ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข  (อ่าน 2644 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37146
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
« เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:12:55 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ระบบดิสเบรก

    ระบบดิสเบรคจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรค) , ผ้าดิสเบรค ,
    ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรคจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบาย
    ความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรคที่เปียก
    น้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรคก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ
    ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรคมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมัน
    เบรคให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรคจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรคของเบรคครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า
    เบรกแบบนี้ ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน เมื่อบีบคันเบรกมือลูกสูบของแม่ปั๊มเบรกจะ
    เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้น้ำมันเบรกเกิดแรงดันไหลไปตามท่อไปดันลูกสูบของ ชุดคาลิเปอร์กดแผ่น
    ผ้าเบรกซึ่งประกบอยู่ทั้งสองด้านของจานเบรก จานเบรกจะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จานเบรกจะหมุน
    ไปพร้อมกับล้อ ดังนั้นเมื่อจานเบรกถูกบีบ ล้อก็จะมีความเร็วลดลงหรือหยุดได้ตามความต้องการ

    ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก

    1.จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่
    สม่ำเสมอเชื่อถือได้

    2.ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการท ำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลัง
    ในการเบรก ระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรก
    แล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง

    3. จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไป
    เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ

    4.เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอ ันสั้นด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เนื่องจากมีข้อดี
    มากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรก หน้า เพราะขณะทำการเบรก ภาระแทบ
    ทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์ เบรกกับล้อหน้า
    ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่ง
    เพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่น
    ยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อห น้า และล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง
    ชุดคาลิเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้า ทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก

    แบบของดิสก์เบรกนั้นถูกแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 แบบคือ

    1.แบบลูกสูบตรงกันข้าม แบบนี้มีลูกสูบ 2 ลูกอยู่ตรงกันข้าม แผ่นผ้าเบรกทั้งคู่ถูกกดด้วยลูกสูบตามลำดับ

    2.แบบลูกสูบลูกเดียว แบบนี้มีลูกสูบลูกเดียว เมื่อแผ่นผ้าเบรกด้านลูกสูบถูกกดให้สัมผัสกับจานเบรก
    แผ่นผ้าเบรกอีกด้านหนึ่งก็จะเคลื่อนตัวมาสัมผัสกับจา นเบรก ด้วยแรงปฏิกิริยา ดังนั้นจานเบรกจึงถูกบีบ
    โดยผ้าเบรกทั้งคู่ ดิสก์เบรกแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลอย
    ข้อดีลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบร ก
    นอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระ บบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขัง
    อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า

    ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก
    ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก
    ทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก

    ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้

    2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
    ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิเปอร์) วางประกบกับจานเบรก
    เพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดขอ งลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรก
    ทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
    ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด

    2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
    พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมี
    ลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเอง
    ซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป
    ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจาน เบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรก
    ก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั ้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบ
    กับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก

    2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
    หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรก
    โดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกป ั้ม
    ตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้าน พร้อมๆ กัน
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:15:45 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • อาการเบรคแบบต่างๆ

    เบรคตื้อ

    เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรค แล้วรู้สึกว่า เบรคมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรค
    มากๆ อาการเบรคตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูด
    ไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว


    เบรคต่ำ

    เวลาเหยียบเบรคแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรคจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรคค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการ
    ของเบรคต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรคบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรค
    ลดลง ต้องออกแรงเบรคมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรคซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง

    เบรคติด

    อาการเหมือนรถมีอาการเบรคทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย
    -ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่น
    ของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถ
    เคลื่อนตัวเข้าออกได้
    การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามี
    สนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด

    เบรกแตก

    คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อน
    แล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก

    สาเหตุ

    1. เกิดจากรั่วของน้ำมันเบรค เช่นสายอ่อนเบรคแตก ท่อแป๊ปเบรคแตก หรือน้ำมันเบรครั่วซึมมาเป็น
    เวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรค และแม่ปั้มเบรคเก่า เสียหายจนน้ำมันเบรครั่วไหลออกจนหมด

    2. ผ้าเบรคหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรคหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับ
    การเปลี่ยน ผ้าเบรคจะบางมากจนหลุดออกจากฝักก้ามปูเบรค จะทำให้ลูกสูบเบรคหลุด เบรคจะแตก
    ทันที

    3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรค (ที่ตั้งได้ไขไม่
    แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรคหลุด ฝักเบรค หรือคาริบเปอร์เบรคยึดไม่
    แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรคประกอบไม่แน่นหลุดออก

    4. สายอ่อนเบรคแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรคกลับ
    พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลาเหยียบเบรคเบาๆแรงดันน้ำมันเบรคต่ำก็รู้สึกดี แต่พอ
    เวลาคับขัน เหยียบเบรคกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรคก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และ
    การติดตั้งสายอ่อนเบรคไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ


    เบรคหมด

    คืออาการ เบรคแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรคลื่นๆ เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรคหมด
    ผ้าเบรคบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบ รคเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณ
    เตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรคสีกับจน
    เบรคเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรคใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก



    เบรคสั่น

    คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรคเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรคสั่นมากๆจะรู้สึกสั่น
    ถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรค เกิดอาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน

    สาเหตุเกิดจาก จานเบรคเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรคที่ร้อน
    จัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรคสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้
    เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรค และดรัมเบรค

    เบรคเสียงดัง

    อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรค ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรค และจานเบรค เช่นผ้าเบรคหมด
    จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรคเป็นรอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจาน
    เบรคใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรคก็ใหม่ จานเบรคก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้าเบรคเอง ผ้าเบรคที่
    ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง
    แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไปเรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ถือว่า
    เป็นวิธีการที่ดีที่สุดครับ

    เบรคเฟด

    คืออาการเบรคลื่นๆ เบรคไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรคแบบ
    หักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรคครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี
    พอแตะเบรคอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เห ยียบเบรคเลย ถือว่าน่ากลัวมาก

    สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรคที่สูงเกินไป จานเบรคที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า
    1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การ
    ระบายความร้อนของจานเบรคไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้เสีย
    หาย ไม่สามารถจับจานเบรคให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรคที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้
    น้ำมันเบรคเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟองอากาศ ทำให้แรงดันไฮโดลิคลดต่ำลง
    อาการเบรคเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรคแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่
    ขับด้วย ความเร็วสูง

    การดูแลรักษาระบบเบรค และข้อควรระวัง

    การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค

    แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรคควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ
    1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรคมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบ
    เบรคเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรค
    จะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรคเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรคต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมาตรฐาน
    ที่ผู้ผลิต กำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรค DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน
    เพราะจะทำให้ลูกยางเบรคบวมได้

    การเช็คระยะห่างผ้าเบรค

    ในระบบดรั้มเบรค ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรคที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรคจะต่ำลง
    และการดึงเบรคมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรคลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรคมาทำความ
    สะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรคให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง
    ด้านหลังจานเบรค ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้ น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ
    หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรคมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก

    การตรวจสอบผ้าเบรค

    ผ้าเบรคเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรค และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็น
    ประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรคของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรคที่ใช้แล้ว
    ความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรคในช่วงที่
    เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรคอาจหลุดร่อนได้
    อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรคจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรคหลุดออก
    จากฝักเบรค ลูกสูบปั้มเบรค และน้ำมันเบรคจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรคแตกนั้นเอง


    การเปลี่ยนจานเบรค

    และการเจียรจานเบรค การใช้ผ้าเบรคที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรคหมด
    จะทำให้จานเบรคเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรคร้อน จะทำให้จานเบรคคด หรือบิดตัว ต้อง
    ทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรคมาเจียรด้วยเครื่องเจียร
    จาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีล ูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็ก
    ปะปนกับการประกอบจานเบรคคืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลา
    ถอดจานเบรค และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่า
    หลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรคบางลง จานเบรคที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และ
    คดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรคใหม่ถือเป็นการดีที่สุด

    การทำความสะอาดจานเบรค

    ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรค ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมัน
    อื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น


    การตรวจสอบสายอ่อนเบรค

    ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด
    หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ

    การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรค

    เบรคที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรค ลูกยาง
    ลูกสูบเบรค และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพราะ
    ลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรค และ
    แม่ปั้มเบรค จะทำลายลูกสูบเบรคให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรค ทำให้เกิดอาการเบรคติด
    หรือน้ำมันเบรครั่วซึม


    Credit: samrongbrakepad.com
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:17:39 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • เมื่อเบรกดัง ควรทำอย่างไร

    เบรกได้กลายเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ต้องรับภาระหนัก นอกเหนือไปจากความรับผิดชอบสำคัญเรื่อง
    ความปลอดภัยแล้ว ยังต้องแบกรับภาระในการตอบสนองความรู้สึกของผู้ใช้รถ ที่แตกต่างกันตามความ
    ชอบและไม่อาจแสดงออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องเบรกดัง

    เมื่อเกิดปัญหาเบรกดัง ควรปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
    เบรกได้กลายเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ต้องรับภาระหนัก นอกเหนือไปจากความรับผิดชอบสำคัญเรื่อง
    ความปลอดภัยแล้ว ยังต้องแบกรับภาระในการตอบสนองความรู้สึกของผู้ใช้รถ ที่แตกต่างกันตามความ
    ชอบและไม่อาจแสดงออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องเบรกดัง

    ตรวจสอบผ้าเบรก

    • ผิวหน้าของผ้าเบรกเป็นมันเงาหรือไม่ ผิวหน้าผ้าเบรกเป็นเหมือนกระจก ความร้อนทำให้ผิวหน้าผ้า
    เบรกแข็งตัว จึงไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพที่แท้จริงของผ้าเบรกได้

    • มีรอยลักษณะเหมือนจานแผ่นเสียงหรือไม่ รอยที่เกิดจากการเสียดสีกับจานเบรก (roter) เป็น
    สาเหตุให้เกิดอาการสั่นเล็กน้อยได้

    • มีการสึกที่ไม่เสมอกันหรือไม่ อาจมีความผิดปกติที่คลิปผ้าเบรก (pad clip) หรือลูกสูบ
    (piston) มีการฉุดกระชาก

    เมื่อเกิดปัญหาเบรกดัง ควรปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้

    ตรวจสอบสภาพของซิมและจาระบี
    •   ซิมบิดผิดรูป ส่วนที่เคลือบและยางเสื่อมสภาพ

    •   ส่วนที่เป็นยาง มักจะแข็งตัวและหลุดออก เมื่อถูกความร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งยางในบริเวณที่ถู
    กลูกสูบกดมักจะหลุด หรือบิดผิดรูปได้

    •   นอกจากนี้ หากบริเวณที่เป็นเขี้ยวซึ่งอยู่ที่ผ้าเบรกบิดผิดรูปจ ะทำให้ซิมไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
    ด้านหลังผ้าเบรกทาจาระบีไว้อย่างพอเหมาะหรือไม่ จาระบีจะหลุดง่ายเมื่อโดนความร้อน เศษโคลน
    หรือน้ำ

    ตรวจสอบผิวหน้าของจานเบรก

    ผิวหน้าเปลี่ยนสีออกเป็นสีดำ และเป็นมันเงาหรือไม่ ความร้อนทำให้ผิวหน้าเกิดรอยไหม้ นอกจากนี้ผง
    สร้างแรงเสียดทานในผ้าเบรก อาจติดอยู่ที่ผิวจานเบรกได้ มีรอยลักษณะเหมือนจานแผ่นเสียงที่
    ผิวหน้าหรือไม่ เป็นรอยที่เกิดจากการเสียดสีกับผ้าเบรก สีที่เปลี่ยนไปและรอยที่เกิดขึ้นจะทำให้ระบบ
    การสั่นของผ้าเบรก ขณะหยุดรถ เปลี่ยนไปก่อให้เกิดเสียงเบรกได้

    ตรวจสอบก้ามปู (Disc caliper)

    ตัวก้ามปูบิดผิดรูปหรือไม่ เป็นเรื่องที่เกิดไม่บ่อยนัก แต่หากถูกกระทบแรงมาก ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง
    หรือรถที่เกิดอุบัติเหตุตัวก้ามปู จะมีการผิดรูปเล็กน้อย ชิ้นส่วนที่เป็นยางเสื่อมสภาพหรือไม่
    เช่น Piston bush, Piston seal, slide pin bush หากชิ้นส่วนที่เป็นยางผิดปกติ จะทำให้้ลูกสูบ
    และส่วนที่ Slide ทำงานไม่ปกติ มีอาการกระชาก เป็นต้น คลิปที่ยึดผ้าเบรกบิดผิดรูปหรือไม่
    ถ้าคลิปบิดผิดรูป จะไม่สามารถยึดผ้าเบรกด้วยแรงที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการเอียงหรือสั่นเล็ก
    น้อยได้

    เสียงดัง..เอี๊ยดๆๆๆ เสียงเสียดสี...หรือการขูดขีีดของโลหะ

    เมื่อมีการเสียดสีของวัตถุสองชิ้น ย่อมทำให้เกิดความร้อนรวมทั้งเกิดเสียงดัง

    ผู้ใช้รถมักจะประสบปัญหาเรื่องเสียงดัง เสียงเสียดสี คล้ายการขูดขีดของโลหะ อาการเบรกดัง
    มักเกิดจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยร่วมกัน เสียงเสียดสีของโลหะ อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

    อาการ เสียงดังขณะเบรก
    สาเหตุ ผ้าเบรกมีส่วนผสมของโลหะมากเกินไป
    วิธีแก้ไข เปลี่ยนใช้ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมโลหะต่ำ

    อาการ เสียงดังความถี่สูงเช่น อี้ดๆ ขณะเบรก
    สาเหตุ ผ้าเบรกสึกหรอมาก ( ความหนาน้อยกว่า 4 มม .)
    วิธีแก้ไข เปลี่ยนผ้าเบรกทันที

    อาการ เสียงดังความถี่สูง สลับกับเสียงความถี่ต่ำๆ
    สาเหตุ จานเบรกเสียดสีกับคาลิเปอร์
    วิธีแก้ไข ตรวจดูสภาพ หากมีสนิมควรทำความสะอาด ตรวจดูการยึดติดตั้งของคาลิเปอร์
    ความแน่นของสลักปรับให้สมดุลและ ทาจาระบีปรับแบริ่งล้อใหม่ให้เหมาะสม


    อาการ เสียงดังความถี่สูง เสียงเสียดสี ความถี่สูงๆ
    สาเหตุ แบริ่งล้อหลวม สลักยึดคาลิเปอร์ยาวเกินไป
    วิธีแก้ไข ปรับหรือเปลี่ยนสลักยึดให้มีความยาวพอดีและเหมาะสม

    Credit: daiwaasia.co.th
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:17:39 »


    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:20:07 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ชนิดของผ้าดิสก์เบรก

    ผ้าดิสก์เบรกที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สาม ารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

    1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรกราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ"
    จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรก จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อ
    ความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น
    ผ้าดิสก์เบรกหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง

    2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ

    2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจาก
    ยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex

    2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรกของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono

    ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรกที่เกรดใกล้เคียงกัน

    คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรก

    สัมประสิทธิ์ของความฝืด
    ผ้าดิสก์เบรกที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรกได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้าง
    กลไกเบรกให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรกน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรกที่มีสัมประสิทธิ์สูง
    ทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้อ งกันด้วย

    ความทนทานต่อการสึกหรอ
    การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรกเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วขอ งรถยนต์ และอุณหภูมิเบรก อย่างไร
    ก็ตาม ผ้าดิสก์เบรกที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรกเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอย
    มากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ

    การเบรกไม่อยู่ และการชดเชย
    เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความ
    ฝืดจะลดลง และผลในการเบรกลดลง เป็นเหตุให้การเบรกไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่
    ทราบกันคือการเบรกไม่อยู่

    เมื่อเบรกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรกจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์
    เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรกที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตา มอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรก
    ชนิดที่คุณภาพดี อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรกที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง ่ายกว่า ทำให้
    สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรก

    การเบรกไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้า สัมผัสของผ้าเบรกไม่ ถูกต้อง และการที่ผ้า
    เบรกจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบรกดึงข้างใดข้ างหนึ่ง
    ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรกข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแห น่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้
    อุณหภูมิของเบรกทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรกดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง

    การเปรียบเทียบคุณสมบัติของผ้าเบรกAsbestos กับ Metallic

    เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature)

    - ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรก Asbestos จะมีความฝืดมากกว่า
    ผ้าเบรก Metallic

    - แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรกเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรก Metallic จะ
    มีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรก Asbestos

    นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรก Asbestos จะเบรกได้ดีกว่าผ้า
    เบรก Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรก Metallic จะสามารถเบรกได้ดีกว่าผ้าเบรก Asbestos

    เปรียบเทียบการสึก หรือการหมดของผ้าเบรก กับอุณหภูมิ

    - ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรกยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรก Metallic กับผ้า
    เบรก Asbestos จะพอๆกัน

    - เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรก Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรก
    Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรก Metallic จะสูง
    กว่าผ้าเบรก Asbestos

    Credit : http://guru.google.co.th/guru/thread...0e32ff68274f3f
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:22:15 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • เมื่อจานเบรกผ่านการใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ผิวหน้าจะถูกเสียดสีด้วยผ้าเบรกจนมีลักษณะต่าง ๆ
    ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการเปลี่ยนผ้าเบรก

    1. จานเบรกมีร่องเป็นเส้น ๆ จะต้องเจียรจานออก แต่หากเจียรแล้วความหนาของจานเบรกน้อยกว่า
    ที่กำหนดจะต้องเปลี่ยนจานใหม่

    2. ผิวหน้าจานเบรกไม่สม่ำเสมอ เป็นจ้ำ ๆ เมื่อเบรกจะรู้สึกสะท้านกรณีนี้ถ้าเป็นไม่มากสามารถเ จียร
    จานแก้ไขได้ แต่ถ้ามีอาการมากจะต้องตรวจสอบที่หน้าแปลนดุมล้อของร ถ หรืออาจต้องเปลี่ยนจานเบรก

    3. จานเบรกเป็นสนิม กัดกร่อนอย่างแรง ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของสนิมที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นไม่มาก
    สามารถเจียรจานแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นสนิมมากควรจะเปลี่ยนจานเบรกใหม่

    4. จานเบรกร้อนจัด ไหม้ หรือมีการเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงิน ถ้าเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าไม่เข้มมาก
    ทิ้งไว้สักพักจะกลับสู่สภาพที่ใช้งานได้ แต่หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม จะต้องเปลี่ยนจานเบรกทันที


    ความเรียบของผิวจานเบรกมีผลต่อประสิทธิภาพการเบรก

    จานเบรกและคาลิปเปอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในการหยุดรถ ประสิทธิภาพของการเบรกที่ดี
    นอกจากจะขึ้นอยู่กับผ้าเบรกแล้ว ยังขึ้นกับความสมบูรณ์ของชุดคาลิปเปอร์ และความเรียบของจาน
    เบรกด้วย เพื่อให้ผ้าเบรกและจานเบรกทำงานได้สมบูรณ์ที่สุด ในการเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ทุกครั้งควร
    ตรวจดูความเรียบของจานเบรกทุกครั้ง หากผิวหน้าจานเบรกมีรอยขูดขีดมากผิดปกติ ผู้ใช้รถควรปรับ
    ผิวหน้ารถให้เรียบร้อย หากจานเบรกผิดเบี้ยวหรือแตกหัก ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ทันที


    จุดที่ควรตรวจสอบเมื่อมีปัญหาเรื่องเสียง

    เสียงดังในตอนเช้าหรือหลังจากล้างรถ

    สาเหตุ เสียงดังที่มีลักษณะความถี่ต่ำ ๆ เช่น อืด ๆ เกิดจากการที่น้ำอยุ่บนผ้าเบรกหรือ
    ความชื้นที่เครือบอยู่บนผ้าเบรก สิ่งเหล่าหนี้จะทำให้ผ้าเบรกและผ้าเบรกสัมผัสกันได้ไ ม่เต็มที่
    อาจเกิดอาการเบรกหายและมีเสียงรบกวนได้

    วิธีแก้ไข ขับรถและเหยียบเบรกซ้ำ ๆ กัน 2 – 3 ครั้งเพื่อไล่ความชื้นให้น้ำแห้งแล้วอาการ
    ดังกล่าวจะหายไปเอง


    จานเบรกสึก

    สาเหตุ เมื่อจานเบรกมีอาการสึกหรอ หรือพื้นผ้วไม่เรียบทุก ๆ ครั้งที่ผ้าเบรกสัมผัสกับจาน
    เบรก การเสียดสีผ้าเบรกและร่องการสึกหรอบนผ้าเบรก จะก่อให้เกิดเสียงรบกวนได้ อีกทั้งพื้นที่
    สัมผัสของผ้าเบรก จะก่อให้เกิดเสียงรบกวนได้ อีกทั้งพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรก และจานเบรกจะลด
    ลงด้วย ทำให้ประสิทธิภาพการเบรกลดลงเช่นกัน

    วิธีแก้ไข ควรเจียรจานเบรกให้เรียบสม่ำเสมอ


    ไม่มีแผ่นกันเสียง (ซิม)

    สาเหตุ หากลืมใส่แผ่นกันเสียงด้านหลังของผ้าเบรก หรือ แผ่นกันเสียงชำรุดจะทำให้ผ้าเบรก
    หลวม หรือเคลื่อนไหวได้ไม่ดี ทำให้เกิดเสียงรบกวนได้เมื่อหยุดรถ

    วิธีแก้ไข ควรใส่แผ่นกันเสียงและทาจาระบีทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่


    ผิวหน้าผ้าเบรกสึกไม่สม่ำเสมอ

    สาเหตุ หากการติดตั้งถูกต้อง ผ้าเบรกควรสึกเรียบสม่ำเสมอเป็นระนาบเดียวกัน การสึกที่ไม่
    สม่ำเสมออาจเกิดจากการติดตั้งไม่ถูกต้อง เกิดจากจานเบรกไม่เรียบ หรือเกิดจากคาลิปเปอร์เบรกทำงานไม่สมบูรณ์

    วิธีแก้ไข
     เปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ตรวจสภาพจานเบรกและคาลิปเปอร์ โดยตรวจดูการเคลื่อนไหว
    ของคาลิปเปอร์ หากเคลื่อนตัวไม่ดีควรทำความสะอาดและทาจาระบีให้เหมา ะสม


    Credit :http://www.cockpitthaiphetkasem.com/...135554&Ntype=9
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:23:56 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • น้ำมันเบรก เรื่องที่ต้องรู้


    มาเริ่มทำความรู้จัก กับน้ำมันเบรก (Brake Fluid) ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ว่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
    สำคัญเช่นไร แล้วทำไมต้องดูแลหรือเปลี่ยนตามระยะเวลา หรือระยะทางตามที่กำหนด น้ำมันเบรกคือ
    ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังโดย ของเหลว หรือเราเรียกว่าเป็นตัวไฮดรอลิกก็
    ได้ เมื่อเราเหยียบเบรกที่แป้นเบรก แรงดันที่เหยียบจะถูกถ่ายทอดผ่านของเหลว (น้ำมันเบรก) ใน
    ระบบไปยังห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ ซึ่งจะทำให้ความเร็วของรถช้าลง หรือหยุดตามแรงกดที่ต้องการ


    น้ำมันเบรกที่ดีนอกจากจะเป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลัง (ไฮดรอลิก) จากแป้นเหยียบเบรกแล้ว ยังต้องมี
    คุณสมบัติอื่นๆ อีกดังนี้



    1.เป็น ตัวหล่อลื่นส่วนต่างๆ ในระบบเบรก เช่น แม่ปั๊มเบรกและลูกปั๊มเบรก เนื่องจากต้องมีการเสียดสี
    ของลูกสูบเบรก ลูกยางเบรก ภายในแม่ปั๊มเบรก ลูกปั๊มเบรก นับครั้งไม่ถ้วน ถ้าปราศจากการหล่อลื่นก็
    จะทำให้เกิดการสึกหรอ เกิดการรั่วภายหลังได้

    2.มี ความหนืดที่เหมาะสม ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้ได้ในอุณหภูมิต่างๆ ไม่ว่าร้อนหรือเย็น มีความ
    หนืดที่ยืดหยุ่นได้ ไม่ข้นเกินไปแม้ว่าจะใช้ในอุณหภูมิติดลบ

    3.ไม่ เป็นอันตรายต่อชิ้น ส่วนที่เป็นโลหะในระบบหรือลูกยางต่างๆ เนื่องจากระบบเบรกเป็นระบบความ
    ปลอดภัยที่สำคัญ ถ้าการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ในส่วนของไฮดรอลิกบกพร่องจะเกิดอันตรายอย่าง
    ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสนิมในระบบสร้างแรงดัน หรือลูกยางเสื่อมสภาพ

    4.มีจุด เดือดสูงและไม่ระเหยได้ง่าย คุณสมบัตินี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่เป็นตัวบอกว่าน้ำ มันเบรกยังคง
    มีสภาพใช้ งานได้อยู่หรือไม่ จุดเดือดสูงก็จะเสื่อมสภาพได้ยากกว่าและทนต่อแรงดันจ ากการที่เหยียบ
    แรงๆ ต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

    5.คงสภาพได้นาน หมายถึง รักษาคุณสมบัติต่างๆ ได้นานไม่ว่าจะมีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
    เช่น เรื่องของความชื้นหรือเกิดจากการใช้งานปกติ

    มาตรฐานด้านความ ปลอดภัยได้กำหนดชื่อมาตรฐานสำหรับน้ำมันเบรกว่า DOT (Department of
    Transportation) ที่เรียกจนติดปาก โดยกำหนดจุดเดือดของน้ำมันเบรก DOT3 ไม่ต่ำกว่า 205
    องศาเซลเซียส DOT4 ไม่ต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส DOT5 260 องศาเซลเซียส


    สำคัญอย่างไร

    จาก คุณสมบัติของน้ำมันเบรกจะเห็นได้ว่าจุดเดือดของน้ำมั นเบรกเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเวลาเรา
    เหยียบเบรกที่ความเร็วสูงหรือบรรทุกหนัก อุณหภูมิที่ผ้าเบรกและจานเบรกจะสูงมาก ความร้อนดัง
    กล่าวจะถ่ายเทมายังน้ำมันเบรกด้วย ถ้าน้ำมันเบรกมีจุดเดือดต่ำจะสามารถระเหยและกลายเป็น ไอได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลา งถ่ายทอดกำลัง หรือทำหน้าที่ไฮดรอลิกในระบบ
    เบรกได้ จะทำให้เกิดเบรกไม่อยู่ เบรกจม หรือเรียกว่า เบรกแตก

    ยกตัวอย่างการขับขี่ที่ใช้เบรกมากกว่าปกติ นั่นคือการใช้เบรกขณะลงเขา กรณีดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้
    ถ้าผู้ขับขี่ไม่ระวัง หรือใช้เบรกมากจนเกินไป การลงเขาที่ถูกต้องนั้น ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าข้างทาง
    จะมีป้ายเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ ดังนั้นการใช้เกียร์ต่ำก็คือการให้เครื่องยนต์เป็นตั วช่วยในการเบรก
    นั่นเอง (Engine Brake) การทำดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดภาระของระบบเบรกได้มากท ีเดียว การใช้
    เกียร์ต่ำคือการลดเกียร์ลง เช่น กรณีใช้เกียร์สี่อยู่ก็ให้ลดมาที่เกียร์สาม หรือเกียร์สอง ถ้าสังเกตดูจะ
    เห็นว่าเวลาลดเกียร์ รอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น นั่นก็คือการใช้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยเบรก การทำดังกล่าว
    ก็สามารถทำกับเกียร์อัตโนมัติได้เช่นกัน โดยดึงคันเกียร์จาก D มาที่ 3 หรือ 2 แล้วปล่อยให้
    เครื่องยนต์ฉุดรั้งไว้ พร้อมทั้งเหยียบเบรกช่วย จะทำให้อุณหภูมิเบรกไม่ร้อนจนเกินไป สำหรับท่านที่ใช้
    เบรกมากเกินไปจนรู้สึกว่าเบรกไม่อยู่ หรือได้กลิ่นไหม้จากการเบรก ให้รีบจอดรถข้างทาง รอจนกว่า
    เบรกจะเย็นหรือประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ลองทดสอบเบรกดู ถ้าเบรกอยู่แล้ว ให้ค่อยๆขับต่อ
    โดยขับช้าๆ พร้อมใช้เกียร์ต่ำ และเบรกเท่าที่จำเป็น การขับรถช้าๆ ความเร็วของรถจะไม่สูง ดังนั้นการ
    ใช้เบรกก็จะน้อยตามไปด้วย


    ทำไมต้องเปลี่ยน

    จากตัวอย่าง การเกิดเบรกจมหรือเบรกไม่อยู่ขณะลงทางชันหรือลงจากเข า ส่วนหนึ่งมาจากน้ำมันเบรก
    ไม่สามารถทนความร้อนจากการเบรกในลักษณะการขับขี่ ที่ไม่ถูกต้อง หรือน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ
    (จุดเดือดต่ำลง) ดังนั้นการที่ต้องทำให้น้ำมันเบรกมีจุดเดือดสูงนั้น เนื่องจากว่าสารเคมีในน้ำมันเบรกมี
    คุณสมบัติดูดซับความชื้น ยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูงอย่างประเทศไทย ความชื้นยิ่งมีโอกาสแทรกไปปน
    อยู่ในน้ำมันเบรกได้ง่ายขึ้น โดยจะทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลงตามลำดับ ดังนั้นคุณสมบัติของ
    น้ำมันเบรกจึงควรมีจุดเดือดสูงไว้ตั้งแต่แรก ได้เคยมีผู้ทดลองไว้ว่าภายในระยะ 12-15 เดือน น้ำมัน
    เบรกสามารถดูดซับความชื้นทำให้จุดเดือดลดลงเหลือประม าณ 140 องศาหรือต่ำกว่า ซึ่งถ้าหากใช้
    ต่อไปอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ปลอดภัยต่อผู้ขับขี ่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีการดูดซับความชื้น
    เข้าไปในระบบ (มีน้ำเข้าไป) ก็จะทำให้เกิดสนิมได้เมื่อใช้ไปนานๆ บางครั้งเมื่อเราเจอปัญหาเรื่องเบรก
    ไม่อยู่ หรือรั่ว ช่างก็จะถอดแม่ปั๊มเบรกออกมาดูจะพบว่าลูกยางตาย เสื่อมสภาพ กระบอกสูบของแม่
    ปั๊มเบรกเป็นสนิม หรือตามด ถ้าเกิดสนิมตามดเล็กน้อยก็สามารถใช้กระดาษลูบแก้ไข แต่ถ้ากินจนเนื้อ
    หายก็ต้องเปลี่ยนทั้งแม่ปั๊ม ท่านเจ้าของรถหลายท่านรวมถึงช่างบางคนก็ยังไม่รู้ว่า สนิมเหล่านั้นมาได้
    อย่างไร

    ปัจจุบันมีเครื่องวัดคุณภาพของน้ำมันเบรกว่าน้ำมันเบ รกที่ เราใช้อยู่นั้นยัง อยู่ในเกณฑ์ที่ยังสามารถใช้
    งานได้อยู่ หรืออยู่ในส่วนที่เป็นอันตรายแล้ว การวัดดังกล่าวใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ 2-3 วินาทีก็
    สามารถรู้ได้ว่าน้ำมันเบรกเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง การวัดสภาพน้ำมันเบรกสามารถปรับตั้งค่าการวัดที่ตัว
    วัดสภาพน้ำมันเบรกได้ เนื่องจากคุณภาพน้ำมันเบรก เกรดน้ำมันเบรกแตกต่างกัน (DOT) แล้วแต่ผู้ให้
    บริการ หรือศูนย์บริการซ่อมเลือกใช้ การวัดจากเครื่องวัดจะบอกเป็นตัวเลขและสภาพไปพร้อมๆก ัน
    ตัวอย่างเช่น เลข “0” หมายถึง น้ำมันเบรกใหม่ (new oil) เลข “1-2” น้ำมันเบรกปกติ (Normal)
    เลข “3-4” ควรเปลี่ยน (Change) เลข “5-6” อันตราย (Danger)

    การเลือก เกรดน้ำมันเบรกปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อตามแต่ จะเลือกใช้ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ยี่ห้อ
    เดิม หรือตามที่ศูนย์บริการเปลี่ยนให้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ DOT4 สามารถดูได้ข้างกระป๋องว่าที่เราใช้
    อยู่นั้นเป็นเกรด หรือ DOT อะไร การเลือกใช้น้ำมันเบรกที่มี DOT สูงกว่าไม่เป็นการผิดแต่อย่างใด
    แต่จะมีค่าตัวสูงกว่าเดิมเล็กน้อย การเปลี่ยนยี่ห้อน้ำมันจากที่เราเคยใช้อยู่นั้น ควรถ่ายของเดิมทิ้งให้
    หมด แล้วเลือกเติมตามที่เราต้องการ แต่ควรเป็น DOT ที่เท่ากัน หรือสูงกว่าเท่านั้น

    ดังนั้น ผู้ใช้รถควรหมั่นตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกตามระยะที่กำหนด โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถ
    ด้วยความเร็วสูง ผู้ที่บรรทุกหนักหรือวิ่งทางลาดชันบ่อยๆ และใช้งานเบรกหนักต่อเนื่องบ่อย ควร
    เปลี่ยนน้ำมันเบรกทุกๆ 1 ปี ถ้าไม่แน่ใจก็ให้สอบถามตามศูนย์บริการมาตรฐานทั่วไป โดยระยะเวลา
    หรือระยะทางของแต่ละบริษัท อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เป็นพื้นฐานใกล้เคียงกัน ดังนั้นอยากให้ผู้
    ใช้รถตระหนักถึงเรื่องน้ำมันเบรกด้วย เพราะถ้าระบบเบรกมีปัญหาในช่วงขับขันจะก่อให้เกิดอัน ตราย
    ทั้งร่างกายและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรวมถึงบุคคลอื่นที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

    ระบบ น้ำมันเบรคเป็นระบบปิด ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนบ่อยๆเหมือนน้ำมันเครี่อง และความสกปรก
    ที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของส่วนประกอบในระบบเบรคมีไ ม่มากนัก จะมีก็ อุณหภูมิที่จะทำให้น้ำมัน
    เบรคเสื่อมสภาพได้ แต่น้ำมันเบรคชนิดที่ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด ก็จะทนอุณหภูมิสูงๆได้นานๆอยู่
    แล้ว ดังนั้นโดยปกติเราจะเปลี่ยนน้ำมันเบรคกันที่ 40,000 กม. การเปลี่ยนบ่อยกว่านั้น ไม่มีผลเสีย
    ครับนอกจากเสียเงิน แต่การใช้ไปยาวกว่านี้มีผลเสียทำให้ ประสิทธิภาพในการเบรคค่อยๆลดลง และ
    อาจเกิดอันตรายจากการกะระยะผิดได้นะครับ และไม่ควรเติมน้ำมันเบรก คนละเกรดผสมกันนะครับ


    โดยปกติน้ำมันเบรคเป็นสารที่ดูดซับความชื้น จากอากาศได้ และสามารถผสมตัวเข้ากับน้ำมันเนื้อ
    เดียวกัน เมื่อมีความชื้นปะปนอยู่จุดเดือดของน้ำมันเบรคจะลดต่ ำลง น้ำมันเบรคใดที่มีคุณสมบัติดูดซับ
    ความชื้นได้น้อย และเมื่อดูดซับความชื้นแล้วจุดเดือดลดต่ำลงไม่มาก จะเป็นน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูง
    เพราะในการใช้งานโอกาสที่ความชื้นจะเล็ดลอด สู่น้ำมันเบรคในระบบมีได้มากมายหลายทาง เช่น
    ความชื้นเข้าโดยการหายใจเข้าออกของระบบน้ำมันเบรคตรง ฝากระปุกเบรค น้ำจากการอัดฉีดล้าง
    เครื่องรถสามารถเข้าสู่กระปุกน้ำมันเบรคได้หากไม่ระม ัด ระวังเมื่อขับรถลุยน้ำ และยางกันฝุ่นสึกหรือ
    ไม่รัดแน่น น้ำก็สามารถเข้าสู่น้ำมันเบรคได้ตรงลูกสูบเบรคที่ล้อ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปน้ำมันเบรคก็จะชื้น
    มากขึ้นเรื่อยๆ และน้ำมันเบรคใดที่ขึ้นช้ากว่าและจุดเดือดเมื่อชื้นส ูงกว่าก็จะยังคงรักษา สมรรถนะการ
    เบรคไว้ได้

    ผลต่อยางและส่วนโลหะอื่นในระบบเบรคก็เป็นสิ่ง ที่สำคัญที่จะบ่งถึงคุณภาพน้ำ มันเบรค เพราะจะมีผล
    โดยตรงต่ออายุการใช้งานของลูกยางแม่ปั๊ม/ลูกปั๊มเบรค ซึ่งก็จะมีผลถึงประสิทธิภาพการเบรคเช่นกัน
    น้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงต้องไม่ ทำให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรคคลัทซ์เสียเร็ว และต้องไม่กัดกร่อนส่วน
    โลหะอาจทำให้มีเศษสนิมโลหะหลุดร่อนออกมาอยู่ในน้ำมัน เบรค และจะทำให้ลูกยางปั๊มเบรคเป็น
    รอยขีดข่วนเกิดการรั่วและเสียแรงดัน เบรคไม่อยู่ หรือหากรั่วข้างเดียวก็จะเบรคแล้วปัดได้ ใน
    มาตรฐานเกี่ยวกับน้ำมันเบรคก็ได้มีการกำหนดผลต่อยางแ ละการกัดกร่อนต่อชิ้น ส่วนโลหะไว้ด้วย

    สมาคมวิศวกรยานยนต์ในอเมริกา (SAE) และกรมการขนส่งของอเมริกา (Department of
    Transporttation - DOT) และสมาคมกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ (ISO) ต่างก็ได้กำหนด
    มาตรฐานของน้ำมันเบรคที่ใช้ในระบบเบรคของยานพาหนะซึ่ งเป็นที่ ยอมรับและใช้กันทั่วไป มาตรฐาน
    ล่าสุดในขณะนี้ (1982) ของ SAE คือ SAE 1703 Jan.'80 ที่ได้แก้ไขปรับปรุงจากมาตรฐาน
    SAE J1703f ซึ่งออกในปี 1978 ส่วนของ DOT คือมาตรฐาน U.S.Federal Motor Vehicle
    Safety Standard ( FMVSS) No.116 DOT3,DOT4 และDOT5 ( DOT5 เป็นมาตรฐาน
    น้ำมันเบรคประเภทน้ำมันซิลิโคนไม่นิยมใช้งานในรถยนต์ ) มาตรฐานของ ISO คือ ISO 4925 -
    1978 มาตรฐานต่างๆ ดังกล่าว ได้กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำมันเบรคในยานยนต์ไว้หลายประการ
    คุณสมบัติที่สำคัญๆ ได้เปรียบเทียบไว้ในตารางแนบพร้อมกับค่า Typical Test Figure ของน้ำมัน
    เบรคเชลล์เกรดต่างๆ
    คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำมันเบรคที่ มีผลต่อสมรรถนะการเบรคก็คือ จุดเดือดเมื่อแห้ง เมื่อชื้นผลต่อ
    ยางแม่ปั๊มและลูกสูบเบรค และต่อส่วนต่างๆของระบบเบรค

    ใน มาตรฐานทั้ง SAEJ1703 และ U.S.FMVSS 116 DOT3, DOT4 และ ISO 4925 - 1978
    ได้กำหนดคุณสมบัติด้านจุดเดือดเมื่อแห้งและเมื่อชื้น เอาไว้โดยที่น้ำมันเบรค ที่ดีจะต้องมีจุดเดือดสูง
    เมื่อทั้งแห้งและชื้น
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Auto Man

    • Administrator
    • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
    • *****
    • เจ้าของกระทู้
    • Joined: ก.ย. 2558
    • กระทู้: 37146
    • สมาชิกลำดับที่ : 1
    • เพศ: ชาย
    • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
      • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
      • อีเมล์
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2558, 05:25:01 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • สรุปคือถ้าใช้ DOT4ต้องถ่ายน้ำมันเบรคเก่าออกให้หมดก่อนและไม่ควรใช ้ผสมกัน
    เท่าที่เข้าใจคือถ้าเป็นรถบ้านที่ใช้งานปรกติควรจะยึ ดติดกับน้ำมันเบรคที่ ผู้ผลิตแนะนำ เพราะการ
    เปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่ DOT ต่างไปอาจจะไปกัดซีลต่างๆในระบบเบรคได้

    โดยทั่วไปน้ำมันเบรคที่ได้ ตามข้อกำหนด DOT5 มักจะมีส่วนผสมของ Silicone ซึ่งมีข้อดีคือไม่ดูด
    ความชื้นไว้ในตัวมันเองทำให้ Wet Boiling Point สูงกว่า DOT3 และ DOT4 ซึ่งทำให้ DOT5
    เหมาะสมกับการใช้งานบางประเภท เช่น พวกยานพาหนะทางทหารที่ไม่ต้องการดูแลในส่วนนี้มากจน
    เกินไป แต่ DOT5 (ที่มักใช้ Silicone เป็นส่วนผสม หรือจะไม่ใช่ DOT แต่มี Silicone เป็นส่วน
    ผสม) ไม่เหมาะกับการใช้ใน High Performance Application เพราะว่าพวกที่มี Silicone เป็น
    ส่วนผสมมัน Compressible ได้...อุตส่าเปลี่ยนสายถักและ/หรือ Caliper อย่างดีราคาเป็นแสน
    เพื่อต้องการความ Firm ของแป้นเบรค (จะได้กะระยะเบรคได้อย่างแม่นยำ) แต่ดันมาตกม้าตาย
    เพราะใช้ ม้ำมันเบรค Silicone ซึ่งมัน Compressible...

    ถ้า ในรถแข่งที่ยังใช้ระบบเบรคของรถบ้านก็ควรจะยึดกับน้ำ มันเบรค DOT เดิม แล้วเปลี่ยนถ่ายทุก
    ครั้งก่อนควอลิไฟล์และแข่ง โดยใช้น้ำมันเบรคจากกระป๋องเปิดใหม่เสมอๆ แต่ถ้าเปลี่บยนไปใช้ระบบ
    เบรคที่เป้นของ Aftermarket ที่มีซีลที่คุณภาพสูงก็สามารถขยับไปใช้น้ำมันเบรคที่ มีจุดเดือดสูงกว่า
    ได้ อาจจะเป็น DOT4, DOT 5.1, DOT 4+, DOT4 Super, Super DOT4 (สี่ตัวหลังคือพวกที่
    สามารถผ่านข้อกำหนดของ DOT 5 แต่ว่าไม่มี Silicone) ได้ หรือจะเป็นพวกแบบ High
    Performance เต็มตัวเลย เช่น Castrol SRF, Motul 600, AP 600, AP 550, Ate
    SuperBlue Racing พวกนั้น น้ำมันเบรคไม่มี DOT ก็มีเพราะ DOT มันก็แค่เป็นข้อกำหนดของ
    Department of Transportation ถ้ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดก็สามารถติด DOT ได้ แต่พวก
    น้ำมันเบรคแบบ High Performance หลายตัวมันก็มีคุณสมบัติเกินกว่าที่ DOTกำหนดไปแล้ว
    DOT 5 นั้นเป็น Silicone base ซึ่งนอกจากจะ compress ได้ ทำให้รู้สึก"ยวบๆ"แล้ว คุณสมบัติอีก
    อย่างคือจะไม่ผสมกับน้ำ ฟังดูดีแต่ถ้ามีน้ำในระบบ(หรือความชื้นเกิน 3%) แล้วน้ำมันเบรคร้อนถึง
    จุดเดือด น้ำในระบบจะกลายสภาพเป็นไอน้ำ และเนื่องจากระบบเบรคนั้นเป็นระบบปิด ไอน้ำนั้นจะ
    ทำให้เกิดความดันในระบบ ทำให้เบรคติดหรือเลียจานได้

    DOT 3, 4, 5.1 นั้นเป็น Glycol base แตกต่างกันที่จุดเดือด แต่จุดเดือดที่ว่านั้นมีสองอย่างคือ
    Dry boiling point (จุดเดือดเมื่อไม่มีความชื้น) และ Wet boiling point (จุดเดือดที่มความชื้น
    มากกว่า 3%) สำหรับรถแข่งซึ่งเปลี่ยนน้ำมันเบรคกันเป็นว่าเล่น จะสนใจ Dry boiling point เพราะ
    ไม่เคยมีความชื้นในระบบ ถ้ารถใช้บนถนนประจำวัน ต้องสนใจ Wet boiling point เพราะมีความชื้น
    ในระบบประจำ

    แหล่งที่มาของข้อมูล
    http://www.benzowner.net/forum/showthread.php?t=49951

     :-X
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ออฟไลน์ Prasitthi

    • Y4 5
    • VIP ปีที่ 5
    • ช่างยนต์มือหนึ่ง
    • *
    • Joined: ก.ค. 2562
    • กระทู้: 126
    • สมาชิกลำดับที่ : 10291
    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #7 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2562, 11:52:24 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • ขอบคุณครับอาจารย์ เป็นกำลังใจให้นะครับ

    รวมเรื่องเบรค อาการ และวิธีการแก้ไข
    « ตอบกลับ #7 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2562, 11:52:24 »