จากการที่ debug card ขึ้น error code อยู่ที่ d7 นั้น ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า ในส่วนของระบบไฟ cpu เป็นปกติ เพราะหากระบบไฟ cpu ผิดปกติ ตัว debug card จะไม่ขึ้น error code ใดๆเลย หรือทดสอบง่ายๆก็ลองใช้มือจับไปที่ตัว cpu ดู หาก cpu ร้อน นั่นก็แสดงว่า มีไฟจ่ายมาเลี้ยงที่ cpu แล้ว เราจึงไม่จำเป็นต้องตรวจเช็คระบบไฟ cpu ก็ได้ แต่ถ้าจะเอาให้ชัวร์เลย ก็ลองวัดไฟเลี้ยง cpu ดูก่อนก็ได้ครับ แต่ในบทความนี้จะข้ามขั้นตอนนี้ไป เมื่อเรามาวิเคราะห์ถึงการที่ debug card ขึ้น error code อยู่ที่ d7 นั้นจะเป็นที่อะไรได้บ้าง จากเท่าที่เคยซ่อมเมนบอร์ดมา หาก debug card ขึ้น error code มาถึงที่ d7 แล้วนั้น ก็วิเคราะห์ได้ว่า ในส่วนของชุด ram ไม่มีปัญหา แรมไม่เสีย ระบบไฟเลี้ยงแรมก็น่าจะเป็นปกติ แต่เพื่อความมั่นใจจึงได้ทำการวัดไฟเลี้ยงแรมดูก็พบว่าไฟเลี้ยงแรมก็มาตามปกติ คืออยู่ที่ 1.8 โวลท์ เมื่อระบบไฟทุกอย่างเป็นปกติ จึงได้ทำการทดลอง flash bios โดยการโหลดไฟล์ไบออสมาจากเว็บไซต์ของ asrock ครับ
ชิพ bios ที่จะนำมา flash และเครื่อง flash bios
ขั้นตอนการ flash bios
หลังจากที่ได้ทำการ flash bios แล้ว จึงได้ทำการทดสอบ เมื่อเปิดเครื่องแล้วก็พบว่าที่ตัว debug card ไม่ขึ้น error code ค้างที่ d7 แล้ว ตัว debug card ในส่วน code ก็จะ run ไปตามปกติ และไปหยุดค้างที่ code 00 (debug card บางตัว อาจขึ้น FF) ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ตัวเมนบอร์ดสามารถทำงานได้ปกติแล้ว พร้อมที่จะแสดงภาพแล้ว จึงได้ทำการทดลองต่อกับจอดู ก็พบว่าภาพขึ้นมาเป็นปกติแล้ว ก็เป็นอันปิดงานซ่อมเมนบอร์ด asrock รุ่น M3A-GLAN นี้ครับ
เมนบอร์ดทำงานปกติ debug card จะขึ้น code 00
คลิปหลังซ่อม debug card ขึ้น code 00 เมนบอร์ดขึ้นภาพเป็นปกติ ผ่านเรียบร้อย
บทสรุป
บทความการซ่อมเมนบอร์ด Asrock รุ่น M3A-GLAN คงมีแค่นี้ ในการตรวจเช็คหากไม่มี debug card ก็ให้ทำจากของง่ายๆไปก่อน เริ่มตั้งแต่ลองเปลี่ยน แรม ซีพียู power supply เป็นต้น ซึ่งถ้าหากได้ทำการเปลี่ยนทุกอย่างหมดแล้ว ตัวที่เสียก็จะเป็นที่เมนบอร์ด แต่อุปกรณ์บนเมนบอร์ดตัวไหนที่จะเสีย ก็ต้องตรวจเช็คกันอีกทีครับ แต่โดยส่วนใหญ่ทุกวันนี้ หากเมนบอร์ดเสีย น้อยคนที่จะซ่อม ส่วนใหญแล้วก็เลือกที่จะเปลี่ยนบอร์ดไปเลยมากกว่า หวังว่าบทความนี้คงพอมีประโยชน์อยู่บ้างนะครับ หากมีปัญหาอะไร สามารถสอบถามได้ที่เว็บบอร์ด หรือที่บทความนี้ได้เลยนะครับ
prakobcom.com