม่ตีกลับ
7. มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ (เฉพาะรุ่นที่เป็นพวงมาลัยไฟฟ้า EPS) หากตรวจสอบพบว่า มีสัญลักษณ์ไฟเตือนพวงมาลัยไฟฟ้า(สีส้ม) ติดสว่างขึ้นบนมาตรวัด ในขณะขับขี่ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมรถ เนื่องจากพวงมาลัยจะหนักกว่าปกติ 
    อย่างไรก็ดี ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการ   สันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น หากมีอาการพวงมาลัยหนักกว่าปกติ ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์ บริการเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai