ข่าวประชาสัมพันธ์

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เว็บด้วยการสมัครสมาชิกวีไอพี ~~ เลือกปีที่ท่านต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงปี ~~ ปีละ 350 บาท สมัคร 2 ปีลดเหลือ 600 บาท ~~ มีไลน์กลุ่ม VIP จำนวนหลายร้อยท่าน เอาไว้ปรึกษางานซ่อม ~~ เข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลเชิงลึกมากมาย.....


ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลรถยนต์สายพันธ์ไทย  (อ่าน 1315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37506
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

ออฟไลน์ Auto Man

  • Administrator
  • หัวหน้าศูนย์ซ่อมสร้าง
  • *****
  • เจ้าของกระทู้
  • Joined: ก.ย. 2558
  • กระทู้: 37506
  • สมาชิกลำดับที่ : 1
  • เพศ: ชาย
  • มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ
    • เว็บชุมชนคนรักช่างยนต์
    • อีเมล์
ข้อมูลรถยนต์สายพันธ์ไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 มีนาคม 2560, 08:21:09 »
  • ขึ้นบน
  • ลงล่าง
  • เป็นโครงการ Eco car ยุคนั้นเลย ฟอร์ดทำฟอร์ดเฟียร่า

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    มันเกิดขึ้นประมาณปลายยุคปี251X(จำไม่ได้แน่ครับ) ตอนนั้นมีการพูดถึง "รถยนต์แห่งชาติ" (National Car) กันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับกระแสรถยนต์ที่ผลิตเฉพาะภูมิภาคของโตโยต้า ที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซียที่เรียกว่า "Kijang" (กระจง, ซึ่งเป็นต้นสายพันธุ์ของ Innova ในปัจจุบัน)

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    โดยยุคนั้น Kijang ถูกผลิตออกมาในรูปของรถ pick-up แบบเรียบๆ ประหยัดชิ้นส่วนเพื่อให้มีต้นทุนต่ำและคนส่วนใหญ่สามารถซื้อหาไปใช้ หรือดัดแปลงได้ กระแสดังกล่าวก็แพร่เข้ามาถึงผู้ผลิต (ความจริงเป็นเพียงผู้ประกอบ) ในบ้านเรา 3 รายคือ

    1. Holden 2. Ford และ 3. Datsun( Nissan ในปัจจุบันนั่นเอง ) โดยทั้ง 3 รายนี้มีการดำเนินการในโครงการผลิตรถยนต์ของตนเองในชื่อเรียกดังนี้

    1. Holden ผลิตรถรุ่น "พลายน้อย" จำไม่ได้แน่ชัดแล้วว่าในยุคนั้นใครเป็นผู้แทนจำหน่าย ระหว่าง บ. ไทยยานยนต์ หรือ บ. อโศกมอเตอร์

    2. Ford ผลิตรถรุ่น "Fiera" (เฟียร่า) ตอนนั้น บ. แองโกลไทยมอเตอร์ เป็นผู้แทนจำหน่าย

    3. Datsun ผลิตรถรุ่น"พยัคฆ์สยาม" แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น "สิงห์สยาม" เพื่อเรียกได้ง่ายขึ้นเพราะสั้นลง ซึ่งแน่นอนว่า สยามกลการเป็นผู้แทนจำหน่าย

    รถยนต์ทั้ง 3 แบบ ถูกผลิตออกมาในลักษณะที่เหมือนกันคือเป็นรถแบบปิคอัพ แต่เป็นปิคอัพแบบประหยัด(สุดๆจริงๆ) ตัวรถทั้ง 3 ยี่ห้อมีลักษณะความประหยัดที่เหมือนกันดังนี้

    ตัวถัง: เป็นแบบเหลี่ยมจริงๆ คือมีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นพับ และตัดตามรูปที่ได้ออกแบบไว้ ไม่มีมุมโค้ง หรือมุมมน หน้ากระจังไม่มี ใช้วิธีเจาะช่องบนแผงหน้าของตัวรถ กระจกหน้าและหลังเป็นแบบแผ่นเรียบไม่มีมุมโค้งใดๆ กระจกประตูไม่มี ไม่ผิดครับ ไม่มีกระจกข้างจริงๆ แต่ทำเป็นพลาสติกใสแบบอ่อนที่ม้วน/พับได้ (แบบเดียวกับแผ่นพลาสติกกันฝนของรถตุ๊กๆ) ตามขอบจะมีกระดุมเหล็กติดอยู่เป็นระยะ แผงหน้าปัทม์และแผงประตูไม่มี สวิทซ์และเกจ์บนหน้าปัทม์มีเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ตัวกระบะจะเป็นเหมือนแบบเหล็กแผ่นเรียบ ไม่มีขอบโค้ง/มนให้เห็นนอกจากมุมเหลี่ยมอย่างดียว

    เครื่องยนต์: Ford  Fiera ใช้เครื่องยนต์ตัวเดียวกับที่ใช้ใน Escort Mk1 ขนาด 1300 cc.
                    Holden พลายน้อย ใช้เครื่องตัวเดียวกับที่ใช้ใน Torana รุ่น 1300 cc.
                    Datsun สิงห์สยาม แน่นอนครับใช้เครื่องระหัส J13 ขนาด 1300 cc. ที่ใช้ในรุ่นช้างเหยียบ (620)

    ทั้งสามคันนี้ มีเพียงฟอร์ดเฟียร่าที่มีให้เห็นอยู่บ้าง เนื่องจากมีการนำมาใช้เป็นรถสองแถวแถบฝั่งธนบุรีอยู่พอสมควร ส่วนพลายน้อย และสิงห์สยามรู้สึกว่าจะขายแทบจะไม่ได้ จึงเลิกผลิตไปในเวลาอันสั้น ทำให้เราไม่เหลือรถจริงให้เห็นกัน


    Ford  Fiera คันนี้ยังเคยประจำการในกองทัพอากาศไทยด้วยนะ

    ตรงนี้มีภาพ! แต่ท่านจะมองไม่เห็น , ท่านต้อง  สมัครสมาชิก หรือ ลงชื่อเข้าระบบ


    ขอบคุณข้อมูลดีๆ  มาจากกระทู้นี้ https://pantip.com/topic/31142811
    ขอบคุณครับผม
    สวัสดีคุณ...ผู้เยี่ยมชม  กด ❤ ถูกใจโพสท์นี้ หรือยัง...
    ต้องการสมัครสมาชิก VIP สมัครได้ที่นี่...   หรือทาง Line ID: k.sonchai

    ข้อมูลรถยนต์สายพันธ์ไทย
    « ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 มีนาคม 2560, 08:21:09 »